LASTEST NEWS

18 พ.ค. 2567สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครพนักงานราชการ 12 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ “ครู-นร.” เฮ! สพฐ.กำชับทุกโรงเรียน “ลดการบ้าน” 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ สพฐ.กำชับโรงเรียน “ลดการบ้าน-ลดประเมิน” สร้างความสุขนักเรียน-ครู 17 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด !! รมว.ศธ. แจ้งหัวหน้าส่วนราชการ ผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียน 16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน” 16 พ.ค. 2567“สิริพงศ์” แจงวิชาลูกเสือมีความทันสมัย แต่ขาดการสร้างความรับรู้ 15 พ.ค. 2567ท้องถิ่น เตรียมจัดสอบ 92 ตำแหน่ง รวม 6,262 อัตรา - ครูผู้ช่วย 29 วิชาเอก 1,157 อัตรา

ศธ.สั่งวิเคราะห์การศึกษาไทยรั้งท้าย'ชินภัทร'ชี้ 3 จุดอ่อน'ครู-นร.-อาชีวะ'

  • 05 ก.ย. 2556 เวลา 11:14 น.
  • 2,833
ศธ.สั่งวิเคราะห์การศึกษาไทยรั้งท้าย'ชินภัทร'ชี้ 3 จุดอ่อน'ครู-นร.-อาชีวะ'

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ศธ.สั่งวิเคราะห์การศึกษาไทยรั้งท้าย'ชินภัทร'ชี้ 3 จุดอ่อน'ครู-นร.-อาชีวะ'

 รับการศึกษาไทยมีปัญหาสั่ง กพฐ.เร่งวิเคราะห์ผลประเมินก่อนลุยแก้ไข ย้ำหลักสูตรต้องดี คุณภาพผู้สอนต้องเยี่ยม "ชินภัทร" ระบุผลการจัดอันดับเน้นความคุ้มค่า พบไทยลงทุนสูง แต่ผลสัมฤทธิ์ต่ำ สาเหตุมาจาก 3 จุดอ่อน "ครู" ไม่มีคุณภาพ "นักเรียน" ไม่มีทักษะ ขณะที่ "อาชีวะ" มีผู้เรียนน้อยเกินไป นักวิชาการฉะการศึกษาไทยตายซาก รมต.เปลี่ยนบ่อย นโยบายเปลี่ยนตาม
 
           รัฐมนตรีและผู้บริหารระดับสูงที่รับผิดชอบงานด้านการศึกษา ออกมายอมรับผลการจัดอันดับคุณภาพการศึกษาไทยของ World Economic Forum หรือ WEF ประจำปี 2013 ที่ระบุว่าคุณภาพการศึกษาของไทยอยู่ในอันดับ 8 ของภูมิภาคอาเซียน เป็นรองทั้งประเทศเวียดนามและกัมพูชา พร้อมเร่งนำจุดอ่อนของการจัดการศึกษามาแก้ไข
 
           นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า แม้ผลประเมินอาจจะไม่ตรง 100% ว่าประเทศไทยอยู่อันดับตามที่ระบุจริงหรือ แต่อย่างน้อยก็บอกได้ว่าการศึกษาไทยมีปัญหาเยอะ และทุกฝ่ายต้องช่วยกันทำอย่างเต็มที่ การยกระดับคุณภาพการศึกษามีปัจจัยสำคัญอยู่ 2 ส่วน คือ หลักสูตรและคุณภาพผู้สอน
 
           ทั้งนี้ ถ้าหลักสูตรดี คุณภาพผู้สอนดี รู้ว่าจะสอนอะไร สอนอย่างไร ก็จะทำให้การระบบการศึกษาดีขึ้นไปด้วย จึงขอให้เน้นความสำคัญของ 2 จุดนี้ เชื่อว่าจะสามารถไล่ตามและแซงหน้าประเทศต่างๆ ได้หลายประเทศ
 
สั่ง กพฐ.วิเคราะห์ผลประเมิน
          นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า จะให้ ศธ.ไปหาข้อมูลว่าหน่วยงานใดเป็นผู้จัดอันดับ และยึดหลักเกณฑ์ใดในการประเมิน อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการสะท้อนปัญหาก็คงต้องรับฟัง อะไรที่เป็นจุดอ่อนก็จะได้แก้ไข ถือว่าเป็นการช่วยให้ได้มีการพัฒนา เพื่อให้เด็กไทยดีและสมบูรณ์ที่สุด 
 
          ส่วนกรณีที่รายงานฉบับดังกล่าวระบุว่าการให้เงินเดือนครูในอัตราสูง ไม่สามารถทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนดีขึ้นนั้น นายเสริมศักดิ์ กล่าวว่า การเพิ่มเงินเดือนให้ครูเป็นการให้ขวัญกำลังใจ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากครูมีขวัญกำลังใจดีก็จะอุทิศเวลาและอุทิศตนให้กับการสอน ดังนั้นโดยหลักการแล้วการขึ้นเงินเดือนครูจึงน่าจะมีผลดีต่อการเรียนการสอนด้วย แต่อาจต้องมีปัจจัยอื่นประกอบ ซึ่งก็ต้องมาแก้ไข ทั้งเรื่องหลักสูตร อุปกรณ์การเรียนการสอน ความพร้อมของเด็ก สถานที่เรียน สภาพแวดล้อม และส่วนหนึ่งก็คือความพร้อมของครู 
 
          "ผมจะขอให้เลขาธิการ กพฐ. (นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) มาช่วยวิเคราะห์ วิจัยผลการประเมิน เพื่อจะได้ร่วมกันหาทางแก้ไขต่อไป" รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ระบุ 
 
          ส่วนที่ผลคะแนน PISA ชี้ว่าเด็กไทยคิดไม่เป็นนั้น นายเสริมศักดิ์ กล่าวว่า อยากให้ดูผลงานของเด็กที่นำไปโชว์ในงานเมืองหัตถศิลป์ ถิ่นโภชนา ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 -6 ก.ย.ที่ริมคลองผดุงกรุงเกษม ข้าง ศธ. จะเห็นได้ว่าเด็กไทยคิดเป็น ทำเป็น ขายเป็น
"ชินภัทร" ชี้ 3 จุดอ่อน "ครู-นร.-อาชีวะ"
 
          ด้าน นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า โดยส่วนตัวเข้าใจว่ารายงานของ WEF จะวิเคราะห์ระบบการศึกษาของแต่ละประเทศในฐานะของการผลิตกำลังคนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาเศรษฐกิจ มองการศึกษาว่าเป็นการลงทุนอย่างหนึ่งเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้นอาจมีการเปรียบเทียบเม็ดเงินที่ใช้ลงทุนด้านการศึกษาและผลที่ได้รับกลับมา ซึ่งประเทศไทยมีสัดส่วนการลงทุนด้านการศึกษาต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือ จีดีพี สูงแต่ได้ผลตอบแทนต่ำ จึงทำให้อันดับอยู่ต่ำกว่าประเทศอื่นซึ่งลงทุนต่อจีดีพีต่ำกว่า แต่ได้คุณภาพสูงกว่า
 
          นายชินภัทร กล่าวต่อว่า การจัดอันดับของ WEF จะมอง 3 ส่วนหลัก ประเด็นแรก คือ คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งมีปัจจัยสำคัญในการชี้วัดความสำเร็จคือคุณภาพและสมรรถนะของครู ในส่วนของประเทศไทยมีการลงทุนเกี่ยวกับบุคลากรสูง โดยเฉพาะเงินเดือนครู แต่ไม่สัมพันธ์กับคุณภาพการศึกษาที่ได้รับกลับคืน ซึ่งตรงนี้สอดคล้องกับผลวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) อยู่แล้ว และเป็นประเด็นที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญ มีนโยบายเพิ่มคุณภาพและสมรรถนะของครู รวมทั้งปรับระบบการประเมินครูให้เป็นการประเมินที่สัมพันธ์กับคุณภาพของผู้เรียน และประเมินจากผลการสอนจริง
 
          ประเด็นที่ 2 น่าจะดูจากทักษะของนักเรียน โดยให้ความสำคัญกับทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยหลักประกอบด้วย 3 สมรรถนะหลัก คือ สมรรถนะทางด้านการคิด สมรรถนะทางด้านภาษา และสมรรถนะทางด้านไอซีที 
          ประเด็นที่ 3 ประเมินจากอัตรากำลังคนทางด้านอาชีวะ ซึ่งเป็นกำลังคนที่สำคัญมากในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ แต่ผู้เรียนสายอาชีวะของไทยยังมีจำนวนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ขณะที่คุณลักษณะของผู้เรียนสายอาชีพก็ยังไม่ถึงระดับอินเตอร์เนชันแนล เพราะฉะนั้นจุดบกพร่องทั้ง 3 เรื่องนี้ของไทย โดยเฉพาะในเรื่องอัตรากำลังคนในสายอาชีวะ จะมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ สพฐ.นำไปศึกษาเพื่อหาทางแก้ไขต่อไป
พัฒนาไม่ต่อเนื่อง-เปลี่ยน รมต.บ่อย
 
          นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ข้อมูลของ WEF มีความน่าเชื่อถือระดับหนึ่งอยู่แล้ว และจากข้อมูลนี้ น่าจะทำให้ประเทศไทยเกิดความตื่นตัวว่าทำไมการจัดการศึกษาของไทยจึงแพ้กัมพูชา
 
          "ปัญหาของบ้านเรายังย่ำอยู่ที่เดิมเหมือนติดหล่ม เช่น ตอนนี้เรามีปัญหาเด็ก 1.6 ล้านคนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นปัญหาเดิมที่เราพยายามแก้มาเมื่อ 20 ปีที่แล้ว แสดงให้เห็นว่ากลไกทางด้านการศึกษาของเราตายซาก นโยบายเปลี่ยนบ่อย ตัวรัฐมนตรีก็เปลี่ยนบ่อย ขณะที่นโยบายด้านการศึกษาของประเทศเพื่อนบ้านมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีเป้าหมายอยู่ที่เด็กและเยาวชน ซึ่งหากจะแก้ปัญหาเรื่องนี้ รัฐบาลต้องดูแลเรื่องปัญหาเยาวชนให้มากขึ้น รวมถึงอาจจะต้องมีการกำหนดไว้ในกฎหมายเพื่อให้เป็นการบังคับไปในตัว โดยไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไหนเข้ามาจะต้องเดินหน้าพัฒนาการศึกษาให้เกิดความต่อเนื่อง" 
 
 
  • 05 ก.ย. 2556 เวลา 11:14 น.
  • 2,833

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ศธ.สั่งวิเคราะห์การศึกษาไทยรั้งท้าย'ชินภัทร'ชี้ 3 จุดอ่อน'ครู-นร.-อาชีวะ'

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^