LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567 24 ก.ค. 2567ยินดีด้วยครับ ! สพป.นครราชสีมา เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 จำนวน 80 อัตรา - รายงานตัว 30 กรกฎาคม 2567

การวิจัยและประเมินโครงการ 1 ห้องเรียน 1 ผลิตภัณฑ์

usericon

ชื่อเรื่อง                การวิจัยและประเมินโครงการ 1 ห้องเรียน 1 ผลิตภัณฑ์ (One Class One Product)
                เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและงานอาชีพ (Life and Career Skills) โดยใช้กระบวนการ
                มีส่วนร่วม โรงเรียนส้มป่อยพิทยาคม
ผู้วิจัย                 นายณัฐวุฒิ หารไชย
สถานศึกษา     โรงเรียนส้มป่อยพิทยาคม ตำบลส้มป่อย อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
                สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร
ปีการศึกษา            ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565

บทคัดย่อ

    การวิจัยและประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อประเมินโครงการ 1 ห้องเรียน 1 ผลิตภัณฑ์ (One Class One Product) โรงเรียนส้มป่อยพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร และ 2) เพื่อประเมินทักษะชีวิตและงานอาชีพ (Life and Career Skills) ของนักเรียนโรงเรียนส้มป่อยพิทยาคม 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาโครงการ การวิจัยและประเมินโครงการครั้งนี้ใช้เทคนิคการประเมินแบบ CIPPIEST Model ตามแนวคิดของ Stufflebeam andShinkfield (2007) ประกอบด้วยการประเมินใน 8 ด้าน คือ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) ด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) และด้าน
การถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 48 คน กลุ่มที่ 2 นักเรียนโรงเรียนส้มป่อยพิทยาคม จำนวน 460 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่ง
ชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) กลุ่มที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย สำหรับการเก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม (Focus group) ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 12 คน ซึ่งกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของทาโร ยามาเน (Yamane) ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยคือ ภาคเรียน
ที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 4 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นผู้บริหาร ครู
และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานใช้สอบถามย่อย 8 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า
ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ จำนวน 60 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.21 – 0.82 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 ฉบับที่ 2 ประเมินทักษะชีวิตและงานอาชีพ (Life and Career Skills) ของนักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 25 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.27 – 0.75 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการสำหรับนักเรียน
จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.26 – 0.84 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 และฉบับที่ 4 แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ
ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

    ผลการวิจัยพบว่า
        1. การวิจัยและประเมินโครงการ 1 ห้องเรียน 1 ผลิตภัณฑ์ (One Class One Product) โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม โรงเรียนส้มป่อยพิทยาคม โดยใช้เทคนิคการประเมินแบบ CIPPIEST Model โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55, S.D.= 0.61) ข้อที่มีระดับคุณภาพมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ด้านกระบวนการ (P: Process) อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67, S.D.= 0.56) รองลงมาคือ ด้านผลผลิต (P: Product) อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D.= 0.48) และด้านสภาวะแวดล้อม
(C: Context) อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D.= 0.57) ส่วนข้อที่มีระดับคุณภาพน้อยที่สุด คือ ด้านการถ่ายโยงความรู้ (T: Transportability)อยู่ในระดับมาก ( = 4.35, S.D.= 0.72)
        2. ทักษะชีวิตและงานอาชีพ (Life and Career Skills) ของนักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D. = 0.62) และมีค่าเฉลี่ยรายด้าน โดยมีรายละเอียดดังนี้ ด้านที่ 1 ความยืดหยุ่นและการปรับตัว อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.65, S.D. = 0.56) ด้านที่ 2
เป็นผู้มีความคิดริเริ่มและเป็นผู้นำ อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.61, S.D. = 0.62) ด้านที่ 3 ทักษะ
ทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.55, S.D. = 0.68) ด้านที่ 4
การเพิ่มผลผลิตและการรู้รับผิดชอบ อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.57) ด้านที่ 5
ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ อยู่ในระดับ มาก ( = 4.45, S.D. = 0.64)
        3. ผลการศึกษาข้อเสนอแนะ ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการดำเนินงานโครงการ พบว่า โรงเรียนโรงเรียนส้มป่อยพิทยาคมมีการนำนโยบายไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ผ่านโครงการต่าง ๆ ของนักเรียน ส่งผลให้นักเรียนมีกระบวนการคิดในการทำงานได้อย่างถูกต้อง
มีทักษะในการประกอบอาชีพเสริม เพิ่มรายได้แก่ตนเองและครอบครัวได้ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ “อยู่อย่างพอเพียง” มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ มีทักษะ
ในการเลือกตราสินค้าให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ รวมถึงมีทักษะชีวิตและงานอาชีพ (Life and Career Skills) โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการ ในการจัดการเรียนรู้การนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลโครงการ ผ่านชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) รวมถึง
การนำผลกาประเมินมาใช้ โดยผู้ปกครอง ชุมชนมีส่วนร่วม มีการเผยแพร่ผลการดำเนินงาน การยกย่องเชิดชูเกียรติ และเป็นแหล่งเรียนรู้ของสังคม ส่วนข้อจำกัด คือ บุคลากรมีจำนวนน้อย ทำงานหลายด้านในเวลาเดียวกัน ต้องการงบประมาณ วัสดุ สื่อ อุปกรณ์เพิ่มเติม ซึ่งแก้ปัญหาด้วยการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ข้อเสนอแนะในการพัฒนาคือ ควรส่งเสริมและบูรณาการการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community Based Learning) มีการสร้างเครือข่ายทางวิชาการ การทำ MOU
การสร้างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน และการขยายผลและมีการสร้างขวัญและกำลังใจ การยกย่องเชิดชูเกียรติ เผยแพร่เกียรติคุณให้กับนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชนต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^