LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ศรีสะเกษ เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ศรีสะเกษ เขต 3 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.ตรัง กระบี่ - ผลย้ายครู 2567 สพม.ตรัง กระบี่ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.ตรัง กระบี่ - ผลย้ายครู 2567 สพม.ตรัง กระบี่ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพม.ขอนแก่น รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

รายงานผลการพัฒนาการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา

usericon

ชื่อเรื่อง    รายงานผลการพัฒนาการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ
ผู้รายงาน    นางสาวสมฤทัย ผูกทอง
ปีการศึกษา    2560
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ คือ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้านการเขียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดบ้านท่านั่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตรเขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 3 คน เลือกโดยวิธีเจาะจง (Purposive Sampling) ดำเนินการทดลองตามแผนการทดลองแบบ One-Group Pretest-Posttest Design ด้วยวิธีสอนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียน ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา แผนการสอนเฉพาะบุคคล(IIP) แบบทดสอบการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย
    ผลการศึกษาพบว่า
    1. แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 89.04 / 89.16 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้
    2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยคะแนนการทดสอบก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.33 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 18.33 และคะแนนการทดสอบหลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 35.67 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 89.16 ซึ่งมีผลต่างความก้าวหน้า เฉลี่ยเท่ากับ 28.34 คะแนน
คิดเป็นร้อยละ 70.83
    3. นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้มีความพึงพอใจ หลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้านการเขียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
teachercatja 11 เม.ย. 2561 เวลา 11:09 น. 0 703
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^