LASTEST NEWS

04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนหนองไผ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคอมพิวเตอร์ เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลสกลนคร รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคณิตศาสตร์ เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 8 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567สพม.ชลบุรี ระยอง ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

จุฬาฯ ห่วง เปิดช่องไร้ตั๋วสอบบรรจุครู มีผลต่อเด็กเลือกเรียนต่อมหาวิทยาลัย

  • 24 มี.ค. 2560 เวลา 12:34 น.
  • 15,469
จุฬาฯ ห่วง เปิดช่องไร้ตั๋วสอบบรรจุครู มีผลต่อเด็กเลือกเรียนต่อมหาวิทยาลัย

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

จุฬาฯ ห่วง เปิดช่องไร้ตั๋วสอบบรรจุครู มีผลต่อเด็กเลือกเรียนต่อมหาวิทยาลัย

ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวตอนหนึ่งในการเสวนา "มุมมองเชิงวิชาการต่อการเปิดโอกาสให้ผู้ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูสอบบรรจุครูได้" จัดคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า 2 สัปดาห์ก่อนหน้านี้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปรารภในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีว่าอยากให้ฟื้นกรมการฝึกหัดครูขึ้นมาทำให้เบาใจว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับวิชาชีพครู แต่เมื่อมีมติ ก.ค.ศ.ที่เปิดให้สหวิชาชีพอื่นๆมาสอบแข่งขันเป็นครูผู้ช่วยได้ก็เป็นความขัดแย้งเชิงนโยบายอย่างพิลึก


ประเด็นคุณภาพการศึกษาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ทั้งคะแนนทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต ตกต่ำ หรือแม้แต่คะแนนการทดสอบนักเรียนนานาชาติ หรือ พิซา ที่ตามหลังประเทศอื่นๆ ต้องยอมรับว่าการศึกษาไทยเข้าขั้นไอซียูทั้งประเทศ อยู่ในภาวะไฟลนก้นต้องพยายามทำทุกอย่างให้คุณภาพการศึกษาดีขึ้น ซึ่งวิธีการของคณะครุฯ/ศึกษาศาสตร์ จึงเน้นที่กระบวนการสร้างการเรียนรู้ ให้เด็กได้เผชิญปัญหา แก้ไขโจทย์ต่างๆได้

"ปัญหาคุณภาพการศึกษาไทยเราวิเคราะห์โรคถูกแต่ฉีดยาผิด ทำให้เรากำลังก้าวเข้าสู่ความผิดพลาด การให้คนเก่งๆรู้เนื้อหามากๆมาสอนหนังสือ มันไม่มีเสน่ห์ เหมือนสากเบือ ไม่มีชีวิตชีวา ไม่รู้ว่าต้องนำเด็กเข้าบทเรียนอย่างไร สอนอย่างไรให้เด็กสนใจ ซึ่งจุดต่างของวิชาชีพครูกับวิชาชีพอื่นๆคือ เรามีต้นทุนทางวิชาชีพ มีการวัดแววความเป็นครู เด็กที่เรียนมาด้วยความตั้งใจ มีแรงบันดาลใจที่จะเป็นครู อีกทั้งการเรียนครู มีปรัชญา ศาสตร์ องค์ความรู้เฉพาะ เช่นการออกแบบหลักสูตร การจัดการเด็กที่มีปัญหา การวัดประเมินผลที่สอดแทรกให้กับนิสิต นักศึกษาตลอดการเรียนตั้งแต่ปี 1-5 เช่นเดียวกับการสร้างจรรยาบรรณวิชาชีพ 

อย่างไรก็ตาม เวลานี้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เหมือนถูกย่ำยีมาก ถูกมองข้ามความสำคัญ ขณะที่คุรุสภาที่เป็นองค์กรวิชาชีพครูกลับนิ่งเฉย ซึ่งน่าจะต้องพิจารณาบทบาทตัวเองด้วย ถ้าเราไม่ลุกขึ้นมาสู้คราวนี้ก็จะเป็นจุดด่างของวิชาชีพครู ที่ปล่อยให้วิชาชีพอื่นมาแย่งงาน"ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว

ด้าน ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า กระบวนการทำนโยบายนี้ทำโดยผู้มีอำนาจ แต่ขาดการมีส่วนร่วมและขาดความรู้ ซึ่งปัญหาของชาติที่ไม่ใช่แค่เรื่องการสอบครูผู้ช่วย แต่เป็นปัญหาเชิงระบบคือ ครูไทยมีภาระการงานอื่นที่ต้องรับผิดชอบ นอกเหนือจากการสอนมากถึง 30-40% ขณะที่ทั่วโลกมีแค่ 20% การพัฒนาครูไม่ตรงจุด ที่ล่าสุดให้มีคูปองพัฒนาครู 10,000 บาทไปอบรมหลักสูตรต่างๆ แต่กลับให้เวลาในการพัฒนาหลักสูตรน้อย สุดท้ายก็ได้เข้ารับการอบรมในหลักสูตรเดิมๆ แถมที่ผ่านมาการเสนอผลงานเพื่อขอมีวิทยฐานะ ก็มีการจ้างคนทำผลงานวิชาการให้

"มติที่ออกมาจะมีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนระดับอุดมศึกษาของเด็ก ว่าถ้าต้องการเป็นครูยังต้องเรียนคณะครุฯ/ศึกษาฯที่ใช้เวลาเรียน 5 ปีหรือเรียคณะอื่นๆใช้เวลาแค่ 4 ปีก็เป็นครูได้เช่น เพียงแค่ไปเข้ารับการอบรมตามที่คุรุสภากำหนดและไปขอใบอนุญาตฯในภาพหลัง ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าเป็นการแก้ปัญหาผิดจุด และสร้างปัญหาที่ใหญ่ ซึ่งอาจจะกระทบกับเด็กทั้งประเทศ ซึ่งรัฐบาลชุดนี้เปลี่ยนรมว.ศึกษาธิการมา 3 คนแต่ละคนก็มีนโยบายตนเอง ทำให้ขาดความต่อเนื่อง ถ้ารัฐบาลต้องการนำพาประเทศไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ก็อยากเรียกร้องให้รัฐบาลให้ความสำคัญและใส่ใจเรื่องการศึกษา อย่างไรก็ตาม การออกมาพูดครั้งนี้ไม่ได้ปิดกั้นวิชาชีพอื่นๆ แต่พูดกันด้วยเหตุและผล ไม่ใช้อารมณ์ และเพื่อปกป้องวิชาชีพครู ขณะเดียวกันก็จะร่วมกันดูแลวิชาชีพครูให้เข้มแข็ง"ดร.อมรวิชช์ ระบุ

  ขณะที่ ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า การรับคนไม่จบตรงสาขาครูเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก แต่สิ่งที่เป็นจุดร่วมที่ทั่วโลกทำเหมือนกัน คือ มีการฝึกอบรมให้คนกลุ่มนี้ก่อนไปสอนนักเรียน ขณะที่สิ่งที่ ศธ.ทำครั้งนี้คือ ถ้าสอบบรรจุได้ก็ให้ไปสอนก่อน แล้วไปอบรมตามเงื่อนไขของคุรุสภาจนได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู คำถามคือ เราจะส่งคนที่ไม่รู้วิธีการสอนเข้าห้องเรียนเลยจะมั่นใจได้หรือไม่ ทำไมเอาเด็กไปเสี่ยง แม้อาจมีใจอยากจะสอน แต่ยังไม่รู้วิธีการ ยิ่งหากไปบรรจุในโรงเรียนซึ่งก็มีความหลากหลายทั้งขนาดและบริบท เช่น ห้องเรียนคละชั้น เด็กพิเศษ เด็กอ่อน จะมีวิธีรับมืออย่างไร และอยากถามว่าความต้องการของผู้ที่ไม่ได้เรียนครูแต่อยากเป็นครูมีมาก จนต้องเปิดช่องให้เข้ามาเป็นครู

"ชาวครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ไม่ได้ใจแคบ หรือกลัวว่าจะมาแย่งงาน และผมมั่นใจว่านิสิตครูสอบแข่งขันได้แน่นอน แต่อยากย้ำว่าการผลิตบัณฑิตครู เราคิดบนพื้นฐานของตรียมคนเพื่อออกไปสู่ห้องเรียนใช้เวลาในการเรียนรู้วิชาการ 4ปี ฝึกประสบการณ์สอนจริง 1 ปีและมีการติดตามประเมินผล เพราะฉะนั้น ความสำคัญของใบอนุญาตฯไม่ใช่แค่ตราประทับ แต่เป็นการการันตีประสบการณ์ที่ฝึกฝนมาในภาคสนาม"ผศ.อรรถพล กล่าว
ดร.ภาวิณี โสธายะเพ็ชร อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า การศึกษาของประเทศไทยจะเน้นทำตามกระแสที่เกิดขึ้น โดยที่ไม่มองว่าตนเองมีความพร้อมหรือไม่ จนบางครั้งเกิดปัญหาหมักหมม ที่สำคัญประเทศไทยเปลี่ยนแปลงนโยบายบ่อย ขณะที่ประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลกอย่างฟินแลนด์ แม้จะเปลี่ยนรัฐบาลกี่ครั้งแต่นโยบายการศึกษาเดินหน้าต่อเนื่อง ให้เกียรติในวิชาชีพครู ขณะที่ไทยทุกอย่างดูฉาบฉวย รวมถึงการเปิดให้ผู้ไม่จบคณะครุฯ/ศึกษาฯ มาสอบครูได้ก็ควรมีการเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้สอบบรรจุได้ก่อน ไม่ใช่ปล่อยให้ไปลุยสอนเด็ก โดยไม่มีพื้นฐานความรู้ด้านการสอนเลย

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: Nation TV เรื่องโดย เกศกาญจน์ บุญเพ็ญ วันที่ 23 มีนาคม 2560 เวลา 18:40 น. 
  • 24 มี.ค. 2560 เวลา 12:34 น.
  • 15,469

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^