LASTEST NEWS

05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนหนองไผ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคอมพิวเตอร์ เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลสกลนคร รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคณิตศาสตร์ เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 8 พฤษภาคม พ.ศ.2567

รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องระบบจำนวนเต็ม

usericon

ชื่อผลงาน     รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องระบบจำนวนเต็ม
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้รายงาน     นางสาวเยาวพา สาครเจริญ
สถานที่ทางาน     โรงเรียนบ้านนาเพียงใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2
ปีที่พิมพ์     2561

บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบ
จำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม กลุ่มสาระ
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนบ้านนาเพียงใหญ่ จังหวัดหนองคาย จำนวน 22 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน 40 ข้อ ที่ค่าความยากง่าย (P) อยู่ระหว่าง 0.37 – 0.71 อำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.42 – 0.80 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.912 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบ จำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t-test
จากผลการพัฒนา พบว่า
1.    แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าประสิทธิภาพ 83.68/82.73 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2.    ค่าดัชนีประสิทธิผล ( E.I.) ของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.6481 ซึ่งหมายความว่า นักเรียน
มีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.81
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนที่เรียนโดยการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52) โดยข้อที่มีระดับความพึงพอใจสูงสุด คือ การเรียนคณิตศาสตร์ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ทำให้นักเรียนสนุกและอยากเรียน ( = 4.67)




























กิตติกรรมประกาศ

รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จัดทำขึ้นเพื่อจะนำผลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมาพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ และส่งผลต่อการเรียนของผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้น
ขอขอบพระคุณ นายพัชระ งามชัด ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนหมู่บ้านตัวอย่าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 ที่กรุณาเสียสละเวลาส่วนตัว ในการตรวจพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะด้านหลักสูตรและด้านเนื้อหาทำให้แบบฝึกทักษะมีความถูกต้อง มีกิจกรรม ที่หลากหลาย น่าสนใจ ขอขอบคุณ นางอรอุมา บวรศักดิ์ ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคายเขต 2 ที่คอยให้คำปรึกษา ตรวจสอบด้านเนื้อหาในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตลอดจนการออกแบบกิจกรรมให้เป็นไปตามหลักวิชาคณิตศาสตร์ทำให้แบบฝึกทักษะมี ความน่าสนใจ ขอขอบคุณ นางสาวพรทิพา หล้าศักดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ที่คอยให้กำลังใจส่งเสริมสนับสนุนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับเนื้อหาและหลักสูตรคณิตศาสตร์ให้มีความเหมาะสมกับระดับชั้น ขอขอบคุณ นางสาวมลฤดี วันศิริ ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเฝ้าไร่วิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 ที่คอยตรวจสอบด้านการใช้ภาษาและเนื้อหาคณิตศาสตร์และคอยชี้แนะข้อบกพร่องและแนวทาง แก้ไขและนอกจากนี้ยังขอขอบคุณ นางภควดี บูชาทิพย์ ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนหมู่บ้านตัวอย่าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 ที่กรุณาอุทิศเวลา ให้คำแนะนำปรึกษาแนวทางการสร้างแบบทดสอบ เทคนิคการเขียนข้อสอบ และการวิเคราะห์ข้อมูล จนทำให้ผู้รายงานดำเนินงานครั้งนี้สำเร็จสมบูรณ์ ผู้รายงานรู้สึกซาบซึ้งในน้ำใจเป็นอย่างยิ่ง
ขอขอบพระคุณ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนาเพียงใหญ่ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 ที่กรุณาอำนวยความสะดวก ในการพัฒนาผลงานในครั้งนี้ ขอขอบคุณที่ช่วยส่งเสริม สนับสนุน ให้กำลังใจ กำกับติดตามและดูแลอย่างใกล้ชิดเสมอมา ขอขอบคุณคณะครูโรงเรียนบ้านนาเพียงใหญ่ทุกคนที่เป็นกำลังใจคอยให้คำปรึกษาแนะนำและช่วยเหลือทุกสิ่งทุกประการ ทำให้ผู้รายงานมีกำลังใจ ในการพัฒนาผลงานจนสำเร็จลุล่วงด้วยดี
คุณค่าและคุณประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาผลงานในครั้งนี้ ผู้รายงานขอมอบ เป็นเครื่องสักการะบูชาแด่คุณบิดามารดา ครูอาจารย์ และผู้มีพระคุณทุกท่าน


                            เยาวพา สาครเจริญ

สารบัญ
        หน้า
บทที่ 1 บทนำ    1
    ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา    1
    วัตถุประสงค์การศึกษา    5
    สมมติฐานการศึกษา    6
    ขอบเขตการการศึกษา    6
    นิยามศัพท์เฉพาะ    7
    ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ    9
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง    10
    หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์    
10
    การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์    20
    หลักการ แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับแบบฝึกทักษะ    34
    ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน    47
    การหาประสิทธิภาพ    54
    ดัชนีประสิทธิผล    56
    แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ    57
    งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง    61
บทที่ 3 วิธีการดำเนินการศึกษา    68
    ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง    68
    เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา    68
    เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา    69
    การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ    69
    วิธีดำเนินการศึกษา    78
    การเก็บรวบรวมข้อมูล    79
    การวิเคราะห์ข้อมูล    80
    สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล    81
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล    85
    สัญลักษณ์ที่ใช้ในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล    85
    ลำดับขั้นตอนในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล    85
    ผลการวิเคราะห์ข้อมูล    86
สารบัญ(ต่อ)
        หน้า
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ    93
    วัตถุประสงค์การศึกษา    93
    สมมติฐานการศึกษา    93
    วิธีดำเนินการศึกษา    94
    สรุปผลการศึกษา    95
    การอภิปรายผล    96
    ข้อเสนอแนะ    102
บรรณานุกรม    103
ภาคผนวก     1123
    ภาคผนวก ก แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1    113
    ภาคผนวก ข การหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจ
จำแนก และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1    

121
    ภาคผนวก ค แบบประเมินแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และผลการ
ประเมินของผู้เชี่ยวชาญ     

126
    ภาคผนวก ง แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก
ทักษะคณิตศาสตร์และ ผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้อง
เชิงเนื้อหา (IOC) และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความพึงพอใจ    

131
    ภาคผนวก จ การวิเคราะห์ประสิทธิภาพกระบวนการและผลลัพธ์ (E1/E2 )
กลุ่มเดี่ยว กลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่    
137
    ภาคผนวก ฉ ผลการใช้และการวิเคราะห์ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบ
จำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ประสิทธิภาพกระบวนการและผลลัพธ์ (E1/E2 ) กลุ่มตัวอย่าง    

142
    ภาคผนวก ช การหาค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
    

146


สารบัญ(ต่อ)
        หน้า
    ภาคผนวก ซ การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อทดสอบ
ความมีนัยสำคัญ    
149
    ภาคผนวก ฌ ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ แบบฝึกเสริมทักษะ    151
    ภาคผนวก ญ หนังสือแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบผลงานทางวิชาการ
หนังสือเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ     
198
ประวัติย่อผู้รายงาน    238
























สารบัญตาราง
ตารางที่        หน้า
1    การวิเคราะห์เนื้อหา จุดประสงค์การเรียนรู้ และข้อสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1    
74
2    แสดงแบบแผนการศึกษาแบบ One Group Pre-test Post-test Design    78
3    แสดงการจัดวันเวลาในการศึกษา    79
4    แสดงประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1    
86
5    แสดงค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1    
88
6    แสดงประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1    
89
7    ดัชนีประสิทธิผล (E.I.) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง (N=22)    
90
8
    ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1     

90
9
    ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความพึงพอใจของนักเรียนมีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1    
91
10    แสดงความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (IOC) ต่อแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1    
122
11    ค่าความยากง่าย (P) ค่าอำนาจจำแนก (r) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1    
124
12    คะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1    

129
13    ผลการประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์ที่ต้องการวัดของ
แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1    


135
        
    สารบัญตาราง (ต่อ)    
ตารางที่    หน้า
14    ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพกระบวนการและผลลัพธ์ (E1/E2) ของแบบฝึกทักษะ
คณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One - to - One testing)    

138
15    ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพกระบวนการและผลลัพธ์ (E1/E2) แบบฝึกทักษะ
คณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบกลุ่มเล็ก (Small Group testing)     

139
16    ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพกระบวนการและผลลัพธ์ (E1/E2) แบบฝึกทักษะ
คณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบกลุ่มใหญ่ ภาคสนาม ( Field testing )     

140
17    ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (กลุ่มตัวอย่าง)    

143
18    การหาประสิทธิภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (E2)
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (กลุ่มตัวอย่าง)    

145
19    ผลวิเคราะห์หาค่าดัชนีประสิทธิผล ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ก่อนเรียนและหลังเรียนของคะแนนการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
    

147












สารบัญภาพ
ภาพที่         หน้า
1    รูปแบบขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน    31
2    ขั้นตอนการสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ    73
3    ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน    76
        
        
        
        
        
        
        
        
        
        
        
        
        
        
        
        

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^