LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

รายงานการศึกษาผลการใช้เอกสารประกอบการสอนเรื่อง การผลิตซอสพริกศร

usericon

บทคัดย่อ

การสร้างเอกสารประกอบการสอนเรื่อง การผลิตซอสพริกศรีราชา รหัสวิชา ง22101ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1)เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการสอน เรื่องการผลิตซอสพริกศรีราชา รหัสวิชา ง22101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา ปีการศึกษา 2553 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยการใช้เอกสารประกอบการสอนเรื่อง การผลิตซอสพริกศรีราชา รหัสวิชา ง22101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา (3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน การผลิตซอสพริกศรีราชา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา (1) เอกสารประกอบการสอนเรื่อง การผลิตซอสพริกศรีราชา จำนวน 1 เล่ม (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การผลิตซอสพริกศรีราชา (3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการผลิตซอสพริกศรีราชา สถิติที่ใช้คือร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที

การศึกษาสรุปผลได้ดังนี้

1)ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการสอนเรื่อง การผลิตซอสพริกศรีราชา มีประสิทธิภาพดังนี้ (ฉบับที่ 1 ) ประวัติความเป็นมา ความสำคัญของซอสพริกศรีราชา และอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.29 / 84.79 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80 / 80 (ฉบับที่ 2 ) การเลือกใช้ การเก็บรักษาวัสดุอุปกรณ์ ภาชนะเครื่องใช้การผลิตซอสพริกศรีราชา และการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.08 / 84.58 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80 /80 (ฉบับที่ 3 ) หลักการวิธีการและขั้นตอนการผลิตซอสพริกศรีราชา มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.00 /86.35 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80 ( ฉบับที่ 4 ) การบรรจุผลิตภัณฑ์ และการเก็บรักษา มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.65 /87.40 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80 / 80 (ฉบับที่ 5 ) การคำนวณค่าใช้จ่าย การกำหนดราคา ประโยชน์และคุณค่าการผลิต มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.83 / 86.98 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ผลสัมฤทธิ์หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน พบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนมีค่า 23.31 และหลังเรียนมีค่า 32.33 นั่นคือเอกสารประกอบการสอนเรื่องการผลิตซอสพริกศรีราชา หลังเรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อเอกสารประกอบการสอนเรื่อง การผลิตซอสพริกศรีราชา อยู่ในระดับพึงพอใจอย่างยิ่ง ค่าเฉลี่ย (X) = 4.42 และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D) =0.31 ข้อเสนอแนะและความเห็นอื่นๆของนักเรียนส่วนใหญ่เห็นว่า เอกสารปะกอบการสอนเรื่องการผลิตซอสพริกศรีราชา ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้การดำรงชีวิตอย่างพอเพียง สร้างแรงจูงใจในการเรียน นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการผลิตซอสพริกศรีราชา เนื้อหารูปแบบชัดเจนเข้าใจง่าย สนุกสนาน เปิดโอกาสให้นักเรียนมีอิสระในการเรียนรู้ เอกสารประกอบการสอนเรื่องการผลิตซอสพริกศรีราชา เป็นวิธีการเรียนที่น่าสนใจ และแบบฝึกหัดแต่ละตอนเหมาะสม

ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งต่อไป (1) ควรปรับเนื้อหา ปรับกิจกรรมการเรียนรู้ได้ด้วยตนองให้เหมาะสมกับวัย และระดับชั้นของผู้เรียน (2) ควรมีการเปรียบเทียบการสอนด้วยเอกสารประกอบการเรียน จัดการเรียนรู้รูปแบบอื่นๆเพื่อหาข้อมูลมาพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้น (3) ควรศึกษาค้นคว้าในลักษณะเช่นนี้กับนักเรียนในระดับชั้นและเนื้อหาอื่น เพื่อจะได้ทราบว่ากิจกรรมการเรียนรู้มีความเหมาะสมกับช่วงชั้นใดและเนื้อหาใด










saisunee1 18 พ.ย. 2556 เวลา 11:11 น. 0 1,239
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^