LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

การวิจัยและพัฒนารูปแบบการบริหารการศึกษาโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียน

usericon

ชื่อเรื่อง    การวิจัยและพัฒนารูปแบบการบริหารการศึกษาโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้
    ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning)
    โรงเรียนชุมชนคลองจันทน์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท
ผู้วิจัย    นายอรรถสิทธิ์ รักโสภา
ปีที่วิจัย    2563

บทคัดย่อ

    การวิจัยและพัฒนารูปแบบการบริหารการศึกษาโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้    ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) โรงเรียนชุมชนคลองจันทน์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารการศึกษาโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 17 คน และผู้บริหารที่เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษา จำนวน 5 คน 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารการศึกษาโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารการศึกษาโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนคลองจันทน์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ปีการศึกษา 2563 รวมจำนวน 269 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้เป็นกลุ่มประชากรทั้งหมด และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารการศึกษาโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินความเหมาะสมความเป็นไปได้ของรูปแบบ และแบบสอบถามความ พึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารการศึกษาโดยใช้แนวคิดชุมชนการ
เรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) พบว่า โรงเรียนชุมชนคลองจันทน์ มีการดำเนินงานโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในระดับมาก โดยเฉพาะด้านการวางแผน มีการดำเนินงานมากที่สุด ซึ่งโรงเรียนมีการวางแผนการทำงานร่วมกัน โดยการกำหนดตารางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการกำหนดปฏิทินการนิเทศ รองลงมา คือ ด้านการดำเนินงาน โดยให้ครูนำแผนการจัดการเรียนรู้สู่ห้องเรียน โดยการเตรียมความพร้อมของครู การจัดกระบวนการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล ตลอดจนให้ครูมีการสรุปและรายงานผล สำหรับแนวทางในการบริหารการศึกษา โรงเรียนควรมีการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความเข้าใจแก่ครูในโรงเรียนเกี่ยวกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน โดยการแนะนำบทความ แนวคิดหรือวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ การศึกษาดูงาน การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เป็นต้น
    2. ผลการสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารการศึกษาโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) พบว่า รูปแบบการบริหารการศึกษา มีองค์ประกอบหลัก 5 องค์ประกอบ คือ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ กระบวนการบริหารงาน แนวทางในการประเมินผล และปัจจัยความสำเร็จ กระบวนการบริหาร ได้แก่ 1) กำหนดเป้าหมาย 2) หลากหลายวิธีคิด 3) พิจารณาความสัมพันธ์ 4) ร่วมกันพัฒนา และ 5) แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ผลการประเมินรูปแบบตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ โดยภาพรวม มีความเป็นไปได้ ในระดับมากที่สุด และมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
    3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารการศึกษาโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
เพื่อพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) โรงเรียนชุมชนคลองจันทน์ พบว่า
            3.1 ผลการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารการศึกษาโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) พบว่า ครูผู้สอนมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับการปฏิบัติมากที่สุด คือ ด้านการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก รองลงมาคือ การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้เชิงรุก ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
            3.2 ผลการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารการศึกษาโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) ในปีการศึกษา 2563 พบว่า นักเรียนโรงเรียนชุมชนคลองจันทน์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 66.47
        4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารการศึกษาโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) พบว่า ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจต่อการบริหารโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเห็นว่ารูปแบบการบริหารการศึกษาโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) โรงเรียนชุมชนคลองจันทน์ มีความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องครอบคลุม อยู่ในระดับมากที่สุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^