LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพนักเรียน

usericon

ชื่อเรื่อง        รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนวัดราษฎร์
ศรัทธากระยาราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร
ชื่อผู้ประเมิน    นายถวิล แซ่ตั้ง
ปีการศึกษา     2563

บทคัดย่อ

รายงานการประเมินโครงการครั้งนี้ เป็นการรายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธากระยาราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า(Input Evaluation) ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) และด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการโดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP ของ สตัฟเฟิลบีมและคณะ (Stufflebeam, D. L. & et al,1971:216-265) มาเป็นรูปแบบในการประเมิน ประชากร ที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย คณะครูโรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธากระยาราม จำนวน 16 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน(ยกเว้นผู้แทนครูและผู้บริหารสถานศึกษา) จำนวน 7 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 100 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 100 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รวมทั้งสิ้น 223 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ ประกอบด้วยแบบสอบถาม จำนวน 5 ฉบับ ดังนี้ 1) ประเมินด้านบริบท มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.79 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.77 3) ประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 4) ประเมินด้านผลผลิต มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.72 และ 5) ประเมินความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.72 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินโครงการแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมิน ด้านบริบทของโครงการ (Context evaluation) ตามความคิดเห็นของคณะครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมพบว่าระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือความสอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือปัญหาและความจำเป็นอยู่ในระดับมากที่สุดและความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) ตามความคิดเห็นของคณะครู
ในภาพรวม พบว่า ระดับความพอเพียงอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดความพอเพียงของสื่อวัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือรูปแบบการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุดและความพอเพียงของงบประมาณอยู่ในระดับมากส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือความพร้อมและความเหมาะสมของบุคลากรอยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการ (Process evaluation) ตามความคิดเห็นของครูในภาพรวมพบว่าระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดได้แก่ด้านการดำเนินงาน (Do)อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือการกำกับนิเทศติดตามและประเมินผล(Check)อยู่ในระดับมากที่สุดและการวางแผน(Plan)อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานและรายงานผล (Act)
อยู่ในระดับมาก
4. ด้านผลผลิต (Product evaluation) ตามความคิดเห็นของคณะครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนในภาพรวมพบว่า
4.1 พฤติกรรมสุขภาพนักเรียนตามวัตถุประสงค์ของโครงการ พบว่า ระดับพฤติกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยสามลำดับ ได้แก่ นักเรียนนำความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพไปเผยแพร่ต่อชุมชนผู้ปกครองและคนในครอบครัว อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือนักเรียนรู้จักเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง อยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียนรู้จักป้องกันอุบัติภัยในท้องถนน อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งเท่ากับ นักเรียนรักการออกกำลังกาย และ นักเรียนรู้จักป้องกันอุบัติภัยในท้องถนน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ นักเรียนเป็นแกนนำนักเรียนส่งเสริมสุขภาพ อยู่ในระดับมาก
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจตามความคิดเห็นของคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยสามลำดับ ได้แก่ โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมีประโยชน์ต่อนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือกิจกรรมของโครงการมีความน่าสนใจและมีประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด และกิจกรรมของโครงการมีความหลากหลายและเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ นักเรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี อยู่ในระดับมาก
fongwil05 05 พ.ค. 2564 เวลา 20:33 น. 0 367
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^