LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียนคุณธรรมฯ

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียนดัดดรุณีโดยใช้ SALAO Model

ชื่อผู้วิจัย นางปนัดดา มักสัมพันธุ์

สถานศึกษา โรงเรียนดัดดรุณี อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6

ปีการศึกษา 2563

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการประเมินการพัฒนารูปแบบการบริหาร
สถานศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียนดัดดรุณี โดยใช้ SALAO Model 2) ศึกษาผล
การใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียนดัดดรุณี โดยใช้
SALAO Model ด้านพฤติกรรมตามคุณธรรมอัตลักษณ์โรงเรียน 5 ประการ ได้แก่ มีวินัย รับผิดชอบ
ซื่อสัตย์ อยู่อย่างพอเพียง และมีจิตอาสาของนักเรียน 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหาร
สถานศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียนดัดดรุณี โดยใช้ SALAO Model ด้านผล
ที่เกิดกับโรงเรียน ผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียนตามคุณธรรมอัตลักษณ์โรงเรียน 4) ศึกษาผลการ
ใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียนดัดดรุณี โดยใช้ SALAO
Model ด้านความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียน
คุณธรรมของโรงเรียนดัดดรุณี โดยใช้ SALAO Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร
เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยเป็นรองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน ครูผู้สอน
กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) จากนั้นทำการสุ่ม
อย่างง่าย จำนวน 103 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เลือกแบบเจาะจง (Purposive
Sampling) จำนวน 7 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ
เครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) และสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling)
จำแนกตามระดับชั้นแล้วสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลาก ได้กลุ่ม
ตัวอย่างนักเรียนปีการศึกษา 2563 จำนวน 342 คน ผู้ปกครองนักเรียน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยเป็น
ผู้ปกครองนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 342 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยแบบ
ประเมินการสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียน
ดัดดรุณี โดยใช้ SALAO Model แบบประเมินพฤติกรรมตามคุณธรรมอัตลักษณ์โรงเรียน 5 ประการ
ได้แก่ มีวินัย รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ อยู่อย่างพอเพียง และมีจิตอาสาของนักเรียน แบบสอบถามความ
คิดเห็นด้านผลที่เกิดกับโรงเรียน ผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียนตามคุณธรรมอัตลักษณ์โรงเรียนข
แบบประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียน
คุณธรรมของโรงเรียนดัดดรุณี โดยใช้ SALAO Model สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ค่าเฉลี่ย ( X ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า    
    1. ผลการประเมินการสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียนดัดดรุณี โดยใช้ SALAO Model ของผู้เชี่ยวชาญพบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x= 4.66, S.D. = 0.17)
    2. ผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียน ดัดดรุณีโดยใช้ SALAO Model จากการประเมินด้านพฤติกรรมตามคุณธรรมอัตลักษณ์โรงเรียน 5 ประการ ได้แก่ มีวินัย รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ อยู่อย่างพอเพียง และมีจิตอาสาของนักเรียน โดยครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x= 4.42, S.D. = 0.68)
    3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียน
ดัดดรุณีโดยใช้ SALAO Model จากการสอบถามความคิดเห็นด้านผลที่เกิดกับโรงเรียน ผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียนตามคุณธรรมอัตลักษณ์โรงเรียน โดยผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ( x= 4.48, S.D. = 0.64)
    4. ผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียน
ดัดดรุณีโดยใช้ SALAO Model จากการประเมินด้านความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบ
การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียนดัดดรุณีโดยใช้ SALAO Model พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ( x= 4.33, S.D. = 0.62)

school 16 ก.ค. 2565 เวลา 19:32 น. 0 562
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^