LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

รูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) ของนางสาวณฐมน ทรงเจริญ

usericon

วิจัยเรื่อง:    รูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ
        และทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทาน
        ประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา
ผู้วิจัย:    นางณฐมน ทรงเจริญ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน:    โรงเรียนบางคูลัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี สังกัดกองการศึกษา ศาสนา
        และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี
ปีที่วิจัย:    2562

    การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายของวิจัย ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา และ 4) เพื่อประเมินความคิดเห็นของรูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนบางคูลัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี สังกัดกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 43 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยวิธีการจับสลากโดยใช้ห้องเรียนในการสุ่ม ซึ่งผู้วิจัยเป็นครูประจำวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เครื่องมือขั้นศึกษาข้อมูลพื้นฐาน จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันในการจัดการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนบางคูลัด จำนวน 27 ข้อ และ 2) แบบสอบถามความต้องการในการจัดการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนบางคูลัด เครื่องมือที่ใช้ในทดลองใช้ มี 5 ชนิด ดังนี้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบ SQ4R วิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา จำนวน 23 แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความจากนิทานประกอบภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 7 เล่ม 3) แบบทดสอบทักษะการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทย (ท13101) ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3 ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบทดสอบทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย (ท13101) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และ 5) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา จำนวน 10 ข้อ และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินรูปแบบ ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นรูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหาของผู้เชี่ยวชาญและครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนบางคูลัด จำนวน 24 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ สมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที และค่าดัชนีประสิทธิผล
    ผลการวิจัยและพัฒนา พบว่า
    1. ระยะที่ 1 การวิจัย (Research: R1) คือ การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) ในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
        1.1 สภาพปัญหาปัจจุบันในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางคูลัด ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนบางคูลัด จำนวน 5 คน อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.47, S.D. =0.64)
        1.2 ความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางคูลัด ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนบางคูลัด จำนวน 5 คน อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.59, S.D. =0.58)
    2. ระยะที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) คือ การออกแบบและพัฒนา (Design and Development: D & D) รูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา ผลการพัฒนา พบว่า
        2.1 ความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบ SQ4R วิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย (x-bar) ระหว่าง 3.51 ถึง 5.00 ซึ่งถือว่าเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้
        2.2 ความเหมาะสมของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความจากนิทานประกอบภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย (x-bar) ระหว่าง 4.27 ถึง 4.60
        2.3 คุณภาพแบบทดสอบทักษะการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทย (ท13101) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของข้อสอบ อยู่ระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 ทุกข้อ แสดงว่าข้อสอบแต่ละข้อมีค่า IOC ใช้ได้ทุกข้อ มีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.43-0.70 มีค่าอำนาจจำแนก (B) ระหว่าง 0.31-0.56 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.932
        2.4 คุณภาพแบบทดสอบทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย (ท13101) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของข้อสอบ อยู่ระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 ทุกข้อ แสดงว่าข้อสอบแต่ละข้อมีค่า IOC ใช้ได้ทุกข้อ มีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.43-0.70 มีค่าอำนาจจำแนก (B) ระหว่าง 0.31-0.59 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.898
        2.5 คุณภาพแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหามีค่า IOC ระหว่าง 0.5 ถึง 1.00 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.802
        2.6 รูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา ซึ่งผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้นโดยนำการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน (Brain-based Learning) มาบูรณาการร่วมกับการสอนการสอนอ่านแบบ SQ4R ในขั้นเสนอความรู้ใหม่ คือ การวางแบบแผนหรือลักษณะการจัดประสบการณ์ที่มุ่งเน้นให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติจริง ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย เชื่อมโยงความรู้เดิมกับประสบการณ์ใหม่ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำงานของสมอง จำนวน 7 ขั้น โดยขั้นความรู้ใหม่ผู้วิจัยได้นำการสอนแบบอ่าน SQ4R คือ วิธีการสอนอ่านรูปแบบหนึ่งที่ใช้พัฒนาความสามารถในการอ่านจากบทอ่านประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในเรื่องที่อ่าน มีจำนวน 6 ขั้นในขั้นความรู้ใหม่ ดังนี้
            1) ขั้นนำสู่บทเรียน หมายถึง ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยการวางแผนการสนทนากับนักเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมในการทำความเข้าใจสิ่งที่เรียนในภาพรวม และสามารถเชื่อมโยงไปสู่เรื่องที่จะเรียน
            2) ขั้นแจ้งกระบวนการเรียนรู้ หมายถึง ขั้นการจัดการเรียนรู้ซึ่งการแจ้งถึงรายละเอียดกิจกรรมแก่นักเรียนว่าจะต้องกิจกรรมใดบ้าง อย่างไร และใช้วิธีการวัดและประเมินผลอย่างไร
            3) ขั้นเสนอความรู้ใหม่ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R หมายถึง ขั้นการจัดประสบการณ์เชื่อมโยงประสบการณ์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อสร้างให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ด้วยการจัดประสบการณ์หรือการสร้างความคิดรวบยอดให้แก่นักเรียน จำนวน 6 ขั้นย่อย ดังนี้
                (1) ขั้นย่อยที่ 1 ขั้นตอนการสำรวจ (Survey)
                (2) ขั้นย่อยที่ 2 ขั้นตอนการตั้งคำถาม (Question)
                (3) ขั้นย่อยที่ 3 ขั้นตอนการอ่าน (Read)
                (4) ขั้นย่อยที่ 4 ขั้นตอนการทบทวน (Record)
                (5) ขั้นย่อยที่ 5 ขั้นตอนการเขียนสรุปใจความสำคัญ (Recite)
                (6) ขั้นย่อยที่ 6 ขั้นตอนการวิเคราะห์วิจารณ์ (Reflect)
            4) ขั้นฝึกทักษะ หมายถึง ขั้นการจัดการเรียนรู้ที่นักเรียนเข้ากลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้ และสร้างผลงานจากการศึกษาค้นคว้า การฝึกปฏิบัติ การสังเกต การทำใบงาน การวาดภาพ และการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ จนประสบความผลสำเร็จได้ผลงานออกมา
            5) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หมายถึง ขั้นการจัดประสบการณ์ที่ตัวแทนของแต่ละกลุ่ม ออกมานำเสนอผลงาน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่ต่างกันภายในห้องเรียน
            6) ขั้นสรุปความ หมายถึง ขั้นการจัดประสบการณ์ที่ร่วมกันสรุปความรู้ และร่วมกันเฉลยคำตอบที่ถูกต้องเพื่อให้นักเรียนได้รับทราบคำตอบให้ถูกต้องที่สุด โดยใช้โครงสร้างเนื้อหา
            7) ขั้นเกมตอบคำถาม หมายถึง ขั้นการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมในการประเมินรายบุคคลที่เกี่ยวกับทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์โดยไม่ถามกัน นำมาหาค่าเฉลี่ยของแต่ละกลุ่ม ประกาศผลคะแนนของแต่ละกลุ่ม
        2.7 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา เท่ากับ 84.85/82.64 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
    3. ระยะที่ 3 การวิจัย (Research : R2) คือ การนำไปใช้ (Implementation: I) รูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
        3.1 ทักษะการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทย (ท13101) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
        3.2 ดัชนีประสิทธิผลของทักษะการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทย (ท13101) ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา เท่ากับ 0.7327 คิดเป็นร้อยละ 73.27
        3.3 ทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย (ท13101) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
        3.4 ดัชนีประสิทธิผลของทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย (ท13101) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา เท่ากับ 0.7135 คิดเป็นร้อยละ 71.35
        3.5 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar=4.80, S.D=0.70)
    4. ระยะที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) คือ การประเมินผลและปรับปรุง (Evaluation : E) ประเมินความคิดเห็นและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา ผลการพัฒนา พบว่า ความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.55, S.D. =3.41)

คำสำคัญ     วิชาภาษาไทย, การอ่านจับใจความ, คิดวิเคราะห์ ประถมศึกษาปีที่ 3, นิทานประกอบภาพ
        แผนภาพความคิด, โครงสร้างเนื้อหา, สมองเป็นฐาน, การสอนอ่าน, SQ4R
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^