LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

รายงานผลการพัฒนาบทเรียนสื่อประสม เรื่อง มหัศจรรย์เศษวัสดุ

usericon

ชื่อเรื่อง     รายงานผลการพัฒนาบทเรียนสื่อประสม เรื่อง มหัศจรรย์เศษวัสดุ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงาน อาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์)
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย     นางศิริพร สิงห์ไกรหาญ
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2559

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาบทเรียนสื่อประสม เรื่อง มหัศจรรย์เศษวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนสื่อประสม เรื่อง มหัศจรรย์เศษวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนสื่อประสม เรื่อง มหัศจรรย์เศษวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน (4) ศึกษาระดับความพึงพอใจในการบทเรียนสื่อประสม เรื่อง มหัศจรรย์เศษวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (4) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของครูที่มีต่อบทเรียนสื่อประสม เรื่อง มหัศจรรย์เศษวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (5) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนสื่อประสม เรื่อง มหัศจรรย์เศษวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
    กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเทศบาล 1 สว่างวิทยา เทศบาลเมืองหนองคาย โดยปีการศึกษา 2559
มีนักเรียนจำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) บทเรียนสื่อประสม เรื่อง มหัศจรรย์เศษวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กับบทเรียนสื่อประสม เรื่อง มหัศจรรย์เศษวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูที่มีต่อบทเรียนสื่อประสม 5)แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนสื่อประสม    วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างโดยการทดสอบที (t–test) คำนวณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS for Windows ผลการวิจัยพบว่า
1.    บทเรียนสื่อประสม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้น หน่วยที่ 4 มหัศจรรย์เศษวัสดุ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 93.22/90.97 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2.    บทเรียนสื่อประสม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้น หน่วยที่ 4 มหัศจรรย์เศษวัสดุ มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.7762 แสดงว่าบทเรียนสื่อประสมทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 77.62
3.    นักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนสื่อประสมในปีการศึกษา 2559 มีผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.    การศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อบทเรียนสื่อประสม พบว่า ครูผู้สอนให้ระดับ
ความคิดเห็นมากที่สุด และระดับมากทุกรายการ โดยเฉพาะข้อ 1 ลักษณะรูปเล่มเหมาะสม ข้อ 2 รายละเอียดของกิจกรรมเหมาะสม ซึ่งครูมีความคิดเห็นระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ข้อ 13 นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกขั้นตอน นักเรียนมีความคิดเห็นระดับมากที่สุด ส่วนประเด็นอื่นๆ ครูส่วนมากมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน แต่ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานแตกต่างกัน
5.    การศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนสื่อประสม พบว่า นักเรียนให้
ระดับความคิดเห็นระดับมากที่สุดและระดับมากทุกรายการ โดยเฉพาะข้อ 1 สื่อประสมมีประโยชน์มีคุณค่า ข้อ 2 รูปเล่มสวยงาม ข้อ 3 ตัวอักษรชัดเจน อ่านง่าย ข้อ 4 เนื้อหาน่าสนใจ ข้อ 5 ภาพประกอบน่าสนใจ ข้อ 6 เนื้อหาในบทเรียนอ่านเข้าใจง่าย ข้อ 7 นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ข้อ 11 นักเรียนได้รับความรู้ และมีทักษะเพิ่มขึ้น ข้อ 14 ทุกคนได้ศึกษาด้วยตนเอง และข้อ 15 นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้งานประดิษฐ์ ซึ่งนักเรียนมีระดับความคิดเห็นมากที่สุด


p.nongkhai 02 ก.ย. 2560 เวลา 22:31 น. 0 758
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^