LASTEST NEWS

06 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนหนองไผ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคอมพิวเตอร์ เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 พฤษภาคม พ.ศ.2567

รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบการจัดกิจกร

usericon

 รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบการจัดกิจกร
ชื่อเรื่อง                 รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนชาติตระการวิทยา
ผู้รายงาน                 นางพิมพ์นารา นุปิง ตำแหน่งรองผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะชำนาญการ
ปีที่พิมพ์                 พ.ศ. 2556

บทคัดย่อ
         การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนชาติตระการวิทยา อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก โดยใช้การประเมินตามรูปแบบจำลองซิปป์ (CIPP model) ตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีม(Stufflebeam) กลุ่มประชากรผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 50 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นบุคคล ภายนอกโรงเรียน จำนวน 13 คน และนักเรียนกลุ่มตัวอย่างชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชาติตระการวิทยา อำเภอ ชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 275 คน ตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยเป็นแบบสอบถามจำนวน 7 ฉบับ ประกอบด้วย 1) ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความต้องการเร่งด่วนการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ จำนวน 3 ข้อ 2) ฉบับที่ 2 แบบสอบถามประเมินบริบท จำนวน 10 ข้อ 3) ฉบับที่ 3 แบบสอบถามประเมินปัจจัยนำเข้าจำนวน 10 ข้อ 4) ฉบับที่ 4 แบบสอบถามประเมินกระบวนการด้านการบริหารโครงการ จำนวน 20 ข้อ 5) ฉบับที่ 5 แบบสอบถามประเมินกระบวนการดำเนินงานโครงการ จำนวน 10 ข้อ 6) ฉบับที่ 6 แบบสอบถามประเมินความสำเร็จของโครงการสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 30 ข้อ และ 7) ฉบับที่ 7 แบบสอบถามประเมินความสำเร็จและประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ สำหรับนักเรียน จำนวน 12 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย(Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

    ผลการประเมินโครงการ ปรากฏดังนี้
         1. ก่อนดำเนินงานตามโครงการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ปีการศึกษา 2555) พบว่า โรงเรียนชาติตระการวิทยาเป็นสถานศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “สถานศึกษาพอเพียง” สถานศึกษาที่มีความพร้อมทั้งด้านอาคารสถานที่ บุคลากร และงบประมาณ สามารถพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ อีกทั้งเป็นการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อเป็นต้นแบบและเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงแก่สถานศึกษาและหน่วยงานอื่นๆ โดยความร่วมมือของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน
        2. การประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความสอดคล้องของโครงการ ความชัดเจน และการเตรียมการเพื่อดำเนินงานโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด โดยการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบสอดคล้องยุทธศาสตร์ การจัดการศึกษาของโรงเรียน และ ครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนมีความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ กิจกรรมการการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบเน้นการมีส่วนรวมของทุกภาคส่วน การกำหนดหลักการและเหตุผลสอดคล้องกับนโยบาย ของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานต้นสังกัด ส่วนการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ ในโรงเรียน สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
        3. การประเมินปัจจัยนำเข้า เกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ และการได้รับการสนับสนุน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดโดยระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมชัดเจน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ผู้บริหารสถานศึกษาให้ความสำคัญและสนับสนุนโครงการ และชุมชน และผู้ปกครองนักเรียนให้ความสำคัญและสนับสนุนโครงการ ส่วนมีวัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยีดำเนินโครงการที่ทันสมัยและเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ตามลำดับ
        4. การประเมินกระบวนการเกี่ยวกับกระกระบวนการบริหารโครงการตาม โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยกิจกรรมการจัดทำหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ และมีการบูรณาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ส่วนศึกษาดูงานการจัดการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ส่วนกระบวนการในการดำเนินงานตามความคิดเห็นของนักเรียน โดยรวมมีโดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน โดยนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและกิจกรรมงานเพื่อชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และนักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
        5. การประเมินผลผลิต เกี่ยวกับความสำเร็จของโครงการ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยครูและบุคลากรทางการศึกษารวมถึงผู้เรียนมีการแบ่งปัน สามัคคี ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน และครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษามีความเข้าใจมีความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายที่ถูกต้องของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนผู้เรียนเป็นแบบอย่างในการมีวินัยในการใช้จ่าย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ส่วนความสำเร็จและประโยชน์ที่เข้าร่วมโครงการตามความคิดเห็นของนักเรียนโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เช่นเดียวกัน โดยผู้เรียนได้เรียนรู้และได้ฝึกลงมือปฏิบัติจริงในกิจกรรมงานเพื่อชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแล้วสามารถนำไปใช้ในชีวิตได้จริงค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนผู้เรียนสามารถเสนอแนวทางการพัฒนาการผลิตในท้องถิ่นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และผู้เรียนประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของตนเองและครอบครัว มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
    ผลจากการดำเนินโครงการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตลอดทั้งปีการศึกษา 2556 ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง ครอบคลุมทั้งด้านการบริหารและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภายในโรงเรียน นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยการบูรณาการ การจัดกิจกรรมด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติต่อไป
pimnara 27 ก.ค. 2557 เวลา 10:24 น. 0 1,830
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^