LASTEST NEWS

06 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนหนองไผ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคอมพิวเตอร์ เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 พฤษภาคม พ.ศ.2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ P-W-P-E เพื่อส่งเสริมทักษะกา

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ P-W-P-E เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย         ยุวรี แก้วคำไสย์
ปีที่วิจัย    2563

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ P-W-P-E เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ P-W-P-E เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และ 3) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ P-W-P-E เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย การวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ คือ ขั้นที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบ ขั้นที่ 3 การนำรูปแบบไปใช้ และขั้นที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านสิริขุนหาญ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านออกเขียนได้และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และการทดสอบค่าที (t - test) ผลการวิจัยพบว่า
    1. ผลการพัฒนารูปแบบ พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ P-W-P-E เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีองค์ประกอบสำคัญ ประกอบด้วย หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ กระบวนการจัดการเรียนรู้ และการวัดผลและประเมินผล มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่การอ่าน (Pre-Reading) ขั้นที่ 2 ขั้นระหว่างการอ่าน (While-Reading) ขั้นที่ 3 ขั้นฝึกอ่านเขียน (Practice Reading and Writing) และขั้นที่ 4 ขั้นประเมินผล (Evaluation) จากการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.55
    2. ผลการนำรูปแบบไปใช้ พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ P-W-P-E เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีคะแนนทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาการอ่านออกเขียนได้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และมีทักษะการอ่านออกเขียนได้ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ย 30.57
    3. ผลการประเมินการใช้รูปแบบ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ P-W-P-E เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย อยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 2.60,
S.D. = 0.51) และผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อพฤติกรรมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนหลังการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ P-W-P-E เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในระดับมากที่สุด
( = 4.56, S.D. = 0.50)

























ประกาศคุณูปการ

    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ P-W-P-E เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ฉบับนี้ สำเร็จได้ด้วยดีเนื่องจากได้รับความกรุณาช่วยเหลือให้คำปรึกษา คำแนะนำ ตรวจแก้ไขข้อบกพร่องในการทำวิจัยด้วยความเอาใจใส่เป็นอย่างดีจากคณะผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย ………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………..………………………………………………………………….………..………………………………………………………………..………………………………………………………………….………..………………………………………………………………..………………………………………………………………….………..………………………………………………………………..………………………………………………………………….………..………………………………………………………………..………………………………………………………………….……….. ผู้วิจัยขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
ขอบคุณคณะครูในโรงเรียนบ้านสิริขุนหาญทุกท่าน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่ได้กรุณาให้การสนับสนุนช่วยเหลือ ขอบคุณเจ้าของบทความ เอกสารตำราต่าง ๆ ที่เป็นแหล่งข้อมูลการค้นคว้าทำให้การวิจัยครั้งนี้ สำเร็จลงด้วยดี ผู้วิจัยขอขอบพระคุณไว้ ณ โอกาสนี้
    คุณค่า คุณความดีและประโยชน์ของการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยขอมอบเป็นเครื่องบูชาพระคุณบิดา มารดา คณะครู อาจารย์และผู้มีพระคุณทุกท่านที่ได้อบรมสั่งสอนให้ผู้วิจัยมีความรู้ ความพากเพียร มานะ อดทน จนทำให้ประสบผลสำเร็จในการวิจัย

                                        ยุวรี แก้วคำไสย์











ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^