LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 2 29 มี.ค. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.เพชรบุรี รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.อุดรธานี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุดรธานี เขต 3 29 มี.ค. 2567สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.กาฬสินธุ์ เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 12 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส

usericon

การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส
ชื่อเรื่อง     การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเนินสง่าวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
ผู้วิจัย        นางธนัญญพัฒน์ ฤาชา
โรงเรียน        โรงเรียนเนินสง่าวิทยา
ปีที่พิมพ์        2556
ผู้ตรวจสอบก่อนเผยแพร่     ดร.นภาพร แก้วดวงดี, ดร.ศิริพร พึ่งเพชร, ดร.มลิวัน ศรีโคตร

[center]บทคัดย่อ[/center]

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาการจัด การเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเนินสง่าวิทยา 2) ประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเนินสง่าวิทยา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูผู้สอน และนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยใช้ประชากรทั้งหมด ได้แก่ ครู จำนวน 32 คน แยกเป็น ครูผู้นิเทศ จำนวน 8 คน ครูผู้รับการนิเทศ จำนวน 24 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 607 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบประเมิน แบบสังเกตและประเด็นสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) ค่าเฉลี่ย (x) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละ (%) โดยใช้สถิติทดสอบ Wilcoxon Signed Ranks Testและ ค่าที (t-test) แบบ Dependent
    ผลการวิจัยพบว่า
    1)     การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายใน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2) การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ 3) การนำรูปแบบไปใช้ และ 4) การประเมินและปรับปรุงรูปแบบ ผลการออกแบบและปรับปรุงรูปแบบการนิเทศภายใน ได้รูปแบบการนิเทศภายในชื่อว่า พีไอพีอี (PIPE Model) เป็นรูปแบบการนิเทศภายในที่เน้นกระบวนการนิเทศที่เป็นระบบ โดยพัฒนาขึ้นตามหลักการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อให้การนิเทศภายในเกิดประสิทธิภาพสูงสุด มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 Planning : P ขั้นวางแผน การนิเทศ ขั้นตอนที่ 2 Informing : I ขั้นการให้ความรู้ก่อนการนิเทศ ขั้นตอนที่ 3 Proceeding : P ขั้นดำเนินงาน ได้แก่ 3.1 การประชุมก่อนการสังเกตการจัดการเรียนรู้ 3.2 การสังเกตการจัดการเรียนรู้ 3.3 การประชุมหลังการสังเกตการจัดการเรียนรู้และขั้นตอนที่ 4 Evaluating : E การประเมินผลการนิเทศ
    2)     ผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริม การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเนินสง่าวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ พบว่าสมรรถภาพในการนิเทศภายในของครูผู้นิเทศหลังการใช้รูปแบบการนิเทศภายใน แบบพีไอพีอี (PIPE Model) โดยภาพรวม ครูผู้นิเทศมีสมรรถภาพในการนิเทศอยู่ในระดับสูงมาก มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนและหลังใช้รูปแบบ การนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ครูผู้รับการนิเทศมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศการสอนก่อนและหลังใช้รูปแบบการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 สมรรถภาพในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้รับการนิเทศที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนอยู่ในระดับสูง ความพึงพอใจของครูผู้รับการนิเทศที่มีต่อรูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนแบบพีไอพีอี(PIPE Model)อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดจากการจัด การเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
komstudio 12 พ.ย. 2556 เวลา 00:16 น. 0 1,642
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^