LASTEST NEWS

20 ก.ย. 2567ด่วน! สพฐ.เลื่อนแถลงผลสรุปสอบข้อเท็จจริง ปมดราม่า "ครูเบญ" ได้ที่ 1 ชื่อกลับล่องหน 19 ก.ย. 2567“อรรถพล” ชงทบทวนร่างพ.ร.บ.การศึกษาชาติฯให้รมว.ศธ.พิจารณา 19 ก.ย. 2567วิทยาลัยเทคโนโลยีพัฒนบัณฑิตบริหารธุรกิจโพนสวรรค์ รับสมัครครู 6 อัตรา เงินเดือน 15,000 ไม่ต้องมีวุฒิครู รับสมัครตั้งแต่วันนี้ ถึง วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 19 ก.ย. 2567ผลสอบชัดแล้ว! 10 โมงพรุ่งนี้แถลงสรุป ดราม่า ‘ครูเบญ’ สอบได้อันดับ 1 แต่ชื่อล่องหน 19 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 ก.ย. 2567สพฐ. แจง !!! หลังถูกโซเชียลวิจารณ์การจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน 19 ก.ย. 2567สพฐ. แจงศิลปหัตถกรรมนักเรียน แยกการแข่งวิชาการ ลดภาระครู-นักเรียน ไม่ซ้ำซ้อน . 18 ก.ย. 2567ศธ.ย้ำ 20 ก.ย.นี้รู้ผลสอบ "ครูเบญ" ชี้อย่าตัดสินคนแค่เพราะนามสกุลดัง 18 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 18 ก.ย. 2567โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย​ รับสมัครครูช่วยสอน 6 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 25 กันยายน 2567

การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักความรับผิดชอบสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR)
ชื่อผู้วิจัย     นางวัลลภา โพธิโต
สถานศึกษา โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย นครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
ปีที่รายงาน     2564

บทคัดย่อ
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสุจริตแบบ มีส่วนร่วม โดยใช้หลักความรับผิดชอบสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR) 2) เพื่อพัฒนาคู่มือการบริหารจัดการโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักความรับผิดชอบสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR) 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วมโดยใช้หลักความรับผิดชอบสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR) กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารโรงเรียนอุบลรัตนราช-กัญญาราชวิทยาลัย นครราชสีมา จำนวน 7 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 2 คน ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 4 คน 2) ครูและบุคลากรโรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย นครราชสีมา จำนวน 153 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 114 คน บุคคลากรทางการศึกษา จำนวน 39 คน 3) นักเรียนโรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย นครราชสีมา คัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยคิดจากจำนวนนักเรียน 2,446 คน ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 350 คน โดยเลือกแบบเจาะจง ห้องเรียนละ 5 คน จำนวน 70 ห้องเรียน 4) บุคคลในชุมชน จำนวน 27 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน และคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 12 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของคู่มือ 3) แบบประเมินด้านการสร้างทัศนคติที่ดี ต่อการดำเนินโครงการโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม 4) แบบประเมินด้านการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามคุณลักษณะโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม 5) แบบประเมินด้านการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม 6) แบบประเมิน ด้านการจัดกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม 7) แบบประเมินด้านความสำเร็จ ของการจัดกิจกรรมการสนับสนุนโครงการโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X ̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
    ผลการวิจัย พบว่า
1. การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักความรับผิดชอบสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR) ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ยุทธศาสตร์ชาติ/นโยบายโรงเรียนสุจริต ส่วนที่ 2 กรอบการบริหารจัดการ ส่วนที่ 3 หลักการ/ทฤษฎี ส่วนที่ 4 ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และส่วนที่ 5 ตัวชี้วัดความสำเร็จ ผู้วิจัยได้นำหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม PAR หลัก CSR หลัก PDCA มาออกแบบเป็นรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า PEELS4 MODEL ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักความรับผิดชอบสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR) อยู่ในระดับมากที่สุด
     2. การพัฒนาคู่มือการบริหารจัดการโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักความรับผิดชอบสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR) ประกอบด้วย 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 บทนำ ส่วนที่ 2 รูปแบบและกระบวนการบริหารจัดการ ทำการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ ใน 5 ด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 ด้านความเหมาะสมของคู่มือการบริหารจัดการโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักความรับผิดชอบสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR) ด้านที่ 2 ด้านความเหมาะสมของรายละเอียดด้านการวางแผน PPCSR ด้านที่ 3 ด้านความเหมาะสมของรายละเอียด ด้านการปฏิบัติการ DPCSR ด้านที่ 4 ด้านความเหมาะสมของรายละเอียด ด้านการตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน CPCSR ด้านที่ 5 ด้านความเหมาะสมของรายละเอียด ด้านการปรับปรุง APCSR ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อคู่มือการบริหารจัดการโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักความรับผิดชอบสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR) อยู่ในระดับมากที่สุด
    3. การทดลองใช้คู่มือการบริหารจัดการโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักความรับผิดชอบสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR) พบว่า ผลการประเมิน ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เพื่อพิจารณารายด้านพบว่า 1) ด้านการมีทัศนคติที่ดีต่อการดำเนินโครงการโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักความรับผิดชอบสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR) อยู่ในระดับมาก 2) ด้านการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามคุณลักษณะโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักความรับผิดชอบสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR) อยู่ในระดับมาก 3) ด้านการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วมโดยใช้หลักความรับผิดชอบสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR) อยู่ในระดับมาก 4) ผลการประเมินความคิดเห็นด้านการจัดกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักความรับผิดชอบสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR) อยู่ในระดับมาก และ 5 ) ด้านความสำเร็จของการจัดกิจกรรมการสนับสนุนโครงการโรงเรียนสุจริตแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักความรับผิดชอบสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility : CSR) อยู่ในระดับมากที่สุด
    

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^