LASTEST NEWS

08 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 08 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 07 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 07 พ.ค. 2567(( ลิงก์เว็บไซต์ )) รับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ตั้งแต่วันที่ 8-14 พ.ค.2567 07 พ.ค. 2567สอบครูผู้ช่วยปี67รอบทั่วไป เลือกสมัครได้เขตเดียว เข้มสกัดทุจริต 05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่าน เขียนคำคล้องจอง ป.1

usericon

การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่าน เขียนคำคล้องจอง ชุด ระวังภัยต่อต้านการเสพติด
ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตภายใต้โรงเรียนสีขาว
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ปทิตตา ขัตติยะ
ครูวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนบ้านจาน อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด

บทคัดย่อ
    การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่าน เขียนคำคล้องจอง ชุด ระวังภัยต่อต้านการเสพติด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตภายใต้โรงเรียนสีขาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่าน เขียนคำคล้องจอง ชุด ระวังภัยต่อต้านการเสพติด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตภายใต้โรงเรียนสีขาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน จากการใช้ชุดกิจกรรมการอ่าน เขียนคำคล้องจอง ชุด ระวังภัยต่อต้านการเสพติด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตภายใต้โรงเรียนสีขาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อศึกษา ความตระหนักรู้และเข้าใจถึงการป้องกันภัยจากยาเสพติด เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตภายใต้โรงเรียนสีขาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมการอ่าน เขียนคำคล้องจอง ชุด ระวังภัยต่อต้านการเสพติด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตภายใต้โรงเรียนสีขาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1ประชากรที่ใช้ในการศึกษา เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด เขต 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 18 คน โดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดกิจกรรมการอ่าน เขียนคำคล้องจอง ชุด ระวังภัยต่อต้านการเสพติด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตภายใต้โรงเรียนสีขาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 5 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในชุดกิจกรรมการอ่าน เขียนคำคล้องจอง ชุด ระวังภัยต่อต้านการเสพติด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตภายใต้โรงเรียนสีขาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แบบประเมินความตระหนักรู้และเข้าใจ การป้องกันภัยจากการเสพติดเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตภายใต้โรงเรียนสีขาว และแบบสอบถาม ความพึงพอใจของครู ผู้บริหาร และผู้ปกครองของนักเรียน ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้ชุดกิจกรรมการอ่าน เขียนคำคล้องจอง ชุด ระวังภัยต่อต้านการเสพติดที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตภายใต้โรงเรียนสีขาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

    ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลอง และเก็บรวบรวมข้อมูลในปีการศึกษา 2559 ภาคเรียนที่ 2 ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองมี 2 ระยะระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2559 - เดือนกุมภาพันธ์ 2560 รายละเอียด การดำเนินการทดลอง มีดังนี้
    ระยะที่ 1 ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่าน เขียนคำคล้องจอง ชุด ระวังภัยต่อต้านการเสพติด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตภายใต้โรงเรียนสีขาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เดือนพฤศจิกายน 2559 - เดือนธันวาคม 2559 โดยใช้เวลาในการทดลองชุดละ 4 ชั่วโมง จำนวน 5 สัปดาห์ ระยะเวลา 20 ชั่วโมง
    ระยะที่ 2 ระยะเวลาที่ใช้เก็บข้อมูลในการพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่าน เขียนคำคล้องจอง ชุด ระวังภัยต่อต้านการเสพติด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตภายใต้โรงเรียนสีขาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังจากที่นักเรียนได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้ชุดกิจกรรมการอ่าน เขียนคำคล้องจอง ชุด ระวังภัยต่อต้านการเสพติด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ สู่การยกระดับคุณภาพชีวิต ภายใต้โรงเรียนสีขาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผ่านไปแล้วจำนวน 60 วัน จึงเก็บข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์ 2560 ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2560 โดยเก็บข้อมูลด้านความตระหนักรู้และเข้าใจ การป้องกันภัยจากยาเสพติด เพื่อยกระดับ คุณภาพชีวิตภายใต้โรงเรียนสีขาว โดยการสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 18 คน และเก็บข้อมูลด้านความพึงพอใจของครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมการอ่าน เขียนคำคล้องจอง ชุด ระวังภัยต่อต้าน การเสพติด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตภายใต้โรงเรียนสีขาว ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยมีรายละเอียดเป้าหมายดังนี้ ผู้อำนวยการจำนวน 1 คน ครูจำนวน 13 คน ผู้ปกครองจำนวน 18 คน ทำการวิเคราะห์ผลการวิจัยต่อไป

สรุปผลการวิจัย

    1. ผลการหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการอ่าน เขียนคำคล้องจอง ชุด ระวังภัยต่อต้านการเสพติด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตภายใต้โรงเรียนสีขาว ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการอ่าน เขียนคำคล้องจอง ชุด ระวังภัยต่อต้านการเสพติด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตภายใต้โรงเรียนสีขาว ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 94.14/90.73 เกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด / คือ 80/80 แสดงว่า ชุดกิจกรรมการอ่าน เขียนคำคล้องจอง ชุด ระวังภัยต่อต้านการเสพติด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตภายใต้โรงเรียนสีขาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดตามสมมติฐานข้อ 1
    2.    ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน จากการใช้ชุดกิจกรรมการอ่าน เขียนคำคล้องจอง ชุด ระวังภัยต่อต้านการเสพติด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตภายใต้โรงเรียนสีขาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
พบว่า โดยภาพรวมคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 22.94 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 27.22 คะแนนเฉลี่ยความก้าวหน้าเท่ากับ 4.28 คะแนน และนักเรียนได้คะแนนเพิ่มขึ้นทุกคน นั่นแสดงว่าหลังจากนักเรียนผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยชุดกิจกรรมการอ่าน เขียนคำคล้องจอง ชุด ระวังภัยต่อต้านการเสพติด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตภายใต้โรงเรียนสีขาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นแสดงว่า การเรียนรู้จากชุดกิจกรรมการอ่าน เขียนคำคล้องจอง ชุด ระวังภัยต่อต้าน การเสพติด ดังกล่าว ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นจริง เป็นไปตามเกณฑ์ ที่กำหนด ตามสมมติฐานข้อ 2
    3. ผลการประเมินความตระหนักและเข้าใจถึงการป้องกันภัยจากการเสพติด เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตภายใต้โรงเรียนสีขาว พบว่า ผลการวิเคราะห์ตามแบบประเมินความตระหนักรู้และเข้าใจ การป้องกันภัยจากการเสพติดเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตภายใต้โรงเรียนสีขาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยมีประเด็นคำถาม 2 ประเด็นหลัก คือ 1. ประเด็นการใช้สื่ออินเทอร์เน็ต อย่างรู้เท่าทัน 2. ประเด็นการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเองเกี่ยวกับยาเสพติด จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล จะเห็นได้ว่าหลังจากจัดกิจกรรมแล้ว เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ ที่คงทน เกิดความตระหนักรู้และเข้าใจพร้อมนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันในเรื่องการป้องกันภัย จากการเสพติด เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตภายใต้โรงเรียนสีขาว สามารถแสดงความคิดเห็นเป็นผลสะท้อนเชิงบวกของความตระหนักรู้อยู่ในระดับเห็นด้วยเป็นส่วนใหญ่ เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ในข้อ 3
    4. ผลการประเมินความพึงพอใจของครู ผู้บริหาร และผู้ปกครอง ต่อการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการอ่าน เขียนคำคล้องจอง ชุด ระวังภัยต่อต้านการเสพติด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตภายใต้โรงเรียนสีขาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่าภาพรวมระดับความพึงพอใจของครู ผู้บริหาร และผู้ปกครองต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการอ่าน เขียนคำคล้องจองชุด ระวังภัยต่อต้านการเสพติด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตภายใต้โรงเรียนสีขาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยภาพรวมเท่ากับ 4.72 คิดเป็นร้อยละ 94.4 และสรุปผลการประเมินความพึงพอใจ ของผู้บริหาร ครูและผู้ปกครอง ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด นั่นแสดงว่า ผู้บริหาร ครู และผู้ปกครอง มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการอ่าน เขียน คำคล้องจอง ชุด ระวังภัยต่อต้านการเสพติด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตภายใต้โรงเรียนสีขาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พอใจที่นักเรียนได้เรียนรู้การป้องกันภัยจาก การเสพติด เช่น สื่อออนไลน์ เกม และยาเสพติด ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตของนักเรียนในอนาคต เป็นเด็กดีมีเหตุมีผลในการใช้ชีวิตประจำวัน และสามารถอยู่ในครอบครัว ชุมชน สังคม ได้อย่าง มีความสุข ผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนให้ความร่วมมือในการแสวงหาความรู้และ ให้ข้อมูลชี้แนะเพื่อการเรียนรู้ต่อนักเรียน ทั้งยังช่วยดูแลพฤติกรรมของนักเรียนในชุมชน ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น ทำให้เกิดความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไป ตามสมมติฐานข้อ 4




ที่มาและความสำคัญของปัญหา

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 ได้กำหนดแนวการจัดการศึกษาของชาติไว้ในหมวด 4 มาตรา 22 ดังนี้การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพและการจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาบูรณาการความรู้ คุณธรรมและกระบวนการเรียนรู้ตามความเหมาะสม เนื้อหาความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ ด้านคณิตศาสตร์ ด้านภาษาและทักษะในการประกอบอาชีพ แนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้ จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมสอดคล้องกับ ความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลให้มีการฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ และประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา จัดการเรียน การสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ต่าง ๆ อย่างได้xxxส่วนและสมดุลกัน ส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียนไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ (กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 8)
สภาวการณ์และบริบทแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาการศึกษาของประเทศความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแบบก้าวกระโดดที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ภูมิภาคของโลก การปฏิวัติดิจิตอลต่อการเปลี่ยนแปลงสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 สัญญาประชาคมโลก จากเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสววรษ 2556 สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ 2573 ผลกระทบของการเป็นประชาคมอาเซียนต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม เศรษฐกิจและสังคมของไทยต้องปรับเปลี่ยนให้พร้อมรองรับประเทศไทยยุค 4.0 บริบทของการ จัดการศึกษาเด็กที่จะเข้าสู่ระบบการศึกษามีแนวโน้มลดลง สถานศึกษามีแนวโน้มขนาดเล็กลงและ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โอกาสทางการศึกษาประชากรกลุ่มวัยเรียนมีโอกาสเข้ารับการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (อนุบาล-มัธยมศึกษาตอนปลาย) เพิ่มสูงขึ้นเด็กด้อยโอกาสและผู้มีความต้องการจำเป็นพิเศษที่ได้เข้าเรียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การออกกลางคันยังคงเป็นปัญหาต่อเนื่อง แต่มีแนวโน้ม ที่ดีขึ้น ระดับการศึกษาของประชากรวัยแรงงานที่มีอายุ 15-59 ปี มีจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 8.9 ปี ในปี 2552 เป็น 10.0 ปี สู่การทบทวนการบริหารจัดการทรัพยากรที่อยู่ในระบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด แม้โอกาสทางการศึกษาจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นแต่ยังพบปัญหาประชากรวัยเรียนระดับ ม.ต้น ที่ไม่ได้เข้ารับการศึกษาในระบบประมาณร้อยละ 11.7 และประชากรวัยแรงงานที่มีการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนต้น กรอบแนวคิดแผนการศึกษาแห่งชาติ โดยมีวิสัยทัศน์ “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21” มี 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ 2) การผลิตและพัฒนากำลัง การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ 3) การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 4) การสร้างโอกาสความเสมอภาพและความเท่าเทียมทางการศึกษา 5) การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 6) การพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหาร การจัดการศึกษามีเป้าหมาย คือ การเข้าถึงการศึกษา (Access) ความเท่าเทียม (Equity) คุณภาพ (Quality) ประสิทธิภาพ (Efficiency) และตอบโจทย์บริบทที่เปลี่ยนแปลง (Relevancy) การจัด การศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป้าหมายที่ 1 คนทุกช่วงวัย มีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ การปฏิบัติ และเป้าหมายที่ 2 หลักสูตร แหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คุณธรรม จริยธรรม และการนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ แนวทางการพัฒนาส่งเสริม สนับสนุนการสร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และ นำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในการดำเนินชีวิต ส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัย และนวัตกรรมด้านการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2553 : 1-3,33)
    องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเขาหลวง มีภารกิจที่มุ่งเน้นเพื่อแก้ไขปัญหาและสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นทุก ๆ ด้านให้บริการสาธารณะ การพัฒนาภายในชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเขาหลวง ตลอดจนให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อการพัฒนาบ้านเมืองโดยมีวิสัยทัศน์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลเขาหลวงไว้ดังนี้ วิสัยทัศน์ “ทุ่งเขาหลวงสดใส ใช้หลักธรรมาภิบาล ร่วมใจกันพัฒนา การศึกษาถ้วนหน้า พลานามัยเป็นเลิศ เชิดชูคุณธรรม นำการพัฒนา”มีพันธกิจ คือ 1) จัดให้มีการบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำและสาธารณูปโภคพื้นฐานให้กับประชาชนส่งเสริมการศึกษา 2) ส่งเสริมและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้อยู่อย่างยั่งยืน 3) ส่งเสริมการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น 4)ส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชน 5) ส่งเสริมให้ประชาชนมีพลานามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีคุณภาพชีวิตที่ดี 6) ป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งเสพติด และ 7) ส่งเสริมการปลูกข้าวหอมมะลิเกษตรอินทรีย์ จากเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพการศึกษา นำมาสู่การวิเคราะห์บริบทของชุมชนภายใต้ องค์ความรู้สู่การพัฒนาความต้องการของชุมชนโดยแผนพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาตำบลทุ่งเขาหลวง กำหนดไว้ว่า ยุทธศาสตร์และแนวทาการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเขาหลวง ประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนา ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชนสังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย 4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการท่องเที่ยว 5) ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม 6) ยุทธศาสตราการพัฒนาด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีต ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 7) ยุทธศาสตร์ด้านอื่น ๆ
    ภายใต้เป้าหมายการศึกษากับการยกระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โรงเรียนบ้านจาน ได้ตระหนักถึงความสำคัญและเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่ทางโรงเรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือกันในการส่งเสริม สนับสนุน และหาแนวทางให้นักเรียนปลอดภัยจากสิ่งเสพติดและอบายมุขต่าง ๆ วัตถุประสงค์ 1) เพื่อลดปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดและอบายมุข ในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา 2) เพื่อสนับสนุนแลส่งเสริมการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขนอกสถานศึกษาให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน 3) เป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่สถานศึกษาในการนำไปพัฒนาและสร้างระบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด อบายมุข ปัจจัยเสี่ยงรอบสถานศึกษาในทุกพื้นที่ เป้าหมายเชิงปริมาณ สถานศึกษาเข้าร่วมโครงการและรับการประเมินผลประจำปี เพื่อประกาศให้เป็นสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำทางศาสนา ในชุมชนให้การสนับสนุน ส่งเสริมการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข เป้าหมายเชิงคุณภาพ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง นักเรียน มีจิตสำนึกร่วมกันในการดูแลกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสพ กลุ่มติด และกลุ่มค้า เฝ้าระวังไม่ให้มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดและอบายมุข ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา มีจิตสำนึกในการดูแลลูกหลานไม่ให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและอบายมุข นักเรียนมีจิตสาธารณะ รู้จักเสียสละ ไม่เกี่ยวข้องกับสารเสพติด
    จากเหตุผลที่กล่าวมาการจัดการศึกษาจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตตามความต้องการระดับนโยบาย และระดับชุมชนซึ่งสอดคล้องกับ หลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 4) ได้กล่าวถึง วิสัยทัศน์ของหลักสูตร ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุล ทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษา ต่อการประกอบอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพในด้านสมรรถนะสำคัญทั้ง 5 ประการ คือ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี โดยความสามารถในการคิด หมายถึง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศ เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 6-7) โดยในโครงสร้าง ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดสาระการเรียนรู้เป็น 8 กลุ่มสาระ โดยจัดเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรก (ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม) จัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างพื้นฐานการคิดและเป็นกลยุทธ์ในการแก้ปัญหา และวิกฤตของชาติ กลุ่มที่สอง (สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ) จัดการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างพื้นฐานความเป็นมนุษย์ และสร้างศักยภาพ ในการคิดและการทำงานอย่างสร้างสรรค์ โดยแนวทางในการจัดการเรียนรู้ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3
    ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทยเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบธุรกิจการงานและดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุข และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์จากข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิด วิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงทางสังคมและทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ภาษาไทยยังเป็นสื่อที่แสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี ชีวทัศน์ โลกทัศน์และสุนทรียภาพ โดยบันทึกไว้เป็นวรรณคดีและวรรณกรรมอันล้ำค่า ภาษาไทยจึงเป็นสมบัติของชาติที่ควรแก่การเรียนรู้ เพื่ออนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป (กระทรวงศึกษาธิการ. 2545 : 3)
    ด้วยความสำคัญของภาษาไทยดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการจึงจัดให้วิชาภาษาไทยเป็น 1 ใน 8 ของกลุ่มสาระวิชา ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ เพราะตระหนักว่าการศึกษาของชาติทำให้คนในชาติสำนึกถึงความเป็นไทย อยู่เสมอ การใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องจึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนไทยทุกคน
    หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเป็นสาระการเรียนรู้ที่จำเป็นต้องเรียนรู้ โดยแยกออกเป็น 5 สาระการเรียนรู้ ได้แก่ สาระที่ 1 การอ่าน สาระที่ 2 การเขียน สาระที่ 3 การฟัง ดู และพูด สาระที่ 4 หลักภาษาไทย และสาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม ซึ่งการอ่านนั้นนับเป็นสาระที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะผู้ที่ มีทักษะในการอ่านสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างง่าย ผู้ที่จำเป็นต้องศึกษาหาความรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนางาน ย่อมต้องอาศัยการอ่านเป็นพื้นฐานในการบรรลุถึงเป้าหมายของชีวิต เนื่องจากข้อมูลความรู้ในปัจจุบันมักเผยแพร่เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การอ่านช่วยให้สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้ และสามารถนำความรู้มาปรับให้เข้ากับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข (กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 10) การอ่าน เป็นทักษะทางภาษาที่สำคัญและจำเป็นมากในการดำรงชีวิตของมนุษย์ในชีวิตประจำวันต้องอาศัยการอ่านจึงจะสามารถเข้าใจและสื่อความหมาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฉวีลักษณ์ บุญกาญจน (2547 : 3) ได้ให้ความหมายของการอ่าน คือ การเข้าใจความหมายของคำ ประโยค ข้อความและเรื่องที่อ่านและเรื่องที่อ่านมีความสำคัญต่อประเทศชาติและพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าผู้ที่อ่านมากนอกจากได้รับความรู้อย่างกว้างขวางแล้วยังทำให้ผ่อนคลายความเครียด ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่านนั่นเอง การอ่านเป็นกระบวนการ ทางสมองที่ต้องใช้สายตาสัมผัสตัวหนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ รับรู้และเข้าใจความหมายของคำ ที่ใช้สื่อความคิด ความรู้ ความเข้าใจระหว่างผู้เขียนกับผู้อ่าน ให้เข้าใจตรงกันและผู้อ่านสามารถนำเอาความหมายนั้น ๆ ไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งวรรณี โสมประยูร (2544 : 121-123) ได้อธิบายถึงความสำคัญของการอ่านหนังสือ มีผลต่อผู้อ่าน 2 ประการ คือ ประการแรก อ่านแล้วได้ “อรรถ” ประการที่สอง อ่านแล้วได้ “รส” ถ้าผู้อ่านสำนึกอยู่ตลอดเวลาถึงผลสำคัญของสองประการนี้ ย่อมจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากหนังสือตรงตามเจตนารมณ์ของผู้เขียนเสมอ การอ่านมีความสำคัญ ต่อทุกคนทุกเพศทุกวัยและทุกสาขาอาชีพ เพราะการอ่านเป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งในการศึกษา เล่าเรียนทุกระดับ ผู้เรียนจำเป็นต้องอาศัยทักษะการอ่านทำความเข้าใจเนื้อหาสาระของวิชาการ ต่าง ๆ เพื่อให้ตนเองได้รับความรู้และประสบการณ์ตามที่ต้องการ ในชีวิตประจำวันโดยทั่วไป คนเราต้องอาศัยการอ่านติดต่อสื่อสารเพื่อทำความเข้าใจกับบุคคลอื่นร่วมไปกับทักษะการฟัง การพูด การเขียน ทั้งในด้านภารกิจส่วนตัวและการประกอบอาชีพการงานต่าง ๆ ในสังคม การอ่านสามารถช่วยให้บุคคลสามารถนำความรู้และประสบการณ์จากสิ่งที่อ่านไปปรับปรุง และพัฒนาอาชีพหรือธุรกิจการงานที่ตัวเองกระทำอยู่ให้เจริญก้าวหน้าและประสบความสำเร็จได้ในที่สุด การอ่านสามารถสนองความต้องการพื้นฐานของบุคคลในด้านต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น ช่วยให้ความมั่นคงปลอดภัย ช่วยให้ได้รับประสบการณ์ใหม่ ช่วยให้เป็นที่ยอมรับของสังคมช่วยให้มีเกียรติยศและชื่อเสียง ฯลฯ การอ่านทั้งหลายจะส่งเสริมให้บุคคลได้ขยายความรู้และประสบการณ์เพิ่มขึ้นอย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง ทำให้เป็นผู้รอบรู้ เกิดความมั่นใจในการพูดปราศรัย การบรรยายหรืออภิปรายปัญหาต่างๆ นับว่าเป็นการเพิ่มบุคลิกภาพและความน่าเชื่อถือให้แก่ตัวเอง การอ่านหนังสือหรือสิ่งพิมพ์หลายชนิดนับว่าเป็นกิจกรรมนันทนาการที่น่าสนใจมาก เช่น อ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร นวนิยาย การ์ตูน ฯลฯเป็นการช่วยให้บุคคลรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และเกิดความเพลิดเพลินสนุกสนานได้เป็นอย่างดี การอ่านเรื่องราวต่าง ๆ ในอดีต เช่น อ่านศิลาจารึก ประวัติศาสตร์เอกสารสำคัญ วรรณคดี ฯลฯ จะช่วยให้ อนุชนรุ่นหลังรู้จักอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของคนไทยเอาไว้และสามารถพัฒนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไปได้ ดังนั้นการอ่านจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งในการแสวงหาความรู้การเรียนรู้ และพัฒนาสติปัญญาของคนในสังคม พัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีในชีวิต
    ในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่ผ่านการอ่าน - เขียน นั้น
ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ยังขาดความเข้าใจในการอ่านการจดจำอยู่ในระดับต่ำ และการเขียน คำคล้องจอง เป็นปัญหาความสำคัญและครูผู้สอน การที่ผู้เรียนไม่เห็นความสำคัญ เพราะเป็นคำ ที่ใช้สระเดียวกัน มีตัวสะกดอยู่ในมาตราเดียวกัน คำซ้อนที่ใช้สระและตัวสะกดเหมือนกัน ถ้านักเรียน มีพุทธพิสัย ทักษะพิสัย จิตพิสัย ในการเรียนรู้คำคล้องจอง ก็สามารถนำคำคล้องจองในชีวิตประจำวันกับการนำไปยกระดับคุณภาพชีวิตได้ ซึ่งสอดคล้องกับคำคล้องจองเป็นลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของภาษาไทย คนไทยได้ชื่อว่าเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน ดังนั้น การใช้คำคล้องจองกันในภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกนักและการที่เราคุ้นเคยกับคำคล้องจอง และอาจเป็นสาเหตุทำให้เราไม่เห็นความสำคัญ หรือไม่เห็นว่าเป็นลักษณะพิเศษในภาษาไทย ซึ่งที่จริงเป็นลักษณะพิเศษส่วนเดียว เพราะในภาษาอื่นไม่มี จะมีก็เป็นคำประพันธ์ไปเลย ไม่ใช่ภาษาที่ใช้พูดกันในชีวิตประจำวัน เครือรัตน์ เรืองแก้ว (2554) การอ่านคำคล้องจองเป็นส่วนหนึ่งในทักษะการอ่านคำภาษาไทย คำคล้องจอง หรือคำสัมผัส เป็นคำที่มีลักษณะอย่างหนึ่งของบทกวี คือเป็นคำที่ใช้สระเดียวกัน มีตัวสะกดอยู่ในมาตราเดียวกัน แต่ควรมีพยัญชนะต้นต่างกัน ทั้งในระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น (ป.1-ป.3) การฝึกทักษะการอ่านคำคล้องจองยังเป็นเทคนิควิธีสอนอีกอย่างหนึ่งในการสอนการฝึกอ่านที่ดี เพราะการอ่าน คำคล้องจองทำให้นักเรียนอ่านคำได้อย่างสนุกสนานสามารถจดจำคำได้ดีคำคล้องจองยังทำให้นักเรียนมีทักษะในการคิดคำสัมผัสสามารถนำไปเป็นพื้นฐานในการเรียนและแต่งคำประพันธ์ในชั้น ที่สูงขึ้น (ธัญวรรณ เถาโพธิ์. 2554 : 8)
    การจัดกิจกรรมนักเรียนควรมีส่วนช่วยให้เกิดพัฒนาการและการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ การจัดกิจกรรมการอ่านคำคล้องจองจึงเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาการจดจำคำได้ง่าย นักเรียนเกิดความสนุกสนาน ฝึกกระบวนการคิดสร้างสรรค์คำ ที่หลากหลายรู้จักจินตนาการเกี่ยวกับเนื้อหา คำคล้องจองที่อ่านเพื่อให้เด็กเกิดพัฒนาการด้านการอ่าน ดังที่ ผดุง อารยะวิญญู (2547 : 37) กล่าวถึง คำสัมผัสว่าเป็นการฝึกทักษะในก
supanpitch 19 พ.ย. 2561 เวลา 13:01 น. 0 869
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^