LASTEST NEWS

05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนหนองไผ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคอมพิวเตอร์ เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลสกลนคร รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคณิตศาสตร์ เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 8 พฤษภาคม พ.ศ.2567

การประเมินโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ

usericon

ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อผู้ประเมิน : นายธงชัย เหมเกียรติกุล ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่รายงาน : 2560

บทคัดย่อ

    การประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อรายงานการประเมินโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) 2) ประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น(Input Evaluation) 3) ประเมินด้านกระบวนการ(Process Evaluation) และ4) ประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ทั้งนี้เพื่อนำผลการประเมินมาเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานตามโครงการ โดยทำการประเมินกับประชากร ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 18 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 13 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 60 คนนักเรียน จำนวน 292 คน รวมทั้งสิ้น 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบสรุปข้อมูล จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ ฉบับ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจตามแนวพระราชดำริ เกี่ยวกับ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ฉบับ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนตามโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจตามแนวพระราชดำริ เกี่ยวกับ ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ฉบับ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนตามโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจตามแนวพระราชดำริ เกี่ยวกับด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต และฉบับ 4 แบบสรุปผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา บรรยายสรุปในเชิงพรรณนา และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
    ผลการประเมิน พบว่า
    1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ ได้แก่ โครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ได้กำหนดหลักการ เหตุผล และวัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายของแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2560 - 2564 รองลงมา ความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์โครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ และโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจตามแนวพระราชดำริ ได้กำหนดหลักการ เหตุผล และวัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
        2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ ได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมรองลงมา คู่มือดำเนินโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจตามแนวพระราชดำริ มีรายละเอียดชัดเจน และความรู้และความเหมาะสมของคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ
        3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการ
     3.1 ในภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดและมาก ได้แก่ โรงเรียนได้มีการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานให้กับผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ รองลงมา บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงาน และโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริมีการวางแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน
     3.2 ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดและมาก ได้แก่ ผู้ปกครองเข้าร่วมประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจในหลักการ วัตถุประสงค์และการดำเนินงานในกิจกรรมของโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ รองลงมา ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินการโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในการดำเนินโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นระหว่างการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ และผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการกำหนดการประเมินผลโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
         3.3 ในภาพรวม นักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ ได้แก่ นักเรียนเข้าร่วมประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจในหลักการ วัตถุประสงค์และ การดำเนินงานในกิจกรรมของโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ รองลงมา นักเรียนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในการดำเนินโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ และนักเรียนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นระหว่างการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ

    4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการ
     4.1 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
     ในภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด และมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ โครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริมีส่วนช่วยให้นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดเห็นหรือพฤติกรรมของนักเรียนไปในทางที่ดีขึ้น รองลงมา โครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริทำให้นักเรียนรู้จักรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม โครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ช่วยพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้แก่ผู้เรียน และโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริทำให้นักเรียนมีวินัยในตนเอง โครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ช่วยเสริมความสามัคคีให้แก่นักเรียน และโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจตามแนวพระราชดำริมีส่วนช่วยให้นักเรียนได้ข้อคิดจากหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
         ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรมพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกกิจกรรม เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ กิจกรรมพัฒนาความรู้และทักษะการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รองลงมา กิจกรรมบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนรู้ และกิจกรรมฐานตามรอยพ่อ พออยู่ พอกิน และพอเพียง
        4.2 ด้านความพึงพอใจต่อผลผลิตของโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
ในภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดและมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เกี่ยวกับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รองลงมา นักเรียนสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในรูปแบบที่หลากหลาย และครูมีความรู้ ความเข้าใจสามารถให้คำปรึกษาและชี้แนะเกี่ยวกับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ โรงเรียนเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลหรือหน่วยงานต่างๆ เกี่ยวกับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดและมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ นักเรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตรงตามนโยบายของโรงเรียน รองลงมา เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจากกิจกรรมต่างๆ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจำวัน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น ครูมีความรู้ ความเข้าใจสามารถให้คำปรึกษาและชี้แนะเกี่ยวกับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและกิจกรรมการเรียน การสอนที่เกี่ยวกับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และโรงเรียนนำแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้บริหารจัดการนับเป็นอีกวิธีหนึ่งในการสืบสานงานพระราชดำริ โรงเรียนเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลหรือหน่วยงานต่างๆ เกี่ยวกับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
        5. ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน พบว่า ในปีการศึกษา 2560 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 94.80 ปีการศึกษา 2561 ภาคเรียนที่ 1 ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 100.00 โดยเพิ่มขึ้นจาก ปีการศึกษา 2560 ร้อยละ 5.20
hemkiatkool 12 ก.พ. 2562 เวลา 13:28 น. 0 611
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^