LASTEST NEWS

18 พ.ค. 2567สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครพนักงานราชการ 12 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ “ครู-นร.” เฮ! สพฐ.กำชับทุกโรงเรียน “ลดการบ้าน” 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ สพฐ.กำชับโรงเรียน “ลดการบ้าน-ลดประเมิน” สร้างความสุขนักเรียน-ครู 17 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด !! รมว.ศธ. แจ้งหัวหน้าส่วนราชการ ผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียน 16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน” 16 พ.ค. 2567“สิริพงศ์” แจงวิชาลูกเสือมีความทันสมัย แต่ขาดการสร้างความรับรู้ 15 พ.ค. 2567ท้องถิ่น เตรียมจัดสอบ 92 ตำแหน่ง รวม 6,262 อัตรา - ครูผู้ช่วย 29 วิชาเอก 1,157 อัตรา

คุณภาพการศึกษาของไทย

  • 05 ก.ย. 2556 เวลา 10:57 น.
  • 1,635
คุณภาพการศึกษาของไทย

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

คุณภาพการศึกษาของไทย
 
เป็นข้อมูลที่น่าตกใจอย่างยิ่ง เมื่อได้ทราบข้อมูลจากรายงานการประชุมเวทีเศรษฐกิจโลก “เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรั่ม” ที่จัดอันดับคุณภาพการศึกษาของไทยในกลุ่มประเทศอาเซียนอยู่ในอันดับที่ 8 ขณะที่กัมพูชา อันดับ 6 และเวียดนาม อันดับ 7 โดยผลการจัดอันดับนี้ระบุว่า เงินไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศมีระบบการศึกษาที่ดี และการที่ครูอาจารย์มีเงินเดือนสูงก็ไม่ได้มีผลทำให้ความสามารถในการสอนสูงตามไปด้วย แม้นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ จะให้ความสนใจ สั่งการให้ผู้เกี่ยวข้องทำการวิเคราะห์ที่มาที่ไปของข้อมูลว่าน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด แต่สำหรับประชาชนทั่วไปแค่รับฟังข่าวสารไม่ต้องตรวจสอบเชิงลึกก็ปักใจเชื่อว่า “จริง”
 
ส่วนนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี อดีต รมว.ศึกษาธิการ ยอมรับว่า ระบบการศึกษาของไทยมีปัญหามากมาย ทุกฝ่ายต้องช่วยกันทำอย่างเต็มที่ การยกระดับคุณภาพการศึกษาขึ้นอยู่กับหลักสูตรและคุณภาพผู้สอน หาก 2 ส่วนนี้ดี เชื่อว่าจะไล่ตามและแซงประเทศต่าง ๆ ได้ กระนั้นคงมิอาจปฏิเสธว่า ปัจจัยที่ทำให้คุณภาพการศึกษาถูกยกระดับขึ้นมาได้ มิใช่มีเพียง 2 ส่วนนี้ ยังมีปัจจัยอื่นด้วย ไม่ว่าพ่อแม่ผู้ปกครอง เด็กนักเรียน เจ้าของสถานศึกษา สภาพแวดล้อมต่าง ๆ รวมถึงนักการเมืองและพรรคการเมืองที่เป็นผู้กำหนดทิศทางและนโยบายให้ข้าราชการปฏิบัติตาม
 
กว่า 10 ปีแล้วที่เราได้ยินเรื่อง “ปฏิรูปการศึกษา” โดยแต่ละภาคส่วนที่เกี่ยวข้องล้วนได้รับโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมกับการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง พัฒนา “การเรียนการสอน” หลายเรื่องหลากวิธีการในอดีตได้ถูกยกเลิก แล้วนำวิธีการใหม่เข้ามาทดแทนตามกระแส “คิดใหม่ ทำใหม่” โดยนักการศึกษาระดับเกจิ บางส่วนก็มีการลอกเลียนแบบระบบการศึกษาของต่างประเทศที่เห็นว่าดีเลิศของประเทศนั้น ๆ มาใช้ในประเทศไทย จะเห็นว่า โดยภาพรวมของ “ปฏิรูปการศึกษา” มีทั้งที่ประสบความสำเร็จและที่ล้มเหลวต้องกลับไปนับหนึ่งใหม่ แต่นั่นคงไม่สำคัญเท่ากับความนิ่งและความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบายการศึกษา
 
พร้อม ๆ กับการเกิดคำฮิต “ปฏิรูปการศึกษา”เราได้เห็นนักการเมืองมากหน้าหลายตาจากต่างพรรคการเมืองและพรรคการเมืองเดียวกัน สลับผลัดเปลี่ยนมานั่งเป็นเจ้ากระทรวง เฉพาะรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์” แค่ 2 ปี มีแล้ว 4 คน ขณะเดียวกันกระทรวงนี้ได้ถูกยกฐานะจากเดิมเกรดซีเป็นเกรดเอ ด้วยการจัดสรรทุ่มเทงบประมาณมากเป็นอันดับต้น ๆ เพื่อพัฒนาระบบการศึกษาให้เจริญก้าวหน้า แต่ผลที่ได้กลับเหมือนการพายเรือวนอยู่ในอ่าง ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยมีผู้มากความรู้ความสามารถ “กูรูการศึกษา” อย่างล้นหลาม เพราะวันนี้เรามี “นักพูด” มากกว่า “นักปฏิบัติ”.
 
 
  • 05 ก.ย. 2556 เวลา 10:57 น.
  • 1,635

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : คุณภาพการศึกษาของไทย

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^