LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปโด

usericon

ชื่อเรื่อง			การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปโด
ชื่อเรื่อง            การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปโดยใช้เทคนิค STAD
เรื่องการปลูกพืชผักสวนครัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย            นางกาญจนา ชมภูชิต
ปีการศึกษา         ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
สถานศึกษา        โรงเรียนบ้านพุพรหม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4

บทคัดย่อ

    การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป โดยใช้เทคนิค STAD เรื่องการปลูกพืชผักสวนครัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป โดยใช้เทคนิค STAD เรื่องการปลูกพืชผักสวนครัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนสำเร็จรูป โดยใช้เทคนิค STAD เรื่องการปลูกพืชผักสวนครัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป โดยใช้เทคนิค STAD เรื่องการปลูกพืชผักสวนครัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป โดยใช้เทคนิค STAD เรื่องการปลูกพืชผักสวนครัว กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 15 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านพุพรหม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม รูปแบบการวิจัยเป็นรูปแบบการวิจัยแบบทำการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest - Posttest Design) ระยะเวลาในการทดลอง คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูป โดยใช้เทคนิค STAD เรื่องการปลูกพืชผักสวนครัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 รายวิชางานเกษตร รหัสวิชา ง15101 กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี 2) บทเรียนสำเร็จรูป โดยใช้เทคนิค STAD เรื่องการปลูกพืชผักสวนครัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการปลูกพืชผักสวนครัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ
ที่มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.25 - 0.72 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.28 - 0.91 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 2) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อบทเรียนสำเร็จรูป โดยใช้เทคนิค STAD เรื่องการปลูกพืชผักสวนครัว เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.78 – 0.94 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติ Nonparametric แบบ Wilcoxon Matched -Pairs Signed-Ranks Test

    ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
        1. บทเรียนสำเร็จรูปโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องการปลูกพืชผักสวนครัว สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 84.36/83.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
        2. บทเรียนสำเร็จรูปโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องการปลูกพืชผักสวนครัว สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.62 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียน คิดเป็นร้อยละ 62
        3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องการปลูกพืชผักสวนครัว หลังจากเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
        4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องการปลูกพืชผักสวนครัว โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D.=0.55) ด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ด้านที่ 15 นักเรียนรู้สึกภาคภูมิใจในการทำเกษตรกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.80, S.D. = 0.41) รองลงมาคือ ด้านที่ 2 การเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปโดยใช้เทคนิค STAD ทำให้นักเรียนเข้าใจวิชาเกษตรมากยิ่งขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.73, S.D. = 0.46) รองลงมาคือ ด้านที่ 3 บทเรียนสำเร็จรูปโดยใช้เทคนิค STAD ทำให้เกิดทักษะในการใช้เครื่องมือการเกษตรและการปลูกพืชผัก อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.73, S.D.= 0.46) และด้านที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ ด้านที่ 12 นักเรียนทราบผลการเรียนรู้ของตนเองตลอดเวลา อยู่ในระดับมาก ( = 4.07, S.D. = 0.59)
        สรุปผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าบทเรียนสำเร็จรูป โดยใช้เทคนิค STAD เรื่องการปลูกพืชผักสวนครัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นสื่อในการจัดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญและเป็นประโยชน์กับนักเรียน ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ทำให้การจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียน ดังนั้นควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูสาระการเรียนรู้อื่น ๆ หรือระดับชั้นอื่น ๆ นำบทเรียนสำเร็จรูปโดยใช้เทคนิคแบบ STAD ไปเป็นนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ เจตคติ และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ต่อไป
01 ก.พ. 2558 เวลา 13:02 น. 0 908
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^