LASTEST NEWS

05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนหนองไผ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคอมพิวเตอร์ เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลสกลนคร รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคณิตศาสตร์ เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 8 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยใช้กระบวนการชุมชนการ

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้
    ทางวิชาชีพ (PLC) และการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
    ของโรงเรียนเทศบาล ๖ มิ่งเมือง
ชื่อผู้วิจัย        นางวราภรณ์ มโนรัตน์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
            วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ปีที่วิจัย     2564 - 2565

บทคัดย่อ

    การวิจัยนี้ ใช้วิธีวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวทางในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๖ มิ่งเมือง 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๖ มิ่งเมือง 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๖ มิ่งเมือง และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๖ มิ่งเมือง วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาแนวทางในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน จำนวน 10 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 43 คน รวมจำนวน 53 คน ของโรงเรียนเทศบาล ๖ มิ่งเมือง ในปีการศึกษา 2565 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน จำนวน 10 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 43 คน รวมจำนวน 60 คน ของโรงเรียนเทศบาล ๖ มิ่งเมือง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบประเมินรูปแบบการบริหาร และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

    ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาแนวทางในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๖ มิ่งเมือง พบว่า การบริหารที่ผู้บริหารและครูเห็นความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยมุ่งเน้นผลผลิตที่เกิดขึ้นกับนักเรียนเป็นสำคัญ บนพื้นฐานการส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารมีความเป็นผู้นำ มีบทบาทในการนำกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพให้เกิดขึ้นในสถานศึกษา การพัฒนาวิชาชีพครู ส่งเสริมให้ครูในโรงเรียนมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง พัฒนาวิธีการสอนและนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่หลากหลาย มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สนองตอบตามศักยภาพผู้เรียน โดยมีการรวมกลุ่มกันทำงาน ร่วมกันคิดค้นการแก้ปัญหาการเรียนการสอนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสะท้อนผลการปฏิบัติงานทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา อันจะส่งผลต่อคุณภาพนักเรียน
2. ผลการสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล ๖ มิ่งเมือง พบว่า ได้รูปแบบที่ชื่อว่า 3E & Q Model มี 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) วิธีดำเนินงานของรูปแบบ (3E & Q Model) ประกอบด้วย Envision (การมีวิสัยทัศน์ชัดเจน) Efficiency & Effectiveness (การทำงานที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผล) Enjoy (การมีความสุขในงานที่ทำร่วมกัน) และ QUALITY (เป้าหมายคุณภาพโรงเรียน) 4) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ และ 5) แนวทางการประเมินรูปแบบ ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบการบริหารมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D. = 0.55)
        3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กโดยใช้กระบวนการชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล ๖ มิ่งเมือง พบว่า
            3.1 คุณภาพนักเรียนโดยการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ระหว่างปีการศึกษา 2564-2565 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2565 สูงกว่าปีการศึกษา 2564 จำนวน 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้น 1.17 คิดเป็นร้อยละ 1.87 และนักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรสถานศึกษา ในระดับดี–ดีเยี่ยม ปีการศึกษา 2565 สูงกว่าปีการศึกษา 2564 เพิ่มขึ้นทั้ง 8 ประการ คิดเป็นร้อยละ 3.91
         3.2 คุณภาพครู พบว่า ครูโรงเรียนเทศบาล ๖ มิ่งเมือง ได้รับรางวัล เกียรติบัตรหรือประกาศเกียรติคุณ ระดับจังหวัดขึ้นไป ในปีการศึกษา 2564-2565 จำนวน 9 รายการ เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด คือไม่น้อยกว่า 5 รายการ
        4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กโดยใช้กระบวนการชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล ๖ มิ่งเมือง พบว่า
         4.1 บุคลากรครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน มีความเห็นว่ารูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๖ มิ่งเมือง มีความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.52)
         4.2 บุคลากรครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ (PLC) และการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ๖ มิ่งเมือง ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.52)
plasma22.wn 15 มี.ค. 2567 เวลา 09:41 น. 0 52
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^