LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

การพัฒนาโรงเรียนแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข โดย จิรพงศ์

usericon

ชื่อเรื่อง         การพัฒนาโรงเรียนแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Work place )
            โดยใช้ กลยุทธ์ 5H โรงเรียนบ้านยวนยาง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
            ปีการศึกษา 2562 - 2563
ผู้วิจัย      ว่าที่ ร.ต.จิรพงศ์ นารนุกุล
สถานศึกษา     โรงเรียนบ้านเขาจันทร์
ปีที่พิมพ์     2565

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการพัฒนาโรงเรียนแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โดยใช้กลยุทธ์ 5H โรงเรียนบ้านยวนยาง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2562 – 2563 2) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการพัฒนาโรงเรียนแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โดยใช้กลยุทธ์ 5H โรงเรียนบ้านยวนยาง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2562 – 2563 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับคุณภาพของโรงเรียนแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โดยใช้กลยุทธ์ 5H ปีการศึกษา 2562 และ 2563 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และองค์กรชุมชนต่อการพัฒนาโรงเรียนแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โดยใช้กลยุทธ์ 5H ปีการศึกษา 2562 และ 2563 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจาก (1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 6 จำนวน 30 คน (2) ครู จำนวน 5 คน (3) ผู้ปกครอง จำนวน 55 คน (4) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามและแบบบันทึกข้อมูลผลกระทบเชิงบวกตามสภาพจริง จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบสอบถามระดับคุณภาพการพัฒนาโรงเรียนแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โดยใช้กลยุทธ์ 5H โรงเรียนบ้านยวนยาง 2) แบบสอบถามระดับการมีส่วนร่วมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาโรงเรียนแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โดยใช้กลยุทธ์ 5H โรงเรียนบ้านยวนยาง 3) แบบสอบถามระดับคุณภาพของโรงเรียนแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โดยใช้กลยุทธ์ 5H โรงเรียนบ้านยวนยาง ปีการศึกษา 2562 และ 2563 4) แบบสอบถามระดับความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และองค์กรชุมชนต่อการพัฒนาโรงเรียนแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โดยใช้กลยุทธ์ 5H โรงเรียนบ้านยวนยาง หลังการพัฒนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งนำเสนอเสนอในรูปแบบตารางประกอบการบรรยาย
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับคุณภาพการพัฒนาโรงเรียนแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข โดยใช้กลยุทธ์ 5H โรงเรียนบ้านยวนยาง ความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพมาก ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพมาก-มากที่สุด 2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับการมีส่วนร่วมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการพัฒนาโรงเรียนแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โดยใช้กลยุทธ์ 5H โรงเรียนบ้านยวนยาง หลังการพัฒนา ตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน อยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน อยู่ในระดับมาก 3) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับคุณภาพของโรงเรียนแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace ) โดยใช้กลยุทธ์ 5H โรงเรียนบ้านยวนยาง ปีการศึกษา 2562 และ 2563 ของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 4) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการพัฒนาโรงเรียนแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โดยใช้กลยุทธ์ 5H โรงเรียนบ้านยวนยาง หลังการพัฒนา พบว่า ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด S.D. = 0.45) ส่วนนักเรียนมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุด ( = 4.56 , S.D. = 0.47) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน

คำสำคัญ: การพัฒนา, โรงเรียนแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข, กลยุทธ์ 5H

Namtal_DRN 25 ก.ค. 2565 เวลา 13:34 น. 0 354
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^