LASTEST NEWS

06 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 06 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อส่งเสริมฯ

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อส่งเสริมความสามารถ
        ในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย     นางสาวฉัตรธิภรณ์ ศิริวัฒน์
โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) เทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 2560

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอน ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการสอน แหล่งข้อมูล คือ เอกสาร ผู้ให้ข้อมูลมี 2 ส่วน คือ ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 7 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และนักวิชาการ จำนวน 2 คน ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 2 คน พระสงฆ์ จำนวน 1 รูป เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถามสภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย และแบบสอบถามแนวทางจัดการเรียนการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการคิดวิเคราะห์ ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการสอน แหล่งข้อมูล คือ เอกสาร และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกร่างรูปแบบการสอน แบบประเมินรูปแบบการสอน สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 3 การทดลอง ใช้รูปแบบการสอน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) สำนักการศึกษาเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 48 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และ 3) แบบวัดความพึงพอใจ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการสอน แหล่งข้อมูล คือ เอกสาร ผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการ ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา
    ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
        1. การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รูปแบบการสอนที่ได้เรียกว่า ITBAS Model มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการของรูปแบบการสอน 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการสอน
3) กระบวนการเรียนการสอน มี 5 ขั้น คือ 1) นำข้อมูลเข้าสู่ระบบการคิด (Insert data : I)
2) แสดงความคิดต่อข้อมูล (Think : T) 3) ขั้นระดมสมอง (Brain stroming : B) 4) ขั้นคิดวิเคราะห์ (Analysis : A) และ 5) ขั้นสรุปและประเมินผล (Summarize and Evaluation : S) และ 4) ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบการสอน ประสิทธิภาพของแผนการจัด
การเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ITBAS Model) มีค่าเท่ากับ 81.54/81.18 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
        2. ผลการใช้รูปแบบการสอน
            2.1 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ITBAS Model)
มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
            2.2 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ITBAS Model) โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.72)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^