LASTEST NEWS

26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567 24 ก.ค. 2567ยินดีด้วยครับ ! สพป.นครราชสีมา เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 จำนวน 80 อัตรา - รายงานตัว 30 กรกฎาคม 2567 24 ก.ค. 2567สมศ.ประกาศ ขอความร่วมมือสถานศึกษา งดจัดเตรียมพิธีการต้อนรับ รวมถึงมอบของที่ระลึกให้แก่ผู้ประเมินทุกรูปแบบ 24 ก.ค. 2567เตรียมตัวให้พร้อม คลอดแล้วปฏิทินสอบทีแคสปี 68 พร้อมวันสอบ TGAT/TPAT และ A-Level

การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม ปีการศึกษา 2564  

  • 14 ต.ค. 2565 เวลา 09:47 น.
  • 1,069
การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม ปีการศึกษา 2564  

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ชื่อเรื่อง :  การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม ปีการศึกษา 2564  
ผู้ศึกษา :  นายอดิเรก  ทิมกูล
ตำแหน่ง :  รองผู้อำนวยการโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตาก

บทคัดย่อ
        การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม ปีการศึกษา 2564  เป็นการวิจัยเชิงประเมิน ผู้ประเมินเลือกใช้รูปแบบการประเมินตามแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อประเมินบริบทของโครงการ (Context Evaluation) 2. เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input Evaluation) 3. เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินโครงการ (Process Evaluation) 4. เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ครูผู้สอนจำนวน 72 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน  ผู้ปกครองนักเรียนชั้น ม.1 - ม.6  จำนวน 313  คน และนักเรียนชั้น ม. 1 - ม.6 จำนวน  313  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean)   และหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

        ผลการประเมินพบว่า 
        1. ด้านบริบทโครงการ (Context Evaluation) ผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคมปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยรายการ หลักการ และวัตถุประสงค์ของโครงการ มีความเหมาะสม และสอดคล้องกัน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ความสอดคล้องของเป้าหมายโครงการกับสภาพแวดล้อมของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนโครงการมีความเหมาะสมกับบทบาทและหน้าที่ของโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด อยู่ในระดับมาก โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
        2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคมปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการประเมิน 5 กิจกรรม พบว่า ผลการประเมินกิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระวันสุดสัปดาห์ และกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผลการประเมินกิจกรรมอบรมคุณธรรม จริยธรรม ตามวัฒนธรรมวิถี กิจกรรมครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน และกิจกรรมจิตเป็นสมาธิก่อนเรียน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยทุกกิจกรรมผ่านเกณฑ์การประเมิน
        3. ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียน จากการประเมิน 5 กิจกรรม พบว่า 1) การดำเนินงาน กิจกรรมอบรมคุณธรรม จริยธรรม ตามวัฒนธรรมวิถีพุทธ มีผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนกิจกรรมครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน  กิจกรรมจิตเป็นสมาธิก่อนเรียน   กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระวันสุดสัปดาห์ และกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ มีผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  2) การจัดกิจกรรมของครู กิจกรรมอบรมคุณธรรม จริยธรรม ตามวัฒนธรรมวิถีพุทธ กิจกรรมครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน  กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระวันสุดสัปดาห์ กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ มีผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกิจกรรมจิตเป็นสมาธิก่อนเรียน มีผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยทุกกิจกรรมทั้งการดำเนินงาน และการจัดกิจกรรมผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ผลการประเมินผลผลิตจากการประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการตามความคิดเห็นของครูผู้สอน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม   ปีการศึกษา 2564 พบว่า 1) พฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ด้านความรับผิดชอบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านความซื่อสัตย์ ด้านความมีเหตุผล ด้านความกตัญญูกตเวที ด้านความมีวินัย ด้านความเสียสละ ด้านความสามัคคี ด้านความประหยัด ด้านการพึ่งตนเอง ด้านความขยันหมั่นเพียร และด้านความเมตตาของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน 2) ความพึงพอใจต่อการจัดทำโครงการ มีผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


รายละเอียดเอกสาร PDF :: ไฟล์แนบ

 
  • 14 ต.ค. 2565 เวลา 09:47 น.
  • 1,069

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม ปีการศึกษา 2564  

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^