LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

ประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้โรงเรียนบ้านแหลมหิน

usericon

การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้โรงเรียนบ้านแหลมหิน อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้โรงเรียนบ้านแหลมหิน อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้โรงเรียนบ้านแหลมหิน อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้โรงเรียนบ้านแหลมหิน อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา และเพื่อประเมินผลผลิตของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้โรงเรียนบ้านแหลมหิน อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา โดยแบ่งการประเมินออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process evaluation) และด้านผลผลิต (Product evaluation) ตามรูปแบบการประเมิน CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam, 1967)
กลุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู/บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านแหลมหิน ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวนรวม 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 3 ชุด จำแนกตามกลุ่มของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ แบบสอบถามชุด ก. (สำหรับครู/บุคลากร และคณะกรรมการสถานศึกษา) แบบสอบถามชุด ข. (สำหรับนักเรียน) และแบบสอบถามชุด ค. (สำหรับผู้ปกครอง) การหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยโดยผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เกี่ยวกับโครงการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้ จำนวน 5 ท่าน
ผลการวิจัย โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.82, SD = 0.76) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย พบว่า ด้านสภาวะแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.87, SD = 0.78) รองลงมาได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.85, SD = 0.77) ด้านผลผลิต มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.81, SD = 0.76) และด้านกระบวนการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.76, SD = 0.73)
เมื่อพิจารณาด้านสภาวะแวดล้อม พบว่า หลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ หลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายในการจัดการศึกษาของโรงเรียน และ กิจกรรมและการดำเนินงานของโครงการมีความชัดเจนและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการในด้านทักษะพื้นฐานด้านการเกษตร การดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ สร้างแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ครูหรือวิทยากรมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ สถานที่สำหรับใช้ปฏิบัติกิจกรรมของโครงการมีความเหมาะสมและเพียงพอ และ เนื้อหาการบรรยายมีความเหมาะสมตรงกับความต้องการ ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาด้านกระบวนการดำเนินงาน พบว่า มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการบูรณาการตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียง และ กิจกรรมในโครงการช่วยให้โรงเรียนบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาด้านผลผลิต พบว่า นักเรียนได้นำความรู้จากสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ นักเรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง และ นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดี มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง ตามลำดับ

ผู้วิจัย    นายจิรพนธ์ xxxมยิ
jira.heemyi 28 เม.ย. 2564 เวลา 14:21 น. 0 378
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^