LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครปฐม ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครปฐม 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.นราธิวาส เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 2 26 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 3 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุดรธานี เขต 3 26 เม.ย. 2567สพป.ยโสธร เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยโสธร เขต 2 26 เม.ย. 2567สพม.อุทัยธานี ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.อุทัยธานี ชัยนาท 26 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 6 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 6 26 เม.ย. 2567สพม.นนทบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นนทบุรี 26 เม.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 5 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุบลราชธานี เขต 5

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี โรงเรียนบ้านเก่าร้าง

usericon

ชื่อผลงาน            รายงานการประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านเก่าร้าง
            ปีการศึกษา 2563
ผู้รายงาน            นายรัฐเขต ณ นคร
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเก่าร้าง
ปีที่รายงาน        ปีการศึกษา 2563

บทสรุป

    การประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคล แห่งการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านเก่าร้าง ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และ ด้านผลผลิตของโครงการประกอบด้วย 1) คุณภาพการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านเก่าร้าง ปีการศึกษา 2563 2) พฤติกรรมการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านเก่าร้าง ปีการศึกษา 2563 3) การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการฯ 4) ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการฯ โดยประยุกต์รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน กลุ่มเป้าหมายที่ทใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ 1) ประชากร จำนวน 7 คน 2) กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4-6 จำนวน 30 คน 3) กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 30 คน และ 4) กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และ มีข้อคำถามปลายเปิดทุกฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.93-0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป

ผลการประเมิน
1.     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาห้องสมุด 3 ดีเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านเก่าร้าง ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมินได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ปีการศึกษา 2563 ครูมีความเห็นต่อด้านสภาพแวดล้อมของโครงการมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D. = 0.17) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเห็นต่อด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดเช่นกัน ( = 4.52, S.D. = 0.26) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
    2.     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านเก่าร้าง ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของครู โดยรวมได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ปีการศึกษา 2563 ครูมีความคิดเห็นต่อด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.63, S.D. = 0.20) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
    3.     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินด้านกระบวนการโครงการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านเก่าร้าง ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครองโดยรวมทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ปีการศึกษา 2563 นักเรียนมีความคิดเห็นต่อด้านกระบวนการของโครงการมีคุณภาพในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.59, S.D. = 0.14) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ครูมีความคิดเห็นต่อด้านกระบวนการของโครงการมีคุณภาพในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.54, S.D. = 0.13) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด และผู้ปกครองมีความคิดเห็นต่อด้านกระบวนการของโครงการ มีคุณภาพในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.59, S.D. = 0.15) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด

    4.     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิต จำแนกเป็น
4.1     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการดำเนินโครงการพัฒนาห้องสมุด 3 ดีเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านเก่าร้าง ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทั้ง 4 กลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ปีการศึกษา 2563 นักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.57, S.D. = 0.25) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ครูมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.63, S.D. = 0.24) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ผู้ปกครอง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.55, S.D. = 0.28) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.68, S.D. = 0.13) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.2     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านเก่าร้าง ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทั้ง 4 กลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ปีการศึกษา 2563 นักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.56, S.D. = 0.16) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ครูมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.52, S.D. = 0.15) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ผู้ปกครองมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.58, S.D. = 0.18) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.53, S.D. = 0.17) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.3     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดําเนินโครงการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคล แห่งการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านเก่าร้าง ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทั้ง 4 กลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ปีการศึกษา 2563 นักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.60, S.D. = 0.19) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนนผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ครูมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.61, S.D. = 0.11) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ผู้ปกครองมี ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.58, S.D. = 0.17) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( =4.53, S.D. = 0.23) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.4     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อการดำเนินโครงการพัฒนาห้องสมุด 3 ดีเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านเก่าร้าง ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทั้ง 4 กลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ปีการศึกษา 2562 นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.60, S.D. = 0.19) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ครูมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.60, S.D. = 0.13) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ผู้ปกครองมีความ พึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.64, S.D. = 0.15) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( =4.51, S.D. = 0.28) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนนผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด

ข้อเสนอแนะ
    ข้อเสนอแนะการนำผลการประเมินไปใช้
ข้อค้นพบจากการประเมิน
1.    คุณภาพการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเก่าร้าง ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า หลังการดำเนินโครงการทุกกลุ่มที่ประเมินมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากและระดับมากที่สุด สะท้อนให้เห็นว่ากรอบกิจกรรมการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี ที่ส่งผลต่อการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานครอบคลุม 3 ด้านได้แก่ 1) หนังสือและสื่อการเรียนรู้ดี 2) การจัดบรรยากาศและสถานที่ดี 3) การจัดบริการและกิจกรรมสำหรับการเรียนรู้ดี สถานศึกษาอื่น ๆ ควรพัฒนาคุณภาพห้องสมุดโรงเรียนให้ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน ภายใต้การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
2.    ควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา และ หน่วยงานภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการกิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาด้านการอ่านและ การเขียนของผู้เรียน เพื่อมุ่งเน้นพฤติกรรมการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ควรส่งเสริมให้ขวัญกำลังใจในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และให้ความสำคัญเกี่ยวกับพฤติกรรมการแสวงหาความรู้ จากแหล่งเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน
3.    ควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น และจุดที่ควรพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินโครงการมากยิ่งขึ้น
ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินครั้งต่อไป
1.    ควรศึกษารูปแบบการประเมินอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) เป็นทางเลือกของผู้บริหารในการเลือกใช้รูปแบบการประเมินที่เหมาะสมกับโครงการระดับต่าง ๆ
2.    ควรมีการประเมินโครงการอื่น ๆ ของโรงเรียนทุกโครงการเพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพ พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
3.    ควรวิจัยพัฒนารูปแบบการบริหารงานห้องสมุดที่ประสบผลสำเร็จและส่งผล ต่อการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4.    ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
sinvad 25 ก.ย. 2565 เวลา 11:06 น. 0 305
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^