LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567 24 ก.ค. 2567ยินดีด้วยครับ ! สพป.นครราชสีมา เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 จำนวน 80 อัตรา - รายงานตัว 30 กรกฎาคม 2567

รู้มั้ยว่า MRT สถานีสีลม สร้างยากที่สุด!!

usericon

รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสีลม เป็นสถานีรถไฟฟ้าที่อยู่บริเวณสี่แยกศาลาแดง ซึ่งเป็นทำเลใจกลางเมืองในย่านธุรกิจของถนนสีลม แต่จะมีใครรู้บ้างว่ากว่าจะเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสีลมได้นั้นต้องเจอกับอะไรบ้าง?

ปัญหาที่การก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสีลมต้องพบเจอก็คือ การเปลี่ยนจากรถไฟฟ้ายกระดับ มาเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน เพราะบริเวณสี่แยกศาลาแดงนั้นมีทั้ง สะพานข้ามแยกศาลาแดง และตึกสูงรายล้อมมากมาย ทำให้การก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสีลมต้องสร้างภายใต้โจทย์ที่ว่า จะสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสีลมอย่างไรโดยไม่ต้องรื้อสะพาน และไม่ต้องปิดการจราจรบนสะพาน

และสุดท้ายการสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสีลม จึงต้องสร้างโดยการ “ตัดเสาเข็มสะพานข้ามแยก” โดยที่ไม่ต้องรื้อสะพาน และไม่ต้องปิดการจราจรบนสะพาน ตามหลักการง่ายๆ ดังนี้

1. สร้างกำแพงกันดินขึ้นมา นั่นก็คือกำแพงของรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสีลม
2. ขุดดินในกำแพงออกจนถึงฐานรากของสะพานข้ามแยก
3. สร้างพื้นหลังคาสถานี
4. ติดตั้ง Hydraulic ที่ใต้ฐานรากของสะพานข้ามแยก
5. ขุดลงไปใต้หลังคาสถานี โดยตัดเสาเข็มสะพานข้ามแยกในขณะที่บนสะพานก็ยังมีรถวิ่งอยู่ ดังนั้นน้ำหนักของสะพานจะถ่ายเทมาบนหลังคาสถานีโดยมี Hydraulic รองรับไว้
6. สร้างพื้นชั้นขายตั๋วสถานี
7. ขุดลงไปใต้พื้นชั้นขายตั๋ว แล้วตัดเสาสะพานข้ามแยกออก
8. ทำตามขั้นตอนเหล่านี้ไปจนถึงชั้นชานชาลาล่างสุด
9. ตัวสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินนั้นก็มีเสาใหญ่มารองรับน้ำหนักหลังคาสถานีอีกที นั่นก็เสาใหญ่ที่เห็นในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินนั่นเอง

จากขั้นตอนการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสีลมที่กล่าวมาทั้งหมด จึงทำให้รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสีลมสร้างยากที่สุด!! มีความลึกที่สุดถึง 30 เมตร!! และมีบันไดเลื่อนที่ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกด้วย


สรุปสถานี รถไฟฟ้าใต้ดิน สถานนียกระดับสายสีส้ม

ที่มา Facebook ชมรมคนรักรถไฟฟ้า , pantip.com กระทู้โดย Chuthaphong
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^