LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.สมุทรสาคร - ผลย้ายครู 2567 สพป.สมุทรสาคร 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2

รายงานผลการบริหารโครงการยุวเกษตรกรต้นกล้าความพอเพียงแห่งโรงเรียน

usericon

รายงานผลการบริหารโครงการยุวเกษตรกรต้นกล้าความพอเพียงแห่งโรงเรียน
เรื่อง                :     รายงานผลการบริหารโครงการยุวเกษตรกรต้นกล้าความพอเพียงแห่ง
โรงเรียนบ้านแม่ลามา อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ชื่อผู้ประเมิน            :    นางคำนึง แก้วมูล
ปีที่ทำการรายงาน        :    2556

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
    รายงานผลการบริหารโครงการยุวเกษตรกรต้นกล้าความพอเพียงแห่งโรงเรียนบ้านแม่ลามา อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารโครงการและรายงานผลการบริหารโครงการรวมทั้งศึกษาความพึงพอใจต่อโครงการยุวเกษตรกรต้นกล้าความพอเพียงแห่งโรงเรียนบ้านแม่ลามา อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ประชากรที่ใช้ในการรายงานครั้งนี้ ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ครูผู้สอน จำนวน 6 คน ผู้ปกครองนักเรียนพักนอน จำนวน 63 คนและนักเรียนจำนวน 72 คน รวมทั้งหมดจำนวน 148 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการรายงานประกอบด้วย (1) แบบสอบถามผลการบริหารโครงการยุวเกษตรกรต้นกล้าความพอเพียงแห่งโรงเรียนบ้านแม่ลามา จำนวน 1 ชุด (2) แบบรายงานผลการบริหารโครงการยุวเกษตรกรต้นกล้าความพอเพียงแห่งโรงเรียนบ้านแม่ลามา จำนวน 1 ชุด (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 1 ชุด (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 1 ชุด โดยในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้รายงานได้ทำการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง แล้วรวบรวมข้อมูลทั้งหมดนำมาตรวจสอบความสมบูรณ์นำไปวิเคราะห์ทางสถิติ
    การวิเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลจากแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามวิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยละ ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นของการผู้ตอบแบบสอบถาม นำมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย () และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () และการแจกแจงความถี่ แล้วนำเสนอในรูปตารางประกอบการบรรยายสรุป ส่วนข้อมูลผลการรายงานนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการรายงาน พบว่า




1. การบริหารจัดการโครงการยุวเกษตรกรต้นกล้าความพอเพียงแห่งโรงเรียนบ้านแม่ลามา อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามขั้นตอนต่างๆ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามโครงการ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูในโรงเรียนบ้านแม่ลามา มีความคิดเห็นว่าโครงการยุวเกษตรกรต้นกล้าความพอเพียงแห่งโรงเรียนบ้านแม่ลามา อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยภาพรวม มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์พิจารณา เมื่อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านผลกระทบ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านผลผลิต ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ โดยทุกด้านมีระดับคุณภาพ อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
     ด้านปัญหา พบว่า กิจกรรมมีมากเกินไปทำให้ดำเนินการได้ไม่เต็มที่ รองลงมา งบประมาณมีจำกัด ไม่เพียงพอ การประสานงานขอสนับสนุนงบประมาณและวิทยากรกับหน่วยงานอื่นยังค่อนข้างน้อย และการประชาสัมพันธ์ของโครงการ ยังไม่กว้างขวางพอ ตามลำดับ
     ข้อเสนอแนะ ผู้ตอบแบบสอบถามให้ข้อเสนอแนะ โรงเรียนควรมีการปรับระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมโครงการให้ลดลง มีการประสานงานขอความร่วมมือกับสถาบันที่เกี่ยวกับงานอาชีพมาช่วยให้ความรู้แก่นักเรียน อีกทั้งควรมีการจัดกิจกรรมตามโครงการอย่างต่อเนื่องในปีการศึกษาต่อไป ด้านงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ควรขอสนับสนุนเพิ่ม
    2. รายงานผลการบริหารโครงการ โครงการยุวเกษตรกรต้นกล้าความพอเพียงแห่งโรงเรียนบ้านแม่ลามา อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่า มีกิจกรรมหลัก ทั้งสิ้น 5 กิจกรรม ประกอบด้วย กิจกรรมการปลูกพืช, กิจกรรมการเลี้ยงสัตว์, กิจกรรมการแปรรูปผลผลิต,กิจกรรมสหกรณ์และกิจกรรมการอนุรักษ์ดิน ป่าไม้และน้ำ แต่ละกิจกรรมได้มีการกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถด้านการเกษตร มีทักษะกระบวนการในการทำงาน การอยู่ร่วมกันในสังคม อย่างมีความสุข รู้จักพึ่งตนเองมีภูมิคุ้มกันในการใช้ชีวิตในโรงเรียน ชุมชนและสังคม และมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยใช้งานเกษตรและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐานในการออกแบบ การจัดกิจกรรม กำหนดตัวชี้วัด และประเมินผล เริ่มโครงการตั้งแต่เดือน เมษายน 2553 – เดือนมีนาคม 2556
     ผลการบริหารโครงการแล้ว พบว่า พบว่า ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะทางการเกษตร มีทักษะ กระบวนการการทำงาน กระบวนการกลุ่ม และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็นไปตามหลักแห่งการดำรงชีวิตสายกลาง สามารถพัฒนากาย พัฒนาจิต และพัฒนาปัญญา โดยดำเนินการอยู่บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความพอประมาณ การมีเหตุมีผล มีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี และอยู่บนเงื่อนไขของความรู้คู่คุณธรรม ผลการบริหารจัดการโครงการยุวเกษตรกรต้นกล้าความพอเพียงของโรงเรียนบ้านแม่ลามา จึงส่งผลให้เกิดผลงานทั้งของสถานศึกษา บุคลากรและนักเรียนอย่างมากมาย
3. ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อโครงการยุวเกษตรกรต้นกล้าความพอเพียงแห่งโรงเรียนบ้านแม่ลามา อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก ผ่านเกณฑ์พิจารณา เมื่อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยสามลำดับแรก พบว่า การจัดกิจกรรมการอนุรักษ์ดิน ป่าไม้และน้ำ ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา กิจกรรมของโครงการช่วยสร้างจิตสำนึกและความตระหนักให้กับนักเรียนในการรักและห่วงแหนท้องถิ่นของตนเอง และนักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียนลดภาระของผู้ปกครอง ตามลำดับ
    ข้อเสนอแนะต่อโครงการยุว เกษตรกรต้นกล้าความพอเพียงแห่งโรงเรียนบ้านแม่ลามา อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ว่า โรงเรียนควรจัดงบประมาณสำหรับปรับปรุงสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ และปรับปรุงพื้นที่เพาะปลูก พร้อมหาตลาดในการรองรับผลผลิต และสร้างมูลค่าให้กับผลผลิต
4. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อโครงการยุวเกษตรกรต้นกล้าความพอเพียงแห่งโรงเรียนบ้านแม่ลามา อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก ผ่านเกณฑ์พิจารณา เมื่อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ประเด็นเกี่ยวกับกิจกรรมการอนุรักษ์ดิน ป่าไม้และน้ำ นักเรียนมีพึงพอใจต่อมากสุด รองลงมาประเด็นเกี่ยวกับกิจกรรมการแปรรูปผลผลิต กิจกรรมการปลูกพืช กิจกรรมการเลี้ยงสัตว์ และกิจกรรมสหกรณ์ ตามลำดับ

ข้อเสนอแนะ
1.    การบริหารโครงการควรมีการใส่ใจและให้ความสำคัญต่องานหรือกิจกรรมที่พบปัญหาหรือกิจกรรมที่ยุติลงเพราะสาเหตุใดที่ยุติงานหรือกิจกรรมนั้น ควรนำมาสรุปข้อดี ข้อเสียและนำไปปรับปรุงพัฒนาให้เป็นงาน/กิจกรรม/หรือโครงการใหม่หรือดำเนินการต่อเนื่องเพื่อให้นักเรียนได้รับผลประโยชน์ต่อไปได้
2.    การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตามโครงการนั้น ผู้รับผิดชอบและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรได้รับการทบทวนการปฏิบัติ สรุปบทเรียนที่ได้รับ เพื่อจะได้แนวทางในการพัฒนาการส่งเสริมกิจกรรมการเกษตรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียนต่อไป
3.    รายงานผลการดำเนินการ หัวใจสำคัญ คือการวางแผนเชิงระบบ ตั้งแต่กำหนดวัตถุประสงค์ ออกแบบกิจกรรม ตัวชี้วัด การประเมินผล และการสรุปบทเรียน ขั้นตอนสรุปบทเรียนนั้น ควรให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด ในการแสดงความคิดเห็น เพื่อถอดบทเรียนที่ได้เรียนรู้จากการดำเนินงาน และจะได้เป็นแนวทางในการดำเนินงานต่อไป
4.    ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ข่าวสารและสถานการณ์ต่าง ๆมาปรับประยุกต์ใช้กับโครงการเพื่อพัฒนากิจกรรมการเกษตรสำหรับผู้เรียนตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    5. ข้อเสนอแนะในสิ่งที่ควรปรับปรุงของโครงการ เกี่ยวกับการขยายการทำกิจกรรม หากพื้นที่โรงเรียนมีน้อยหรือไม่เหมาะสม ต้องมีการแก้ไขโดยการให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมเกษตรที่บ้านนักเรียนให้ผู้ปกครองดุแลช่วยเหลือแนะนำ เพราะจะทำให้นักเรียนได้เรียนรู้วิชาการเกษตรจากการปฏิบัติจริงด้วยตนเองได้มากยิ่งขึ้น

pansiri 11 ต.ค. 2556 เวลา 12:48 น. 0 1,288
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^