LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.อุดรธานี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุดรธานี เขต 3 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.กาฬสินธุ์ เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 12 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.ตรัง กระบี่ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.กระบี่ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.เพชรบูรณ์ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 3 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น

usericon

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น
ชื่อเรื่อง : การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (STAD)

ชื่อผู้ศึกษา : นายวิเชียร กันยานะ

บทคัดย่อ

    การศึกษาการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้(STAD) มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD
เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา ค23102 คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนโคกนางามพิทยาสรรพ์ อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 23 คน ใช้เนื้อหารายวิชา ค23102 คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง ความน่าจะเป็น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ เครื่องมือที่ใช้ทดลองปฏิบัติการ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมแบบร่วมมือกันเรียนรู้ จำนวน 15 แผน เครื่องมือที่ใช้สะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบบันทึกการสะท้อนผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน แบบสัมภาษณ์นักเรียนเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบย่อยท้ายวงจร ผลงานนักเรียน และเครื่องมือที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าสถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ การทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการอธิบายเป็นความเรียง
    การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีขั้นตอนการปฏิบัติ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นวางแผนการปฏิบัติ ขั้นที่ 2 ขั้นปฏิบัติการ ขั้นที่ 3 ขั้นสังเกตการณ์ ขั้นที่ 4 ขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ และมีวงจรปฏิบัติการวิจัย 3 วงจร คือ วงจรปฏิบัติการที่ 1 ประกอบด้วยแผนจัดการเรียนรู้ที่ 1–7 วงจรปฏิบัติการที่ 2 ประกอบด้วยแผนจัดการเรียนรู้ที่ 8–11 และวงจรปฏิบัติการที่ 3 ประกอบด้วยแผนจัดการเรียนรู้ที่ 12–15
    
    ผลการศึกษา พบว่า
1)    การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD เป็นการ
จัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการและมีทักษะทางปัญญา ทักษะ
ทางสังคมและความรู้สึกในการเห็นคุณค่าของตนเอง ยึดหลักการให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงรางวัลหรือเป้าหมายของกลุ่ม ความสามารถของแต่ละบุคคลในกลุ่มมีผลต่อรางวัลและแต่ละบุคคลมีโอกาสในการช่วยเหลือให้กลุ่มประสบผลสำเร็จเท่าเทียมกัน มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นนำ ขั้นเสนอบทเรียนต่อทั้งชั้น ขั้นศึกษากลุ่มย่อย ขั้นสรุป และขั้นวัดผล ครูเป็นผู้กระตุ้น เสนอแนวทาง ให้คำปรึกษาในการเรียน นักเรียนร่วมมือกันปฏิบัติกิจกรรมโดยคำนึงถึงหลักการและเป้าหมาย ทำให้บรรยากาศในชั้นเรียนมีความเป็นกันเอง นักเรียนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างชื่นชม จากการสังเกตพบว่านักเรียนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ซึ่งพัฒนาและเกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้
    2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 71.59 และมีจำนวนนักเรียนร้อยละ 78.26 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

wichian 09 ก.ย. 2556 เวลา 14:07 น. 0 2,809
usericon

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น
:em21:
ความคิดเห็นที่ #1 wichian 09 ก.ย. 2556 เวลา 14:11 น. 1.2.xxx.xxx
usericon

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น
[blockquote] อ้างถึง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น [hr]ชื่อเรื่อง : การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (STAD)

ชื่อผู้ศึกษา : นายวิเชียร กันยานะ

บทคัดย่อ

    การศึกษาการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้(STAD) มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD
เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา ค23102 คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนโคกนางามพิทยาสรรพ์ อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 23 คน ใช้เนื้อหารายวิชา ค23102 คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง ความน่าจะเป็น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ เครื่องมือที่ใช้ทดลองปฏิบัติการ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมแบบร่วมมือกันเรียนรู้ จำนวน 15 แผน เครื่องมือที่ใช้สะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบบันทึกการสะท้อนผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน แบบสัมภาษณ์นักเรียนเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบย่อยท้ายวงจร ผลงานนักเรียน และเครื่องมือที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าสถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ การทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการอธิบายเป็นความเรียง
    การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีขั้นตอนการปฏิบัติ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นวางแผนการปฏิบัติ ขั้นที่ 2 ขั้นปฏิบัติการ ขั้นที่ 3 ขั้นสังเกตการณ์ ขั้นที่ 4 ขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ และมีวงจรปฏิบัติการวิจัย 3 วงจร คือ วงจรปฏิบัติการที่ 1 ประกอบด้วยแผนจัดการเรียนรู้ที่ 1–7 วงจรปฏิบัติการที่ 2 ประกอบด้วยแผนจัดการเรียนรู้ที่ 8–11 และวงจรปฏิบัติการที่ 3 ประกอบด้วยแผนจัดการเรียนรู้ที่ 12–15
    
    ผลการศึกษา พบว่า
1)    การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD เป็นการ
จัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการและมีทักษะทางปัญญา ทักษะ
ทางสังคมและความรู้สึกในการเห็นคุณค่าของตนเอง ยึดหลักการให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงรางวัลหรือเป้าหมายของกลุ่ม ความสามารถของแต่ละบุคคลในกลุ่มมีผลต่อรางวัลและแต่ละบุคคลมีโอกาสในการช่วยเหลือให้กลุ่มประสบผลสำเร็จเท่าเทียมกัน มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นนำ ขั้นเสนอบทเรียนต่อทั้งชั้น ขั้นศึกษากลุ่มย่อย ขั้นสรุป และขั้นวัดผล ครูเป็นผู้กระตุ้น เสนอแนวทาง ให้คำปรึกษาในการเรียน นักเรียนร่วมมือกันปฏิบัติกิจกรรมโดยคำนึงถึงหลักการและเป้าหมาย ทำให้บรรยากาศในชั้นเรียนมีความเป็นกันเอง นักเรียนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างชื่นชม จากการสังเกตพบว่านักเรียนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ซึ่งพัฒนาและเกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้
    2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 71.59 และมีจำนวนนักเรียนร้อยละ 78.26 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

[/blockquote]
ความคิดเห็นที่ #2 wichian 09 ก.ย. 2556 เวลา 14:09 น. 1.2.xxx.xxx
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^