LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567

รายงานการประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ โดยใช้รูปแบบ CIPP Model

usericon

ผู้ศึกษาค้นคว้า นางปุณยวีร์ จิตศรัทธา
ตำแหน่ง ผู้บริหารสถานศึกษา
โรงเรียน บ้านอาจสามารถ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านอาจสามารถ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 โดยใช้การประเมินโครงการรูปแบบ CIPP Model เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) ลักษณะของกลุ่มเป้าหมายเดียว โดยการศึกษาตรวจสอบสภาวการณ์ไม่มีการทดลอง (The one short, non-experimental case study design) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรมโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านอาจสามารถ ตามแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2564 ของสถานศึกษา 2) เพื่อตรวจสอบ ติดตาม และสรุปรายงานผลการดำเนินงานโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านอาจสามารถ โดยการประเมินโครงการรูปแบบ CIPP Model นำเสนอต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสาธารณชนรับทราบ กลุ่มเป้าหมาย (n= 30) โรงเรียนบ้านอาจสามารถ การได้มาซึ่งกลุ่มเป้าหมายโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จาก คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและท้องถิ่น ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านอาจสามารถ ในปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดประมาณค่า 5 ระดับได้แก่ แบบสอบถามประเมินโครงการและแบบสอบถามเจตคติความพึงพอใจ รวมทั้งการสัมภาษณ์ และการสังเกต ได้แบ่งขั้นตอนของประเมินโครงการออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การจัดเตรียมโครงการ 2) การดำเนินการประเมินโครงการ 3) การสรุปรายงานผลโครงการ และได้กำหนดการประเมินผลการดำเนินงานโครงการออกเป็น 3 ระยะ กล่าวคือ ระยะที่ 1 การประเมินก่อนเริ่มดำเนินโครงการ ได้แก่ การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) และการประเมิน ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ระยะที่ 2 การประเมินระหว่างดำเนินโครงการ เป็นการประเมิน
ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และระยะที่ 3 การประเมินเสร็จสิ้นดำเนินโครงการ เป็นการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) และได้นำข้อมูลสารสนเทศที่เก็บรวบรวมมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ประมวลผลข้อเป็นสถิติพื้นฐาน เช่น ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความเชื่อมั่น เป็นต้น โครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายหน่วยงานต้นสังกัด ปัจจัยนำเข้ามีความพร้อมเพียงพอต่อการดำเนินโครงการ ผลการประเมินยัง พบว่า แบบสอบถามโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านอาจสามารถ มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น = 0.74 ในภาพรวมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีเจตคติความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 92.92 จากผลการวิเคราะห์ประมวลผลทางสถิติ ภายหลังจากสิ้นสุดโครงการในปีการศึกษา 2564 ปรากฏว่า โครงการมีความพร้อม ความสอดคล้อง เป็นไปได้ มีประโยชน์และมีความเหมาะสมในภาพรวมทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.74, S.D. = 0.444) เมื่อพิจารณาผลการประเมินโครงการ ในภาพรวมเป็นรายด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านบริบท (Context Evaluation) (x ̅= 4.84, S.D.= 0.389) รองลงมา ได้แก่ ด้านผลผลิต (Product Evaluation) (x ̅= 4.82, S.D.= 0.378) ตามลำดับ และรายการที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำสุด ได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) (x ̅= 4.60, S.D.= 0.590) จากการประเมินเจตคติความพึงพอใจ ภายหลังจากสิ้นสุดโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านอาจสามารถ โดยการประเมินโครงการรูปแบบ CIPP Model พบว่า โดยภาพรวมทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
(x ̅=4.65, S.D.= 0.522) มีเจตคติความพึงพอใจร้อยละ = 92.92 จากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนชุมชนและตัวแทนท้องถิ่น พบว่า ให้ความเห็นสอดคล้องตรงกันว่า การดำเนินการโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านอาจสามารถ เป็นประโยชน์ มีความคุ้มค่า สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น ทุกภาคส่วนมีความพึงพอใจอย่างยิ่ง จากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน พบว่า มีความสนใจ ใฝ่เรียนรู้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเพิ่มสูงขึ้นในทุกระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6 รวมทั้งการทดสอบความสามารถทางการศึกษาของนักเรียน ระดับชาติ เช่น RT, NT,และ O-NET เพิ่มสูงขึ้นกว่าปีการศึกษาที่ผ่านมา
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^