LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 1 26 เม.ย. 2567เช็ก 48 สาขาวิชาเอก ใช้รับสมัครสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 26 เม.ย. 2567(25 เมษายน 2567) สพฐ.มีหนังสือแจ้งรายละเอียดการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.กรุงเกรุงเทพมหานคร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.กรุงเกรุงเทพมหานคร 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

usericon

ชื่อผลงาน        รายงานการประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข
        (Happy Workplace) โรงเรียนชุมชนวัดคลองรีมิตรภาพที่ 220 ปีการศึกษา 2563
ผู้รายงาน        นางอรกัญญา แก้วปลอด
        ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดคลองรีมิตรภาพที่ 220
ปีที่รายงาน    ปีการศึกษา 2563

บทสรุป

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนชุมชนวัดคลองรีมิตรภาพที่ 220 ปีการศึกษา 2563 โดยใช้รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีม (D.L.Stufflebeam’ s CIPP Model) เป็นกรอบแนวคิดในการประเมิน 4 ด้าน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ประเมินด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 1) ระดับคุณภาพการดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนชุมชนวัดคลองรีมิตรภาพที่ 220 ปีการศึกษา 2563 2) ระดับคุณภาพโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข 3) ระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข 4) ระดับคุณภาพการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียน 5) ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อการดำเนินโครงการ โดยศึกษาจาก กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1-3 ทุกคน จำนวน 71 คน กลุ่มตัวอย่าง ครู จำนวน 13 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 71 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินรวมทั้งสิ้น 8 ฉบับ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ฉบับที่ 2 แบบสอบถามด้านปัจจัยนำเข้า ฉบับที่ 3 แบบสอบถามด้านกระบวนการ ฉบับที่ 4 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับคุณภาพการดำเนินโครงการ ฉบับที่ 5 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข ฉบบที่ 6 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ฉบับที่ 7 แบบสอบด้านผลผลิตเกี่ยวกับการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียน และฉบับที่ 8 แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อการดำเนินโครงการ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง.94-.97สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
สรุปผลการประเมิน
    1.     ผลการประเมินมาตรฐาน ผลการประเมินด้านบริบท หรือสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนชุมชนวัดคลองรีมิตรภาพที่ 220 ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อยู่ในระดับมาก ( = 3.89, S.D. = 0.18) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
เมื่อพิจารณาแต่ละตัวชี้วัดพบว่า ตัวชี้วัดความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก ( = 4.09, S.D. = 0.56) รองลงมาคือ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ( = 4.07, S.D. = 0.28) ส่วนตัวชี้วัดความเป็นไปได้ของโครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.89, S.D. = 0.18) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
    2.     ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนชุมชนวัดคลองรีมิตรภาพที่ 220 ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อยู่ในระดับมาก ( = 4.22, S.D. = 0.17) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
        เมื่อพิจารณาแต่ละตัวชี้วัดพบว่า ตัวชี้วัดความพร้อมของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.28, S.D. = 0.44) รองลงมาคือ ความพอเพียงของงบประมาณ ( = 4.26, S.D. = 0.37) ส่วนตัวชี้วัดด้านความเหมาะสมของการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.16, S.D. = 0.47) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
    3.     ผลประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนชุมชนวัดคลองรีมิตรภาพที่ 220 ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อยู่ในระดับมาก ( = 4.44, S.D. = 0.09) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
    เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก ( = 4.50, S.D. = 0.13) รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.43, S.D. = 0.17) ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.40, S.D. = 0.25) อยู่ในระดับมาก เช่นกัน




    4.     ด้านผลิตของโครงการ จำแนกเป็น
    4.1     ระดับคุณภาพการดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนชุมชนวัดคลองรีมิตรภาพที่ 220 ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.75, S.D. =0.04) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
    เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่ากลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70, S.D. =0.04) รองลงมาคือ กลุ่ม ครู อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69,S.D. = 0.07) ส่วนกลุ่มนักเรียนและผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67,S.D. = 0.0.06,0.05)
    4.2     ผลการประเมินคุณภาพโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนชุมชนวัดคลองรีมิตรภาพที่ 220 ปีการศึกษา 2563 จำแนกตามกลุ่ม ผู้ประเมิน พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อยู่ในระดับมาก ( = 4.50, S.D. =0.17) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
    เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่ากลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D. =0.18) รองลงมาคือ ผู้ปกครอง อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52,S.D. = 0.59) ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมาก ( = 4.47 ,S.D. = 0.17) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    4.3    ผลการประเมินพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D. =0.15) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
        เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่ากลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.65, S.D. =0.17) รองลงมาคือ นักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63,S.D. = 0.15)
        4.4    ผลการประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียน จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64,S.D. = 0.15) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
    เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่ากลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D. =0.17) รองลงมาคือ นักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63,S.D. = 0.15)
4.5    สรุปผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนิน โครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนชุมชนวัดคลองรีมิตรภาพที่ 220 ปีการศึกษา 2563 จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
    เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่ากลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.48, S.D. =0.12) รองลงมาคือ กลุ่มนักเรียน และครู อยู่ในระดับมาก ( = 4.43,S.D. = 0.12,0.10) ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมาก เช่นกัน ( = 4.42,S.D. = 0.11)

ข้อเสนอแนะ
    1.    ข้อเสนอเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
1.1    โรงเรียนควรจัดโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพของผู้เรียน
1.2    ควรยกย่อง เชิดชูเกียรติและเผยแพร่ผลงานที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนชุมชนวัดคลองรีมิตรภาพที่ 220 แก่บุคลากรหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อก่อให้เกิดพลังในการทำงานเพิ่มขึ้น    
2.    ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินและวิจัยครั้งต่อไป
2.1    ควรศึกษารูปแบบหรือแนวทางในการประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) ในรูปแบบวิธีการอื่นที่นอกเหนือจากรูปแบบ ซิปป์ หรือ (CIPP Model)
2.2    ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีส่งผลต่อพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) เพื่อใช้เป็นสารสนเทศในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2.3    ควรมีการศึกษาการประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) ในเชิงคุณภาพ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^