LASTEST NEWS

04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนหนองไผ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคอมพิวเตอร์ เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลสกลนคร รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคณิตศาสตร์ เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 8 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567สพม.ชลบุรี ระยอง ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับสื่อประสม...

usericon

รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
ร่วมกับสื่อประสมและผังมโนทัศน์
รายวิชาชีววิทยา 4 รหัสวิชา ว30244
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6





ปรียาภรณ์ ทองมาก
โรงเรียนเพชรพิทยาคม จังหวัดเพชรบูรณ์




สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีการศึกษา 2560



คู่มือการใช้
รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับสื่อประสมและผังมโนทัศน์
รายวิชาชีววิทยา 4 รหัสวิชา ว30244 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับสื่อประสมและผังมโนทัศน์ รายวิชาชีววิทยา 4 รหัสวิชา ว30244 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วย แผนการเรียนรู้จำนวน 22 แผน ดังนี้
     แผนการเรียนรู้ที่ 1 การศึกษาพันธุศาสตร์ของเมนเดล
     แผนการเรียนรู้ที่ 2 ความน่าจะเป็น
     แผนการเรียนรู้ที่ 3 กฎแห่งการแยกและกฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ
     แผนการเรียนรู้ที่ 4 การผสมเพื่อทดสอบ
     แผนการเรียนรู้ที่ 5 ลักษณะทางพันธุกรรมที่เป็นส่วนขยายของพันธุศาสตร์เมนเดล
     แผนการเรียนรู้ที่ 6 การถ่ายทอดยีนและโครโมโซม
     แผนการเรียนรู้ที่ 7 การค้นพบสารพันธุกรรม
     แผนการเรียนรู้ที่ 8 โครโมโซม
     แผนการเรียนรู้ที่ 9 องค์ประกอบทางเคมีของ DNA
     แผนการเรียนรู้ที่ 10 โครงสร้างของ DNA
     แผนการเรียนรู้ที่ 11 สมบัติของสารพันธุกรรม
     แผนการเรียนรู้ที่ 12 มิวเทชัน
     แผนการเรียนรู้ที่ 13 พันธุวิศวกรรม
     แผนการเรียนรู้ที่ 14 การวิเคราะห์ DNA และการศึกษาจีโนม
     แผนการเรียนรู้ที่ 15 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของ DNA
     แผนการเรียนรู้ที่ 16 ความปลอดภัยของเทคโนโลยีทาง DNA และมุมมองทางสังคมและจริยธรรม
     แผนการเรียนรู้ที่ 17 หลักฐานที่บ่งบอกวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
     แผนการเรียนรู้งที่ 18 แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
     แผนการเรียนรู้ที่ 19 พันธุศาสตร์ประชากร
     แผนการเรียนรู้ที่ 20 ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีล
     แผนการเรียนรู้ที่ 21 กำเนิดของสปีชีส์
     แผนการเรียนรู้ที่ 22 วิวัฒนาการมนุษย์

     ในแต่ละแผนการเรียนรู้ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
     1. การสร้างความสนใจ (Engage) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการเรียนรู้ที่จะนำเข้าสู่บทเรียน จุดประสงค์สำคัญของขันตอนนี้ คือ ทำให้นักเรียนสนใจใคร่รู้ในกิจกรรมที่จะนำเข้าสู่บทเรียน ควรจะเชื่อมโยงประสบการณ์การเรียนรู้เดิมกับปัจจุบันและควรเป็นกิจกรรมที่คาดว่ากำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งทำให้นักเรียนสนใจจดจ่อที่จะศึกษาความคิดรวบยอด กระบวนการ หรือทักษะ และเริ่มคิดเชื่อมโยงความคิดรวบยอด กระบวนการ หรือทักษะกับประสบการณ์เดิม บทบาทของผู้สอนจะต้องกระตุ้นให้นักเรียนสนใจ ใจจดจ่อกับการเรียน โดยการตั้งคำถาม กำหนดปัญหา สร้างเหตุการณ์ที่ขัดแย้งและสถานการณ์ที่เป็นปัญหา ซึ่งเป็น 2–3 วิธีที่จะดึงดูดความสนใจของนักเรียน และกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ ผลสำเร็จของการจัดกิจกรรม สร้างความสนใจ คือ ทำให้นักเรียนสงสัย อยากรู้อยากเห็น และต้องการศึกษาความรู้อย่างลึกซึ้ง
     2. การสำรวจและค้นหา (Explore) เป็นขั้นตอนที่ทำให้นักเรียนมีประสบการณ์ร่วมกันในการสร้างและพัฒนาความคิดรวบยอด กระบวนการ และทักษะโดยการให้เวลาและโอกาสแก่นักเรียนในการทำกิจกรรมการสำรวจและค้นหาสิ่งที่นักเรียนต้องการเรียนรู้ตามความคิดเห็นของนักเรียนแต่ละคน หลังจากนั้นนักเรียนแต่ละคนได้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความคิดรวบยอด กระบวนการและทักษะในระหว่างที่นักเรียนทำกิจกรรมสำรวจและค้นหาเป็นโอกาสที่นักเรียนจะได้ตรวจสอบหรือเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความคิดรวบยอดของนักเรียนที่ยังไม่ถูกต้องและยังไม่สมบูรณ์ โดยการให้นักเรียนอธิบายและยกตัวอย่างเกี่ยวข้องกับความคิดเห็นของนักเรียน ผู้สอนควรจะระลึกเสมอเกี่ยวกับความรู้เดิมของนักเรียนจะช่วยผู้สอนในการวางแผนการสอนครั้งต่อไป และจำแนกแยกแยะจัดกลุ่มความรู้ความสามารถของนักเรียนตามประเด็นปัญหา ผลจากการที่นักเรียนมีใจจดจ่อจากการทำกิจกรรม นักเรียนควรสามารถเชื่อมโยงการสังเกต การจำแนกตัวแปร และคำถามเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นได้
     3. การอธิบาย (Explain) เป็นขั้นตอนที่ให้นักเรียนได้พัฒนาความสามารถในการอธิบายความคิดรวบยอดที่ได้จากการสำรวจและค้นหา ผู้สอนควรให้โอกาสแก่นักเรียนได้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเกี่ยวกับทักษะหรือพฤติกรรมการเรียนรู้ การอธิบายนั้นต้องการให้นักเรียนได้ใช้ข้อสรุปร่วมกันในการเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้ ในช่วงเวลาที่เหมาะสมนี้ผู้สอนควรชี้แนะนักเรียนเกี่ยวกับการสรุปและการอธิบายรายละเอียด แต่อย่างไรก็ตามผู้สอนควรระลึกอยู่เสมอว่ากิจกรรมเหล่านี้ยังคงเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง นั่นคือ นักเรียนได้พัฒนาความสามารถในการอธิบายด้วยตัวนักเรียนเอง บทบาทของผู้สอนเพียงแต่ชี้แนะผ่านทางกิจกรรม เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสอย่างเต็มที่ในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในความคิดรวบยอดได้อย่างเข้าใจโดยเชื่อมโยงประสบการณ์ ความรู้เดิมและสิ่งที่เรียนรู้เข้าด้วยกัน
     4. การขยายความรู้ (Elaborate) ขั้นตอนที่ให้นักเรียนได้ยืนยันและขยายหรือเพิ่มเติมความรู้ความเข้าใจในความคิดรวบยอดให้กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น เปิดโอกาสให้รู้ นักเรียนได้ฝึกทักษะและปฏิบัติตามที่นักเรียนต้องการ ในกรณีที่นักเรียนไม่เข้าใจหรือยังสับสนอยู่ หรืออาจจะเข้าใจเฉพาะข้อสรุปที่ได้จากการปฏิบัติ การสำรวจและการค้นหาเท่านั้น ควรให้ประสบการณ์ใหม่ นักเรียนจะได้พัฒนาความรู้ความเข้าใจในความคิดรวบยอดให้กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น นักเรียนจะได้รับความรู้เพิ่มเติมนิส่งที่เขาสนใจ และได้ฝึกกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้ชำนาญมากขึ้น เป้าหมายที่สำคัญของขั้นนี้ คือ ผู้สอนควรชี้แนะให้นักเรียนได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จะทำให้นักเรียนเกิดความคิดรวบยอด กระบวนการและทักษะเพิ่มขึ้น
     5. การประเมินผล (Evaluate) ขั้นตอนนี้นักเรียนจะได้รับข้อมูลย้อนกับเกี่ยวกับการอธิบายความรู้ความเข้าใจของตนเอง ระหว่างการเรียนการสอนในขั้นนี้ของรูปแบบการสอน ผู้สอนต้องกระตุ้นหรือส่งเสริมให้นักเรียนประเมินความรู้ความเข้าใจและความสามารถของตนเอง และยังเปิดโอกาสให้ผู้สอนได้ประเมินความรู้ความเข้าใจและพัฒนาทักษะของนักเรียนด้วย
     เมื่อนักเรียนได้ประเมินผลการเรียนรู้แล้ว ถ้าการเรียนรู้นั้นๆ เป็นที่ยอมรับ ก็ใช้เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้แนวคิดหลักอื่นมีลักษณะเป็นวัฏจักร จึงเรียกว่า Inquiry Cycle หรือ 5Es



ดาวน์โหลดเอกสารทั้งฉบับ คลิกที่นี่
kruwandee 28 มิ.ย. 2561 เวลา 09:36 น. 0 654
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^