LASTEST NEWS

12 ก.ย. 2567แถลงการณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว เรื่อง ประกาศแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการสรรหาและเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป ตำแหน่งครูผู้สอน 12 ก.ย. 2567สพม.สระแก้ว แก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการทั่วไป ตำแหน่ง ครูผู้สอน  12 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 11 ก.ย. 2567ประกาศแล้ว รายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบครูผู้ช่วย กทม. ครั้งที่ 1/2567 11 ก.ย. 2567สพฐ.เชิงรุกลดภาระครูต่อเนื่อง เน้นย้ำ “ประเมินเลื่อนเงินเดือนครู” งดจัดนิทรรศการ งดทำรูปเล่มเอกสาร ใช้เทคโนโลยีช่วย 11 ก.ย. 2567ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 5581 ลงวันที่ 10 กันยายน 2567 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 11 ก.ย. 2567ด่วน! ก.ค.ศ.อนุมัติจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณฯ ปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ให้ สพฐ. จำนวน 12,502 อัตรา เฉพาะตำแหน่งครูผู้ช่วย 10,303 อัตรา 11 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 10 ก.ย. 2567(( ลิงก์เว็บไซต์ )) ประกาศผลครูผู้ช่วยอาชีวะ ปี 2567 หลัง 17.00 น. วันที่ 10 ก.ย.67 10 ก.ย. 2567ศูนย์สอบธรรมศาสตร์ แจ้งร้อยละผู้สอบผ่าน ตำแหน่งครูผู้ช่วย อาชีวะ 2567 แยกกตามสาขาวิชา

รายงานผลการประเมินโครงการการพัฒนาระบบงานสารบรรณและระบบข้อมูลสารส

usericon

รายงานผลการประเมินโครงการการพัฒนาระบบงานสารบรรณและระบบข้อมูลสารส
ชื่องานประเมิน         :     รายงานผลการประเมินโครงการการพัฒนาระบบงานสารบรรณและระบบ
                    ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาท้องถิ่นของโรงเรียนเทศบาล 1
                    (บ้านในเมือง) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์
ผู้ประเมิน          :    อุบลรัตน์ เสือน้อยกุลธร
ปีที่ประเมิน     : ปี 2556

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

    การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินการโครงการการพัฒนาระบบงานสารบรรณและระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาท้องถิ่นของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบจำลอง CIPP ของ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam : CIPP Model) ในการประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต การสร้างเกณฑ์การประเมินได้อาศัยการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญที่มีความเห็นสอดคล้องกัน การศึกษาได้นำผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาท้องถิ่นของโรงเรียนทุกระดับ และผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น 57 คน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลได้แก่แบบประเมินโครงการ ซึ่งมีความเที่ยงตรงตามกรอบการประเมินทุกฉบับ สำหรับการวิเคราะห์ได้ดำเนินการโดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
    ผลการประเมินสรุปได้คือ
    ด้านบริบท (Context) พบว่า ด้านวัตถุประสงค์ของการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา มีความชัดเจน สามารถปฏิบัติได้ สอดคล้องกับสภาพการจัดการศึกษาและสอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงานทุกระดับ ด้านมีความพร้อมในการดำเนินงาน คือ โครงการนี้ช่วยให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้องครบถ้วนและเป็นจริงและสามารถใช้ข้อมูลจากโครงการในการพัฒนาจัดสรรงบประมาณประจำปี มีกำหนดงานการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ได้ถูกต้องกับโครงสร้างการบริหารงานของ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนด    
    ด้านปัจจัย (Input) พบว่ามีการวางแผนการใช้จ่ายงบประมาณอย่างเป็นระบบ มีความเหมาะสมสอดคล้องกับกิจกรรม มีแผนการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาสู่ระบบ Internet อย่างชัดเจนเป็นขั้นตอน ผู้บริหารสถานศึกษา ให้การส่งเสริมและพัฒนาเจ้าหน้าที่รับผิดชอบระบบข้อมูลสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง มีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี มีหลักฐานการวิเคราะห์ภารกิจด้านต่าง ๆ กำหนดรายการข้อมูลสารสนเทศที่หน่วยงานต้องใช้ ต้องมี ในหนึ่งปี และมีแผนควบคุม กำกับ ติดตามงานอย่างชัดเจน ต่อเนื่อง มีการวางแผนใช้จ่ายงบประมาณเป็นขั้นตอน สอดคล้องกับกิจกรรมการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา มีสถานที่เป็นxxxส่วน มีความเหมาะสมเอื้อต่อการดำเนินงาน มีวัสดุครุภัณฑ์ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่อการดำเนินงานและอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน การบริหารและการจัดการ มีการชี้แจงทำความเข้าใจแก่บุคลากรในหน่วยงานให้ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของข้อมูลสารสนเทศ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานและกำหนดหน้าที่รับผิดชอบไว้อย่างชัดเจน จัดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจคณะทำงานและกำหนดหน้าที่รับผิดชอบไว้อย่างชัดเจน จัดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจคณะทำงานก่อนปฏิบัติงาน และและมีการประเมินการดำเนินงาน ปีการศึกษาละ 1 ครั้ง มีการสรุปและรายงานผลการปฏิบัติงานโครงการจัดระบบสารสนเทศทางการศึกษา ปีการศึกษาละ 1 ครั้ง
    ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล มีการวิเคราะห์แบบเก็บข้อมูลก่อนเก็บรวบรวมข้อมูล มีการกำหนดวิธีการ ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างชัดเจน มีการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจคณะทำงานก่อนการดำเนินการ มีการกำหนดระยะเวลาการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้อย่างชัดเจน มีการติดตาม กำกับดูแลการเก็บรวบรวมข้อมูลให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ และในด้านคุณภาพของแบบเก็บข้อมูลพบว่า มีระบบการจัดเก็บคลังข้อมูลที่เป็นหมวดหมู่ตามลักษณะงาน การค้นหาข้อมูลสารสนเทศสะดวกรวดเร็ว มีการจัดทำแผนภูมิแสดงสารสนเทศที่สำคัญ ๆ มีการสรุปข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญประกอบคำบรรยาย แบบเก็บข้อมูลที่สร้างขึ้นทำความเข้าใจง่าย สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้ครอบคลุมความต้องการและสะดวกต่อการนำไปใช้ มีการสำรวจความต้องการใช้ข้อมูลสารสนเทศภายในสถานศึกษา มีการออกแบบเก็บข้อมูลเพิ่มเติมตามความต้องการ ระยะเวลาเก็บรวบรวมข้อมูลเหมาะสมสอดคล้องกัน และการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลสามารถดำเนินการได้ดีตามระยะเวลาที่กำหนด ขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลมีการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ วิธีการตรวจสอบข้อมูลไว้อย่างชัดเจน มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และตรวจสอบซ้ำ มีการตรวจสอบแก้ไขข้อมูลไว้อย่างชัดเจน มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และตรวจสอบซ้ำ มีการตรวจสอบแก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องก่อนนำไปประมวลผลและแจ้งผลการตรวจข้อมูลที่ผิดพลาดให้รับทราบ ขั้นตอนการจัดหน่วยหรือคลังข้อมูล มีศูนย์ข้อมูลสารสนเทศโดยเฉพาะ มีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูล และมีการจัดทำเอกสารสรุปข้อมูลสารสนเทศรายปีการศึกษาของสถานศึกษา ขั้นตอนการวิเคราะห์ ข้อมูลสารสนเทศก่อนนำไปใช้ทุกครั้ง มีแนวทางขั้นตอนวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ชัดเจน สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ทันเวลาที่ต้องการใช้ ขั้นตอนการนำไปใช้ มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติขั้นตอนวิธีการขอใช้ข้อมูลสารสนเทศ มีการให้บริการข้อมูลสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง มีการรวบรวมเอกสารขอใช้ข้อมูลสารสนเทศไว้เป็นหลักฐาน สามารถขอใช้ข้อมูลสารสนเทศได้ทุกเวลา มีการให้บริการข้อมูลที่หลากหลายรูปแบบ มีการติดต่อประสานงานกันระหว่างผู้ขอใช้กับผู้ให้บริการทุกครั้ง และมีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อให้บริการโดยเฉพาะ
    ด้านผลผลิต (Product) พบว่าผลผลิตตามวัตถุประสงค์การพัฒนาระบบงานสารบรรณและระบบข้อมูลสารสนเทศ ทางการศึกษาท้องถิ่น ของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ ด้านปริมาณ จำนวนข้อมูลสารสนเทศ มีเพียงพอตามความต้องการของหน่วยงาน ครบตามขอบข่ายที่กำหนด ด้านคุณภาพข้อมูลสารสนเทศที่ได้ มีความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ แม่นยำสอดรับกับการปฏิบัติงานจริง นำไปใช้ได้ครอบคลุมความต้องการของผู้ใช้ สามารถนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลอื่นได้ในเวลาเดียวกัน และมีความชัดเจนไม่คลุมเครือกะทัดรัด เป็นปัจจุบันทันสมัย ข้อมูลสารสนเทศที่ได้นำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี และนำไปใช้ประกอบการจัดตั้งจัดสรรงบประมาณ และพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีการนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้เพื่อประชาสัมพันธ์ การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี มีผลเฉลี่ยมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 5.00 และรองลงมาคือข้อมูลสารสนเทศที่ได้นำไปใช้ประกอบการตัดสินใจในด้านนโยบายการบริหารงานของผู้บริหาร มีจำนวนข้อมูลสารสนเทศที่ได้ครบตามขอบข่ายที่กำหนด มีผลเฉลี่ยอยู่ 4.70 และน้อยที่สุด ในเรื่องข้อมูลสารสนเทศเป็นปัจจุบันทันสมัย, ข้อมูลสารสนเทศทีได้สอดรับกับการปฏิบัติงานจริง, ข้อมูลสารสนเทศที่ได้นำไปใช้ครอบคลุมความต้องการของผู้ใช้ มีผลการประเมิน เฉลี่ยอยู่ที่ 3.30 ผลผลิตด้านการบริหาร การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ทำให้ตัดสินใจกำหนดนโยบายวางแผนการปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความถูกต้องแม่นยำชัดเจนและรวดเร็ว ตรงตามสภาพปัญหาและความต้องการ สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง บุคลากร ในสถานศึกษาเกิดการพัฒนา ทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ มีระบบ คล่องตัวรวดเร็วตรงตามนโยบายทุกหน่วยงานทุกระดับ
24 ส.ค. 2557 เวลา 14:11 น. 0 1,070
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^