LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567เช็ก 48 สาขาวิชาเอก ใช้รับสมัครสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 26 เม.ย. 2567(25 เมษายน 2567) สพฐ.มีหนังสือแจ้งรายละเอียดการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.กรุงเกรุงเทพมหานคร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.กรุงเกรุงเทพมหานคร 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1

การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ เรื่อง เล่าเรื่องเมืองโคราช

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ เรื่อง เล่าเรื่องเมืองโคราช
     กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
     สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย     นางสาวหทัยกานต์ ประโพธิง
ตำแหน่ง    ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา     2562

บทคัดย่อ
            
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ เรื่อง เล่าเรื่องเมืองโคราช กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ เรื่อง เล่าเรื่อง
เมืองโคราช กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้หลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ และ4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ เรื่อง เล่าเรื่องเมืองโคราช กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย
แบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านทัพมะขาม ตำบลบ้านปรางค์ อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 ซึ่งใช้วิธีการเลือกตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น (Non probability sampling) เนื่องจากในการดำเนินการวิจัย ไม่สามารถที่จะสุ่มกลุ่มตัวอย่างได้ เพราะมีข้อจำกัดคือ จำนวนนักเรียนน้อยและมีนักเรียนเพียงห้องเดียวเท่านั้น มีจำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความต้องการและความคิดเห็นในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
แบบบูรณาการ 2) หลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ เรื่อง เล่าเรื่องเมืองโคราช กลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและโดยสถิติ
ทดสอบที (t-test)



    ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ เรื่อง เล่าเรื่องเมืองโคราช กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีสาระสำคัญ ดังนี้ (1) กระบวนการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัย
ที่เกี่ยวข้อง สอบถามความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรกับบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จัดประชุมกลุ่มย่อย(Focus group) เพื่อยกร่างและกำหนดองค์ประกอบและเนื้อหาของหลักสูตร (2) การบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยมีกลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเป็นสาระการเรียนรู้หลักและเชื่อมโยงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับกลุ่มสาระอื่นอีก 7 สาระ คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ
การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ โครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วย 5 หน่วยการเรียนรู้ คือ หน่วยที่ 1 เรื่อง เมืองหญิงกล้า หน่วยที่ 2 เรื่อง ผ้าไหมดี หน่วยที่ 3 เรื่อง หมี่โคราช หน่วยที่ 4 เรื่อง ปราสาทหิน และหน่วยที่ 5 เรื่อง ดินด่านเกวียน ใช้ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ 15 แผน ใช้เวลาสอน 22 ชั่วโมง (3) องค์ประกอบของหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ ประกอบด้วย หลักการ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ โครงสร้างหลักสูตรและอัตราเวลาเรียน ผังมโนทัศน์ของหลักสูตร คำอธิบายรายวิชา แนวการจัดการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ผลการประเมินหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.71, S.D.=.10) 2) หลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ เรื่อง เล่าเรื่องเมืองโคราช กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ
83.32/82.86 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ และ3) นักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ เรื่อง เล่าเรื่องเมืองโคราช กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.73,S.D =0.17)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^