LASTEST NEWS

08 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงราย เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงราย เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 21 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงราย เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 08 พ.ค. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 45 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ชุมพร เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 76 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ชุมพร เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 61 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 07 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

usericon

ชื่อผลงานทางวิชาการ : รายงานการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม จากเรื่องราวในท้องถิ่นนครศรีธรรมราช เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับขั้นตอนการสอนของแฮร์บาร์ต (Herbart Formal Step)
ชื่อผู้ศึกษา     : สุจีรา จุลสัตย์
ปีการศึกษา     : 2560
บทคัดย่อ

    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม จากเรื่องราวในท้องถิ่นนครศรีธรรมราช เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับขั้นตอนการสอนของแฮร์บาร์ต (Herbart Formal Step) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านการเขียนคำตามมาตราตัวสะกดของนักเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม จากเรื่องราวในท้องถิ่นนครศรีธรรมราช เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับขั้นตอนการสอนของแฮร์บาร์ต (Herbart Formal Step) 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม จากเรื่องราวในท้องถิ่นนครศรีธรรมราช เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับขั้นตอนการสอนของแฮร์บาร์ต (Herbart Formal Step) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 31 คน โรงเรียนวัดพิศาลนฤมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลาก โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หนังสืออ่านเพิ่มเติม จากเรื่องราวในท้องถิ่นนครศรีธรรมราช เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับขั้นตอนการสอนของแฮร์บาร์ต (Herbart Formal Step) จำนวน 10 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด ก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง มาตราตัวสะกด จากเรื่องราวในท้องถิ่นนครศรีธรรมราช กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับขั้นตอนการสอนของแฮร์บาร์ต (Herbart Formal Step) จำนวน 30 แผน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียน ผู้ปกครอง และครูผู้สอน มีความเห็นว่านักเรียนมีปัญหาในด้านการเรียนภาษาไทยในทุกทักษะโดยเฉพาะทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย และนักเรียนส่วนใหญ่มีความต้องการสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบหนังสืออ่านเพิ่มเติมที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับมาตราตัวสะกด
2. หนังสืออ่านเพิ่มเติม จากเรื่องราวในท้องถิ่นนครศรีธรรมราช เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับขั้นตอนการสอนของแฮร์บาร์ต (Herbart Formal Step) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.94/83.87 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ผู้ศึกษากำหนดไว้
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม จากเรื่องราวในท้องถิ่นนครศรีธรรมราช เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับขั้นตอนการสอนของแฮร์บาร์ต (Herbart Formal Step) มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม จากเรื่องราวในท้องถิ่นนครศรีธรรมราช เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับขั้นตอนการสอนของแฮร์บาร์ต (Herbart Formal Step) เฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.75, S.D. = 0.55)
bjeim2520 14 ม.ค. 2562 เวลา 13:53 น. 0 661
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^