LASTEST NEWS

06 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนหนองไผ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคอมพิวเตอร์ เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 พฤษภาคม พ.ศ.2567

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบซิปปา

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model)
     เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2    
ผู้วิจัย    นางสาววิไลพร พงษ์พล
ตำแหน่ง    ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนพรานวิบูลวิทยา
ปีการศึกษา    2561

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model) เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป
    กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียนพรานวิบูลวิทยา ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 32 คน
    รูปแบบการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แยกออกเป็น 3 วงจรเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ คือ แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model) เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 18 แผน ใช้เวลาทั้งหมดจำนวน 18 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู แบบสังเกตการเรียนรู้ของนักเรียน แบบบันทึกหลังสอน และแบบทดสอบท้ายวงจร 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ จำนวน 30 ข้อ แบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก รูปแบบการวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมีวงจรปฏิบัติการวิจัย 3 วงจร ดังนี้ คือวงจรที่ 1 ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1–6 วงจรที่ 2 ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7–11 วงจรที่ 3 ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 12 – 18 โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สร้างขึ้น การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยและผู้ช่วยผู้วิจัยได้ทำการบันทึกผลการปฏิบัติแล้วนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาสรุปหาข้อบกพร่องและแนวทางแก้ไข นำไปปรับปรุงแผนการปฏิบัติการในวงจรต่อไปให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ร้อยละของค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการอธิบายความ
         ผลการวิจัยพบว่า
    1. กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model) เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีขั้นตอน 7 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นนำ/ทบทวนความรู้เดิม เป็นการเตรียมความพร้อมของนักเรียน โดยผู้วิจัยแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ และทบทวนความรู้ที่เคยเรียนมาซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้ใหม่ที่จะได้เรียน จากกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การสนทนาซักถาม เพลง เกม สถานการณ์ปัญหาหรือให้ผู้เรียนแสดงโครงความรู้เดิมของตน 2) ขั้นแสวงหาความรู้ใหม่ นักเรียนแสวงหาความรู้จากสถานการณ์ปัญหาที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวันและเหมาะกับวัยของผู้เรียนที่ครูจัดเตรียมไว้ให้ 3) ขั้นการศึกษาทำความเข้าใจความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม เป็นขั้นที่นักเรียนใช้ประสบการณ์ความรู้เดิมที่มีในขั้นนำเชื่อมโยงมายังความรู้ใหม่ ผู้วิจัยได้ใช้สถานการณ์ปัญหาเพื่อให้ผู้เรียนได้คิดด้วยตนเอง จากนั้นให้ผู้เรียนบันทึกข้อค้นพบเป็นของตนเอง 4) ขั้นแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจในกลุ่มเป็นขั้นที่นักเรียน นำความรู้และวิธีการแก้ปัญหาของตนเองที่ได้จากกิจกรรม บันทึกผลรายบุคคลมานำเสนอต่อสมาชิกในกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มได้ช่วยกันตรวจสอบความรู้ความเข้าใจที่ผู้เรียนสร้างขึ้น รวมทั้งขยายความรู้ความเข้าใจของตนเองให้กว้างขึ้น เป็นการแบ่งปันความรู้ความเข้าใจของตนเองแก่ผู้อื่นและได้รับความรู้ความเข้าใจของผู้อื่นไปพร้อม ๆ กัน 5) ขั้นสรุปและจัดระเบียบความรู้ เป็นขั้นสรุปองค์ความรู้ทั้งหมดที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่ จัดสิ่งที่ได้รับจากการเรียนให้เป็นระบบระเบียบเพื่อง่ายต่อการจดจำ 6) ขั้นแสดง ผลงาน เป็นขั้นที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงผลงานการสร้างองค์ความรู้ของตนเองและของกลุ่มให้ผู้อื่นได้รับรู้ ผู้เรียนได้เรียนรู้ผลงานของผู้อื่นและปรับปรุงบันทึกความรู้ของตนเองให้ดีขึ้น 7) ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ เป็นขั้นที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกฝนนำความรู้ความเข้าใจของตนไปใช้กับสถานการณ์ที่หลากหลายแตกต่างกัน เพื่อเพิ่มความเข้าใจและฝึกให้เกิดความชำนาญ ความสามารถในการแก้ปัญหาและความจำในเรื่องนั้น ๆ โดยการทำแบบฝึกทักษะและใบกิจกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น พบว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model) สามารถสร้าง องค์ความรู้และตรวจสอบความรู้ได้ด้วยตนเอง มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าแสดงความคิดเห็น สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน มีกระบวนการกลุ่ม มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยร้อยละ 79.17 และมีนักเรียนจำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 81.25 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป
Wilaippkim 05 ส.ค. 2562 เวลา 15:41 น. 0 540
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^