LASTEST NEWS

05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนหนองไผ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคอมพิวเตอร์ เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลสกลนคร รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคณิตศาสตร์ เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 8 พฤษภาคม พ.ศ.2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้าง
            ทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน
            ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย     นางสาวไซลัน สาและ
สถานศึกษา    โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านจะบังติกอ สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองปัตตานี
ปีการศึกษา     2561

บทคัดย่อ

    การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) ออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 4) ประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมุ่งประเมินในสิ่งต่อไปนี้คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และความพึงพอใจของนักเรียนภายหลังได้รับการสอนด้วยรูปแบบการสอน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านจะบังติกอ สังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แบบสัมภาษณ์ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีแบบไม่อิสระ (t-test แบบDependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา
    ผลการวิจัย พบว่า
    1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้าง ทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ ระเบียบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ทำให้สามารถคาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ และแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เป็นวิชาที่พัฒนาให้นักเรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบและมีแบบแผน แต่สภาพการจัดการเรียนการสอนของครู ยังใช้รูปแบบการสอนแบบบรรยาย ให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดจากบทเรียน การใช้สื่อ แหล่งเรียนรู้ และฝึกให้ผู้เรียนคิด แก้ปัญหาได้อย่างมีเหตุผลยังมีน้อย แนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่ากระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เป็นสื่อการเรียนอย่างหนึ่งที่สามารถใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาการเรียนและผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนจากการศึกษาค้นคว้าโดยใช้ตามกระบวนการเรียนรู้คณิตศาสตร์ช่วยให้นักเรียนได้มีทักษะการคิดวิเคราะห์เพิ่มมากขึ้นได้
        2. ผลการสร้างรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีชื่อเรียกว่า P-UCAE-C Model มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ เงื่อนไขในการใช้รูปแบบการสอน สิ่งสนับสนุน และหลักการตอบสนอง ซึ่งมีกระบวนการเรียนการสอน 6 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นกำหนดปัญหา (Problem Determination : P) 2) ขั้นทำความเข้าใจปัญหา (Understanding the problem : U) 3) ขั้นดำเนินการศึกษา (Conducting Studies : C) 4) ขั้นวิเคราะห์ความรู้และฝึกทักษะ (Analysis skills : A) 5) ขั้นประเมินค่าผลงานและนำเสนอผลงาน (Evaluation : E) และ 6) ขั้นสรุปและประเมินผล (Conclusion : C) ซึ่งมีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.67/76.94 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2
        3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนกลุ่มทดลอง จำนวน 24 คนได้คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน จากการทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 18.04 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 60.12 และได้คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบหลังเรียน (Post-test) นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 23.08 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 76.94 แสดงว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
        4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปรากฏว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลประเมินความพึงพอใจของนักเรียนภายหลังได้รับการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.52) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดกิจกรรมในการเรียน และด้านการประเมินผล ในการเรียน รองลงมาคือ ด้านระยะเวลาในการเรียนและด้านบรรยากาศในการเรียน ตามลำดับ
2520yongyuth 05 ส.ค. 2562 เวลา 20:01 น. 0 539
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^