LASTEST NEWS

04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนหนองไผ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคอมพิวเตอร์ เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลสกลนคร รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคณิตศาสตร์ เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 8 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567สพม.ชลบุรี ระยอง ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

การศึกษาไทยที่ยังก้าวไปไม่ถึงประชาคมอาเซียน

  • 19 ก.ย. 2556 เวลา 12:32 น.
  • 2,505
การศึกษาไทยที่ยังก้าวไปไม่ถึงประชาคมอาเซียน

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

การศึกษาไทยที่ยังก้าวไปไม่ถึงประชาคมอาเซียน
 
ธันวาคม 2558 คือกำหนดการที่สมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations: ASEAN) ทั้งสิบประเทศ พร้อมใจกันก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community: AC) ที่หลายสิ่งหลายอย่างจะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขที่สมาชิกตกลงกันไว้ ทั้งด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคมและวัฒนธรรม
 
ท่ามกลางการเตรียมความพร้อมที่มีการปลุกเร้ากันวันนี้ สิ่งที่ได้ยินและได้เห็นเป็นประจำ มักเป็นเรื่องของการแข่งขันในทางเศรษฐกิจที่จะทำให้คนในชาติได้เปรียบ และเพื่อประโยชน์ชาติเป็นหลัก ประการสำคัญ การศึกษาก็ยังมาทางเดียวกันอีก คือปลูกฝังเยาวชนให้เรียนรู้เพื่อนบ้านในฐานะคู่แข่งขัน และให้มองจุดอ่อนของเขาเพื่อสร้างความได้เปรียบของเรา ทั้ง ๆ ที่วันนี้ วันที่ยังไม่เป็นประชาคมอาเซียน ไทยก็มีเรื่องราวขัดแย้งกับเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะชาติที่ใช้รั้วบ้านร่วมกันหลายอย่าง แล้วเมื่อเป็นประชาคมอาเซียน จะไม่แย่หนักไปกว่านี้หรือ  เพราะตรงกันข้ามกับหลักการประชาคมฯ ตั้งแต่ ‘เสาแห่งความมั่นคง’ ต้นแรกที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ แล้ว ‘เสาเศรษฐกิจ’ และ ‘เสาสังคมและวัฒนธรรม’ จะไปค้ำให้อยู่รอดได้อย่างไร
 
ดร. พิสิษฐ์ วรอุไร ประธานคณะที่ปรึกษาประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี บอกเล่าถึงความรู้สึกที่เคว้งคว้างเมื่อมองอนาคตของอาเซียน “ถ้าเรายังไม่ปรับความคิด ปรับทัศนคติเสียใหม่ อาเซียนก็คงไปไม่รอด เราต้องคิดว่าวัตถุประสงค์ของประชาคมอาเซียนคือการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ร่มเย็น และเป็นปกติสุข ไม่ใช่การแข่งขัน ชิงดีชิงเด่นกัน เพราะถ้าแต่ละประเทศมุ่งแต่จะแสวงหาผลประโยชน์ ความขัดแย้งก็จะเกิดขึ้นไม่รู้จักจบสิ้น กระบวนการจัดการเรียนการสอนจึงมีผลกระทบต่อความคิดและทัศนคติของเด็กด้วย”
 
พร้อมกันนี้ ดร. พิสิษฐ์ ได้ตั้งโจทย์หลักฝากครู อาจารย์ และผู้บริหารการศึกษาว่าจะสร้างเด็กอย่างไรให้เป็นคนเก่ง มีความรู้ และคำนึงถึงผลประโยชน์ของคนหมู่มากเป็นสำคัญ “ซึ่งในอนาคต เราคงจะไม่ได้คำถึงถึงผลประโยชน์ของคนในประเทศเท่านั้น แต่เราต้องมองเห็นผลประโยชน์ของคนในประชาคมอาเซียนด้วย แต่ถ้าเรายังไม่คิดถึงประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ในสังคมเล็ก ๆ แล้ว นับประสาอะไรกับประเทศชาติและภูมิภาคอาเซียน”
 
นี่คือเรื่องท้าทายผู้เป็นครู อาจารย์ และผู้บริหารการศึกษา อนาคตไทยในประชาคมอาเซียนจะเป็นอย่างไร บริบทสำคัญคือการศึกษา คือวิชาความรู้ที่จำเป็นต่อการสร้างความเข้าใจ และสามารถสื่อสารได้ คือการปลูกฝังให้เด็กมีน้ำใจและรู้จักเสียสละ แต่เหนือสิ่งอื่นใด เราจะต้องสร้างฐานะทางครอบครัวของประชาชนในประเทศเราให้ดีควบคู่กันไปด้วย เพราะถ้าคุณภาพชีวิตของครอบครัวเด็กไม่ดี เด็กก็จะไม่ได้รับการศึกษาอย่างเต็มที่ หรือไม่ก็อาจไม่ได้เรียนหนังสือ เพราะต้องทำงานแลกกับเงินเพื่อหาเลี้ยงปากท้องตนเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ วงจรอุบาทว์ก็จะเกิดขึ้น เราจะไม่มีทางแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตของคนในประเทศได้ ถ้ายังมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป
 
          คำถามก็คือ ทุกวันนี้เราให้ความสำคัญเรื่องการศึกษาเพียงพอแล้วหรือยัง ตราบใดที่การศึกษาของเยาวชนไทยยังรั้งท้ายในอันดับที่แปดของสิบชาติ (World Economic Forum: WEF) ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ไม่ว่าเรื่องปากท้อง ปัญหาอาชญากรรม ความขัดแย้ง การทุจริต คอรัปชั่น ก็ยากที่จะลดน้อยลง และจะไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการเป็นประชาคมอาเซียนได้ ส่วนหนึ่งของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น มาจากความไม่รู้ หรือรู้เพียงผิวเผินเท่านั้น การสร้างความร่วมมือของประชากรในแต่ละประเทศ จำเป็นต้องก้าวข้ามอคติและความเห็นแก่ตัวให้ได้ เพราะหลักนิยมประชาคมอาเซียน คือการสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สร้างเสถียรภาพทางการเมือง ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
 
คำนิยามสำหรับ ‘ผู้มีการศึกษา’ จึงไม่ใช่ใบปริญญาที่แสดงการเป็น ‘ผู้มีความรู้’ เพียงอย่างเดียว ยังต้องเป็น ‘ผู้มีความคิด’ ที่รู้จักคิดถึงประโยชน์ส่วนรวม และเป็น ‘ผู้มีปัญญา’ ที่รู้จักใช้ปัญญาทำในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่แสวงหาผลประโยชน์ในทางที่มิชอบ ซึ่งไม่ใช่อย่างที่เห็น ๆ กันในปัจจุบันว่า ผู้มีใบปริญญาใช้วิชาความรู้เพื่อเอาเปรียบคนยากจน และเป็นผู้ก่อปัญหาเสียเอง!
 
สมจิตร์ พูลสุข
 
 
  • 19 ก.ย. 2556 เวลา 12:32 น.
  • 2,505

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : การศึกษาไทยที่ยังก้าวไปไม่ถึงประชาคมอาเซียน

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^