LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

รายงานการประเมินโครงการ การป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประส

usericon

รายงานการประเมินโครงการ  การป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประส
ชื่อเรื่อง     รายงานการประเมินโครงการ การป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์         ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ “ประสานใจสายใยรัก” โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์     ปีการศึกษา 2555-2556

ผู้รายงาน     นายสถาพร ไทยกลาง รองผู้อำนวยการโรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์

ปีที่รายงาน    ปีการศึกษา 2555-2556
______________________________________________________________________________

บทสรุป

         รายงานการประเมินโครงการการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ “ประสานใจสายใยรัก” โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2555-2556 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการดำเนินงาน และด้านผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน โดยมีวิธีการประเมิน 3 ลักษณะ คือ การประเมินโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้รายงานได้สร้างขึ้น ประเมินจากแบบบันทึกผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ และแบบบันทึกพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนตามสภาพจริง
        กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างครู ปีการศึกษา 2555 และปีการศึกษา 2556 จำนวน 45 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา 2555 จำนวน 263 คน ปีการศึกษา 2556 จำนวน 266 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2555 จำนวน 263 คน ปีการศึกษา 2556 จำนวน 266 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2555 และปีการศึกษา 2556 จำนวน 13 คน
        เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และมีข้อคำถามปลายเปิด จำนวน 5 ฉบับ ทุกฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยมีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .886 - .932 แบบบันทึกผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 1 ฉบับ และแบบบันทึกพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนตามสภาพจริง จำนวน 1 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS (Statistical Package for the Social Sciences) for Window v. 19 ผลการประเมินพบว่า
1.    ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context) ในการดำเนินโครงการ
ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ “ประสานใจสายใยรัก” โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2555-2556 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความต้องการจำเป็น ด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ด้านความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน และด้านความเป็นไปได้ของโครงการ โดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน พบว่า ปีการศึกษา 2555 และปีการศึกษา 2556 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งสองกลุ่ม โดยปีการศึกษา 2555 ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.98, S.D. = .55) รองลงมา คือ ครู ( = 3.82, S.D. = .64) และปีการศึกษา 2556 ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.56, S.D. = .41) รองลงมา คือ ครู ( = 4.21, S.D. = .54)
2.    ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ในการดำเนินโครงการ
ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ “ประสานใจสายใยรัก” โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2555-2556 ตามความคิดเห็นของครู โดยประเมิน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความพร้อมด้านบุคลากร ด้านความเพียงพอของงบประมาณ ด้านความเพียงพอของวัสดุอุปกรณ์และความเหมาะสมของสถานที่ ด้านการบริหารจัดการ และด้านหน่วยงานที่สนับสนุน โดยรวม พบว่า ปีการศึกษา 2555 และปีการศึกษา 2556 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3.    ด้านกระบวนการ (Process) ในการดำเนินโครงการ
ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ “ประสานใจสายใยรัก” โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2555-2556 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง โดยประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการดำเนินกิจกรรม ด้านการประเมินผล และด้านการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน พบว่า ปีการศึกษา 2555 และปีการศึกษา 2556 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งสามกลุ่ม โดยปีการศึกษา 2555 ความคิดเห็นของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.97, S.D. = .51) รองลงมา คือ ผู้ปกครอง ( = 3.84, S.D. = .69) ส่วนความคิดเห็นของครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.82 , S.D. = .41 )และปีการศึกษา 2556 ความคิดเห็นของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.36, S.D. = .41) รองลงมา คือ ครู ( = 4.30, S.D. = .42) ส่วนความคิดเห็นของผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.20 , S.D. = .57 )
4.    ด้านผลผลิต (Product) ในการดำเนินโครงการ
4.1     ผลการประเมินด้านคุณภาพในการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน ในการดำเนินโครงการการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ “ประสานใจสายใยรัก” โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2555-2556 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน พบว่า ปีการศึกษา 2555 และปีการศึกษา 2556 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินที่สามกลุ่ม โดยปีการศึกษา 2555 ความคิดเห็นของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.01 , S.D. = .39) รองลงมา คือ ผู้ปกครอง ( = 3.95 , S.D. = .61) และปีการศึกษา 2556 ความคิดเห็นของครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.41 , S.D. = .34) รองลงมา คือ นักเรียน ( = 4.39 , S.D. = .41)

4.2     ผลการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน ในการดำเนินโครงการการ
ป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ “ประสานใจสายใยรัก” โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2555-2556 พบว่า ผลการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน ปีการศึกษา 2556 โดยภาพรวมพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ลดลงจากปีการศึกษา 2555 ร้อยละ 9.62 และเมื่อพิจารณาแต่ละพฤติกรรม พบว่า พฤติกรรมมาโรงเรียนสาย ลดลงมากที่สุด ร้อยละ 10.76 รองลงมา คือ ขาดเรียน ลดลงร้อยละ 8.04 ส่วนพฤติกรรมทำลายทรัพย์สินของโรงเรียน ดื่มสุรา/ของมึนเมาและถูกจำคุก/ถูกดำเนินคดี ลดลงน้อยที่สุด ร้อยละ 0
     4.3 ผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี
การศึกษา 2555-2556 มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และ ค่านิยมที่พึงประสงค์โดยรวมผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร เอื้ออาทรผู้อื่นและกตัญญูกตเวที ยอมรับความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่าง ตระหนัก รู้คุณค่า ร่วมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม เฉลี่ยมีคุณภาพระดับ 4 อยู่ในระดับดีมาก
     4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการดำเนินโครงการการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ “ประสานใจสายใยรัก” โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2555-2556 โดยรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน พบว่า ปีการศึกษา 2555 และปีการศึกษา 2556 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งสี่กลุ่ม โดยปีการศึกษา 2555 ความพึงพอใจของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.92 , S.D. = .51) รองลงมา คือ ครู ( = 3.81 , S.D. = .42) และปีการศึกษา 2556 ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.45 , S.D. = .33) รองลงมา คือ ครู ( = 4.38 , S.D. = .37)

    ข้อเสนอแนะ
1.    ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
1.1     โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์ หาจุดเด่น จุดด้อย จุดที่ควรพัฒนา เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
1.2     โรงเรียนควรนำรูปแบบ วิธีการและกิจกรรมต่างๆในโครงการไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน
1.3     ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง มีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของโครงการ ดังนั้นจึงควรมีการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ชื่อเสียง ผลงานของบุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงาน ที่ให้การช่วยเหลือ สนับสนุนโครงการด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม
1.4     ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นๆ และเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
2.    ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินและวิจัยครั้งต่อไป
2.1     ควรศึกษารูปแบบหรือแนวทางในการประเมินโครงการการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนของโรงเรียนที่นอกเหนือจากรูปแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมิน
2.2     ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน ตามบริบทของโรงเรียนที่แตกต่างกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาการดำเนินงานตามโครงการต่อไป
2.3     ควรมีการศึกษาการประเมินโครงการการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน ในเชิงคุณภาพ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกอันจะเป็นประโยชน์ต่องานพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป
mercury11 15 เม.ย. 2557 เวลา 20:13 น. 0 921
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^