LASTEST NEWS

08 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงราย เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงราย เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 21 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงราย เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 08 พ.ค. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 45 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ชุมพร เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 76 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ชุมพร เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 61 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 07 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ

รายงานผลการประเมินโครงการโรงเรียนคุ้มครองเด็ก รร.บ้านห้วยมะหินฝน

usericon

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร


เรื่อง : รายงานผลการประเมินโครงการโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านห้วยมะหินฝน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3

หน่วยงาน : โรงเรียนบ้านห้วยมะหินฝน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3

ผู้รายงาน : นายเอกชัย ใจอ้าย

ปีที่พิมพ์ : 2565





รายงานผลการประเมินโครงการโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านห้วยมะหินฝน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ใช้รูปแบบ CIPPIEST Model มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ประเมินปัจจัยนำเข้า(Input Evaluation) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) และประเมินผลผลิต(Product Evaluation) ซึ่งด้านผลผลิตประกอบด้วยส่วนขยายดังนี้ ประเมินผลกระทบ(Impact Evaluation) ประเมินประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ประเมินความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) และประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation)โดยดำเนินโครงการในปีการศึกษา 2564 เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียนจำนวน 546 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา สามารถสรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ดังนี้


สรุปผลการประเมิน


ผลการประเมินโครงการโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านห้วยมะหินฝน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ใช้รูปแบบ CIPPIEST Model สรุปผลดังนี้

1. ผลการประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ผลการประเมิน โดยรวมอยู่ในระดับได้ผลดีมากที่สุด โดยค่าเฉลี่ยสูงสุดสองอันดับแรก ได้แก่ มีการศึกษาสภาพแวดล้อม ความปลอดภัยทางกายภาพและบุคคล ที่อาจก่ออันตรายต่อนักเรียน ก่อนดำเนินงานโครงการและมีการสำรวจความต้องการของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาโครงการโรงเรียนคุ้มครองเด็กตามลำดับ

2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับได้ผลดีมากที่สุด โดยค่าเฉลี่ยสูงสุดสองอันดับแรก ได้แก่ แผนงานโครงการครอบคลุมมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก และสถานที่เอื้อต่อการสร้างความปลอดภัย ในการดำเนินงานโครงการ โรงเรียนคุ้มครองเด็ก ตามลำดับ

3. ผลการประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครู พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับได้ผลดีมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยแต่ละกระบวนการจากมากไปหาน้อย และรายละเอียดรายการค่าเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละกระบวนการ ดังนี้ ลำดับแรกคือ การพัฒนากระบวนการเฝ้าระวัง ดูแล ช่วยเหลือ และคุ้มครองให้นักเรียนปลอดภัย ค่าเฉลี่ยสูงสุดในกระบวนการนี้คือ มีการวางแผน แนวทางในการดูแลความปลอดภัยที่ป้องกันอันตราย จากบุคคลทั้งภายในและนอกโรงเรียน ถัดมาคือ การพัฒนากระบวนการสร้างความปลอดภัยจากสิ่งแวดล้อม ทางกายภาพ และบุคคลที่อาจก่ออันตรายต่อนักเรียนในโรงเรียน ค่าเฉลี่ยสูงสุดในกระบวนการนี้คือ โรงเรียนมีแผนการบริหารจัดการเพื่อเฝ้าระวัง ดูแล ช่วยเหลือ และคุ้มครองนักเรียนให้ปลอดภัยทั้งในและนอกโรงเรียน ลำดับสุดท้ายคือ การพัฒนากระบวนการประสานงานความร่วมมือกันระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และชุมชน ค่าเฉลี่ยสูงสุดในกระบวนการนี้คือ มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่นักเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และชุมชนเรื่องกฎเกณฑ์แห่งความปลอดภัย ตามลำดับ

4. ผลการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) นำเสนอตามส่วนขยายของผลผลิตดังนี้

4.1 ผลการประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation)

4.1.1 ผลกระทบด้านผลที่เกิดเกินเป้าหมายของโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับได้ผลดีมาก ซึ่งค่าเฉลี่ยสูงสุดสองอันดับแรก ที่ทั้งบริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียน มีความเห็นสอดคล้องกันคือ อันดับแรก โรงเรียนมีการจัดระบบความปลอดภัยด้านต่าง ๆ ให้แก่นักเรียน ได้อย่างเหมาะสมอันดับสอง สัมพันธภาพระหว่างนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน และสถานศึกษามีความเข้าใจและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

4.1.2 ผลกระทบด้านผลงาน รางวัลที่เกิดจากการบริหารโครงการ

(1) ได้รับโล่เกียรติคุณ ร่วมดำเนินการจัดให้มีอาหารกลางวันรับประทานอย่างยั่งยืน ในโครงการ “ออมสิน 108 ปี อิ่มนี้เพื่อน้อง” ประจำปี 2564 จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

(2) ได้รับคัดเลือกเป็นต้นแบบโรงเรียนคุ้มครองเด็ก ระดับเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3

(3) ได้รับการรับรองมาตรฐาน โรงเรียน อย.น้อย ประจำปี พ.ศ.2564 ระดับดีมาก จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

(4) ได้รับเกียรติบัตรเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนให้คณะครูและนักเรียนดำเนินกิจกรรม โครงการเยาวชนพลเมืองเท่าทันสื่อ ร่วมสร้างเมืองของทุกคน MIDL for Inclusive Cities 2021 จากสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน

(5) ได้รับรางวัลเกียรติคุณ ด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เพื่อเด็กไทยสูงสมส่วน แข็งแรง IQ EQ ดี ภายใต้โครงการ ChOPA & ChiPA Game ประจำปีงบประมาณ 2565 ประเภท องค์กรที่มีวิธีปฏิบัติเป็นเลิศ (Best Practice) จากกองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพกรมอนามัย

4.2 ผลการประเมินประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับได้ผลดีมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยประสิทธิผลรายด้านจากมากไปหาน้อยและรายละเอียดรายการค่าเฉลี่ยสูงสุดของประสิทธิผลในแต่ละด้าน ดังนี้ ด้านผลการสร้างความปลอดภัยจากสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และบุคคลที่อาจก่ออันตรายต่อนักเรียนในโรงเรียน ที่ค่าเฉลี่ยสูงสุด ที่ทั้งผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง มีความคิดเห็นสอดคล้องกัน คือ โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมปลอดภัยไม่ก่ออันตรายกับนักเรียน และด้านผลการเฝ้าระวังระวัง ดูแล ช่วยเหลือ และคุ้มครองให้นักเรียนปลอดภัย ได้แก่ มีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็งบูรณาการกับเครือข่ายในการช่วยเหลือและคุ้มครองนักเรียนกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ส่วนด้านผลการประสานงานความร่วมมือกันระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และชุมชน ค่าเฉลี่ยสูงสุดตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ โรงเรียนมีบริเวณที่ปลอดภัยสำหรับนักเรียนแต่ละช่วงวัย ส่วนผู้ปกครอง และนักเรียน มีความคิดเห็นว่าค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ เกิดความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและชุมชน

4.3 ผลการประเมินความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครู พบว่า แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศที่สามารถบริหารจัดการให้โครงการโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านห้วยมะหินฝน สามารถพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต คือ รูปแบบ การบริหารโรงเรียนภายใต้โครงการโรงเรียนคุ้มครองเด็ก MAHINFON Children’s Rights School MODEL โดยใช้วงจรคุณภาพคุณภาพ PDCA ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ขั้นวางแผน เป็นการการวางแผนการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนคุ้มครองเด็ก

ขั้นตอนที่ 2 ปฏิบัติงานโรงเรียนคุ้มครองเด็กตามกิจกรรมที่วางแผนไว้ให้ครอบคลุมกรอบมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็กโดยใช้

M : Management คือการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วม

A : Attitude คือ ปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ดีในองค์กร

H : Human Rights คือ การสร้างความเข้าใจในหลักสิทธิมนุษยชน

I : Instruction คือ จัดการศึกษาเรียนรู้ที่ส่งเสริมความปลอดภัย

N : Neighborliness คือ ทุกฝ่ายประสานความร่วมมือช่วยเหลือ

F : Forfend คือ ดูแลช่วยเหลือให้เกิดความคุ้มครองปลอดภัย

O : Outcome คือ ผลดี ที่ปรากฏจากการเรียนรู้

N : Network Security คือ สร้างเครือข่ายแห่งความปลอดภัย

ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตรวจสอบ เป็นการประเมินผลและตรวจสอบการบริหารโครงการ

ขั้นตอนที่ 4 ขั้นปรับปรุงแก้ไข เป็นการสะท้อนผลการดำเนินงานตามสภาพจริงของการบริหารโครงการ

4.4 ผลการประเมินด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation)ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานนักเรียนและผู้ปกครอง พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับได้ผลดีมากที่สุด ซึ่งค่าเฉลี่ยสูงสุดสองอันดับแรกดังนี้ ค่าเฉลี่ยสูงสุดอันดับแรก ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ มีรูปแบบการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ จนสามารถถอดประสบการณ์แก่หน่วยงานอื่นได้ส่วนผู้ปกครอง และนักเรียน คือ มีการนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการ ให้ผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานอื่นได้ศึกษา อันดับที่สอง ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ มีการนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการ ให้ผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานอื่นได้ศึกษา ส่วนผู้ปกครอง และนักเรียน คือ มีรูปแบบการบริหารจัดการที่เป็นเลิศจนสามารถถอดประสบการณ์แก่หน่วยงานอื่นได้
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^