LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

เผยแพร่ผลงาน

usericon

ชื่อเรื่องวิจัย : การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กลยุทธ์แม่แบบแก้ปัญหา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”โรงเรียนบ้านเกาะจัน จังหวัดปัตตานี ปีการศึกษา 2561-2562
ชื่อผู้วิจัย : นายอะห์หมัด สาและ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเกาะจัน
ปีการศึกษา : 2561 – 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กลยุทธ์แม่แบบแก้ปัญหา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” โรงเรียนบ้านเกาะจัน จังหวัดปัตตานี ปีการศึกษา 2561-2562 2) ศึกษาพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนบ้านเกาะจัน หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561-2562 3) ศึกษาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนบ้านเกาะจัน หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561-2562 ดังนี้ 3.1 ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา 3.2 ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานระดับชาติ (NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3.3 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ
ขั้นพื้นฐาน (O-NET) 3.4 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3.4 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กลยุทธ์แม่แบบแก้ปัญหา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” โรงเรียนบ้านเกาะจัน จังหวัดปัตตานี หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561-2561
กลุ่มป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 4-6 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 83 คน และปีการศึกษา 2562 จำนวน 79 คน ประชากรครู ปีการศึกษา 2561 และ 2562 จำนวน 17 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 4-6 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 83 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 79 คน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 7 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 7 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งสิ้น 4 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.98 – 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่เกิดจากการใช้กลยุทธ์แม่แบบแก้ปัญหา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” โรงเรียนบ้านเกาะจัน ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2561-2562 พบว่า ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมี คุณภาพอยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน มี มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องตามสมมติฐาน
2. พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่เกิดจากการใช้กลยุทธ์แม่แบบแก้ปัญหา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” โรงเรียนบ้านเกาะจัน ตามความคิดเห็นของนักเรียน และผู้ปกครอง หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2561-2562 พบว่า ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุดสอดคล้องตามสมมติฐาน

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะจัน ภายหลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561-2562 พบว่า
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ครอบคลุม 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะจัน หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561 – 2562 ปีการศึกษา 2561 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยมีคะแนนเฉลี่ย 71.90 ปีการศึกษา 2562 มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสูงขึ้น มีคะแนนรวมเฉลี่ย 79.24 โดยมีค่าพัฒนา 7.34 สอดคล้องตามสมมติฐาน
3.2 ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานระดับชาติ (NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561-2562 พบว่า ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 61.01 ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 47.32 แสดงให้เห็นว่าปีการศึกษา 2562 มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่า ปีการศึกษา 2561 ร้อยละ 13.69 ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน
3.3 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561-2562 พบว่า ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 34.57 ปีการศึกษา 2562 โดยมีค่าเฉลี่ย 29.32 แสดงให้เห็นว่าปีการศึกษา 2562 มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าปีการศึกษา 2561 ร้อยละ 5.25 ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน
3.4 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2551 พบว่า ปีการศึกษา 2561 ร้อยละ 84.56 ปีการศึกษา 2562 ร้อยละ 91.30 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน
3.5 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 พบว่า ปีการศึกษา 2561 ร้อยละ 94.21 ปีการศึกษา 2562 ร้อยละ 96.02 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน
4. ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กลยุทธ์แม่แบบแก้ปัญหา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” โรงเรียนบ้านเกาะจัน หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561-2562 พบว่า ปีการศึกษา 2561 โดยภาพทั้ง 4 กลุ่ม ที่ประเมิน
มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2562 หลังการพัฒนาโดยภาพรวมทั้ง 4 กลุ่ม ที่ประเมิน มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องตามสมมติฐาน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปใช้
สถานศึกษาควรนำหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 กลยุทธ์แม่แบบ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ไปประยุกต์ใช้และกำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ดังนี้
1) เข้าใจ (Understanding) ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 4 องค์ประกอบ
1.1 การใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้ว
1.2 ใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์
1.3 การวิเคราะห์
1.4 การทดลองจนได้ผล
2) เข้าถึง (Connecting) ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 3 องค์ประกอบ
2.1 ระเบิดจากข้างใน (Inside-out blasting)
2.2 เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย (Understand Target)
2.3 สร้างปัญญา (Educate)
3) พัฒนา แนวทางพระราชดำริในการพัฒนานั้นเมื่องทรงเข้าใจ เข้าถึง แล้วจึงพัฒนานั้นทรงมีหลักการสำคัญคือ
3.1 เริ่มต้นด้วยตนเอง (Self-Initiated)
3.2 พึ่งตนเอง (Self-reliance)
3.3 ต้นแบบเผยแพร่ความรู้ (Prototype and role model)
2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณภาพ โดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพของครูเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
2.2 ควรศึกษารูปแบบหรือกลยุทธ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนหรือการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาในลักษณะอื่น





amad8270m 31 มี.ค. 2564 เวลา 03:32 น. 0 454
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^