LASTEST NEWS

06 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนหนองไผ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคอมพิวเตอร์ เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 พฤษภาคม พ.ศ.2567

การประเมินผลโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านกาด

usericon

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

การประเมินผลโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านกาดถี อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านกาดถี ปีการศึกษา 2560 โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ของ Daniel L. Stufflebeam ซึ่งประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) ประเมินด้านสภาพบริบท (Context Evaluation) 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 3) ประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ 4) ประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวน 61 คนประกอบด้วย ครู จำนวน 8 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 23 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 23 คน และกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านกาดถี สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาฉบับที่ 2 แบบสอบถามประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านกาดถี สำหรับนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)

สรุปผลการประเมินโครงการ

1. ผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านกาดถี จากการตอบแบบสอบถามของครูผู้ปฏิบัติงานโครงการจำนวน 8 คน ใน สรุปผล ได้ดังนี้
1.1 ด้านสภาพบริบท (Context ) มีผลการประเมิน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.50, S.D. = 0.49) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีระดับมากที่สุด คือ โครงการมีหลักการการดำเนินการที่สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2545 และ ฉบับที่ 3 ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2553 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโครงการมีหลักการการดำเนินการที่สอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ นโยบาย พันธกิจ เป้าประสงค์ของโรงเรียน (ค่าเฉลี่ย = 4.75, S.D. = 0.46) รองลงมา มีความเหมาะสมในระดับมากทุกรายการ ตามลำดับ
1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) มีผลการประเมินโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.40, S.D. = 0.53) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีระดับมากที่สุด คือ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานมีความเหมาะสม (ค่าเฉลี่ย = 4.88, S.D. = 0.35) รองลงมา คือ มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ/คอมพิวเตอร์ (ค่าเฉลี่ย = 4.75, S.D. = 0.46) มีการเป็นผู้นำในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและมีความรัก ความเอื้ออาทร และเข้าใจนักเรียน (ค่าเฉลี่ย = 4.63, S.D. = 0.52) รองลงมามีความเหมาะสมในระดับมากทุกรายการตามลำดับ
1.3 ด้านกระบวนการ (Process)
1) ผลการประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของขั้นตอนการดำเนินงานของโครงการโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อรายการ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทุกข้อ ข้อที่มีความเหมาะสมสูงสุด (ค่าเฉลี่ย = 4.39, S.D. = 0.62) คือ ขั้นการดำเนินงานโครงการ (ค่าเฉลี่ย = 4.40, S.D. = 0.53) รองลงมา คือ ขั้นการประเมินผล สรุปผล และรายงาน(ค่าเฉลี่ย = 4.40, S.D. = 0.62) และขั้นเตรียมการโครงการ(ค่าเฉลี่ย = 4.38, S.D. = 0.57) ตามลำดับ
2) ผลการประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสม ของการดำเนินงานของโครงการโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.55, S.D. = 0.53) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีระดับความเหมาะสมสูงสุดในระดับมากที่สุด คือ การคัดกรองนักเรียน (ค่าเฉลี่ย = 4.75, S.D. = 0.41) และการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล จากการเยี่ยมบ้านของนักเรียน (ค่าเฉลี่ย = 4.75, S.D. = 0.44) รองลงมามีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด คือ การส่งต่อนักเรียน (ค่าเฉลี่ย = 4.69, S.D. = 0.47) การศึกษาข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล (ค่าเฉลี่ย = 4.66, S.D. = 0.49) กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน (ค่าเฉลี่ย = 4.59, S.D. = 0.45) กิจกรรมป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด (ค่าเฉลี่ย = 4.56, S.D. = 0.56) การประชุมผู้ปกครองนักเรียน (ค่าเฉลี่ย = 4.53, S.D. = 0.55) กิจกรรมโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (ค่าเฉลี่ย = 4.53, S.D. = 0.57) กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน (ค่าเฉลี่ย = 4.53, S.D. = 0.58) และกิจกรรมอบรมค่ายคุณธรรมจริยธรรม (ค่าเฉลี่ย = 4.53, S.D. = 0.60) ตามลำดับ
1.4 ด้านผลผลิต (Product )
1) ผลการประเมิน ด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพนักเรียน โดยภาพรวม พบว่า มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.61, S.D. = 0.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด คือ นักเรียนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน และสังคม (ค่าเฉลี่ย = 4.75, S.D. = 0.37) รองลงมาคือ นักเรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตและสุขนิสัยที่ดี (ค่าเฉลี่ย = 4.63, S.D. = 0.56) และนักเรียนมีทักษะชีวิตสามารถหลีกเลี่ยง ป้องกันภัยอันตรายและพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ (ค่าเฉลี่ย = 4.58, S.D. = 0.58) ตามลำดับ
2) ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงาน โดยภาพรวม พบว่า ความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.61, S.D. = 0.39) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ การคัดกรองนักเรียน (ค่าเฉลี่ย = 4.91, S.D. = 0.13) รองลงมา คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล (ค่าเฉลี่ย = 4.90, S.D. = 0.23) การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน (ค่าเฉลี่ย = 4.63, S.D. = 0.53) ตามลำดับ
3) ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับบุคลากร โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.60, S.D. = 0.53) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ ผู้บริหารเป็นผู้นำ บริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างเป็นระบบคณะกรรมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือมีความเหมาะสมและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจ มีเจตคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานต่อการปฏิบัติงานระบบดูแลช่วยเหลือเพิ่มขึ้น (ค่าเฉลี่ย = 4.75, S.D. = 0.46) รองลงมา คือ บุคลากรได้รับการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลและมีขวัญกำลังใจที่ดีในการปฏิบัติงาน (ค่าเฉลี่ย = 4.50, S.D. = 0.53) ตามลำดับ
2. ผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียนโรงเรียนบ้านกาดถี จากการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านกาดถี
2.1 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับคุณภาพนักเรียนและการมีส่วนร่วม ในภาพรวมมีความพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.45, S.D. = 0.71) เมื่อได้พิจารณาเป็นรายข้อรายการ พบว่า มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ข้อรายการที่มีระดับความพึงพอใจสูงสุดอยู่ใสระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านส่วนร่วม (ค่าเฉลี่ย = 4.57, S.D. = 0.64) รองลงมา ได้แก่ ด้านคุณภาพนักเรียน จากการที่นักเรียนมีทักษะชีวิต สามารถหลีกเลี่ยงป้องกันภัยอันตราย และพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ (ค่าเฉลี่ย = 4.57, S.D. = 0.66) นักเรียนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน และสังคม (ค่าเฉลี่ย = 4.55, S.D. = 0.58) นอกจากนั้นมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านคุณภาพนักเรียน โดยนักเรียนมีความร่าเริง แจ่มใส มีมนุษยสัมพันธ์ และปรับตัว (ค่าเฉลี่ย=4.40, S.D.=0.72) นักเรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตและสุขนิสัยที่ดี (ค่าเฉลี่ย = 4.31, S.D. = 0.79) และนักเรียนรู้จักตนเองและพึ่งตนเอง (ค่าเฉลี่ย = 4.29, S.D. = 0.84) ตามลำดับ
2.2 สรุปผลของการสอบถามความคิดเห็นด้านการเสนอแนะต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านกาดถี จากการตอบแบบสอบถามปลายเปิด มีดังนี้
1)    ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน
(1) ครูมีภาระงานที่ต้องรับผิดชอบหลายด้านในโรงเรียน และต้องมารับผิดชอบในการกรอกเอกสารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพิ่มภาระงานอีก
(2) การนิเทศติดตามงานอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากผู้บังคับบัญชา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีการปฏิบัติให้อยู่ในระดับที่มากที่สุด
(3) การประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบอย่างทั่วถึงให้มากที่สุด
(4) การรายงานข้อมูลของนักเรียน ผู้ปกครองและครูบางครั้งข้อมูลไม่ตรงกับความเป็นจริง
2)    แนวทางในการแก้ไขปัญหาตามข้อ 1 ควรจะแก้ไขด้วยวิธีการใด
(1) จัดระบบเอกสารในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน ให้ลดการกรอกข้อมูลที่ซ้ำซ้อนและมอบหมายงานในหน้าที่ให้เหมาะสม
(2) จัดทำแผนการนิเทศ ปฏิทินการนิเทศ มีการนิเทศอย่างต่อเนื่องและให้ขวัญและกำลังใจแก้ผู้ที่ปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ
(3) ประสานความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ตรงกัน
(4) ควรจัดค่ายอบรมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมให้กับนักเรียนบ่อยๆ
3)    ข้อเสนอแนะเพื่อให้การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด
(1) การดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
(2) ควรมีการประชุมชี้แจงและสร้างตระหนักให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้แก่ ครู ผู้ปกครอง นักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้รับทราบข้อมูลและแนวทาง การดำเนินงาน
(3) ควรสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานตามระบบอย่างเหมาะสม ทั้งในส่วนของการจัดทำเอกสารต่างๆ รวมทั้งการออกเยี่ยมบ้านนักเรียนอย่างสม่ำเสมอและเป็นกิจกรรมต่อเนื่องในปีต่อไป ในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เพียงพอ
(4) ควรมีการนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ตามระบบอย่างต่อเนื่อง
da 03 ส.ค. 2562 เวลา 23:27 น. 0 522
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^