LASTEST NEWS

17 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด !! รมว.ศธ. แจ้งหัวหน้าส่วนราชการ ผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียน 16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน” 16 พ.ค. 2567“สิริพงศ์” แจงวิชาลูกเสือมีความทันสมัย แต่ขาดการสร้างความรับรู้ 15 พ.ค. 2567ท้องถิ่น เตรียมจัดสอบ 92 ตำแหน่ง รวม 6,262 อัตรา - ครูผู้ช่วย 29 วิชาเอก 1,157 อัตรา 15 พ.ค. 2567อาชีวะเตรียมรับพนักงานราชการเพิ่มกว่า 1,100 อัตรา  15 พ.ค. 2567สพฐ.เล็งยุบเลิก รร.ขนาดเล็กที่ไม่มีเด็กเรียน  15 พ.ค. 2567สอบครูผู้ช่วย ทั่วไป สพฐ.ปี 67 สมัครสอบทั้งสิ้น 154,187 คน ตำแหน่งว่างบรรจุครั้งแรก 4,399 อัตรา

ผลประชุมสภาการศึกษา 2/2559 วันที่ 7 มิถุนายน 2559

  • 09 มิ.ย. 2559 เวลา 09:34 น.
  • 8,133
ผลประชุมสภาการศึกษา 2/2559 วันที่ 7 มิถุนายน 2559

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 235/2559
 ผลประชุมสภาการศึกษา 2/2559

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมสภาการศึกษา ครั้งที่ 2/2559 เมื่อวันอังคารที่ 7 มิถุนายน 2559 ที่ห้องประชุมกำแหง พลางกูร ชั้น 3 อาคาร 56 ปี ว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้ตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดเป้าหมายและทิศทางของ (ร่าง) แผนการศึกษาแห่งชาติ ระยะ 15 ปี (พ.ศ.2560-2574) เพื่อให้เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่มีความใกล้เคียงกับแผนปฏิบัติมากที่สุด มีเป้าหมายและแนวทางที่ระบุผลลัพธ์อย่างชัดเจน วางกรอบให้เสร็จสิ้นภายในเดือนกรกฎาคมปีนี้


รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า จากการที่ สกศ.ได้จัดทำ (ร่าง) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-52574 ภายใต้วิสัยทัศน์  “ให้ความสำคัญกับการสร้างระบบการศึกษาที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นกลไกหลักของการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของทุนมนุษย์ และรองรับการศึกษา การเรียนรู้ และความท้าทายที่เป็นพลวัตของโลกศตวรรษที่ 21”  มียุทธศาสตร์การทำงาน 10 ด้าน คือ

- ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
- ยุทธศาสตร์การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
- ยุทธศาสตร์การกระจายอำนาจและนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา
- ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคม
- ยุทธศาสตร์การยกระดับคุณภาพมาตรฐานครูและบุคลากรทางการศึกษา
- ยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบทรัพยากรและการเงินเพื่อการศึกษา
- ยุทธศาสตร์นวัตกรรมการพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน การวัดและประเมินผล
- ยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนาคนเพื่อการพัฒนาประเทศและการแข่งขันในศตวรรษที่ 21
- ยุทธศาสตร์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนตลอดชีวิตโดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม

โดยมีเป้าหมายสุดท้าย คือ การทำให้ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ประชากรสามารถเข้าถึงระบบการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีความยืดหยุ่นหลากหลายอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ผู้เรียนได้รับการพัฒนาขีดความสามารถเต็มตามศักยภาพและเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม ตลอดจนภาคการศึกษามีทรัพยากรและทุนที่เพียงพอสำหรับการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพนั้น

 ในส่วนของการดำเนินงานถือได้ว่ามีความก้าวหน้าไปมาก โดยเมื่อเร็วๆ นี้ได้จัดเวทีประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละภูมิภาคแล้ว ดังนั้นเพื่อให้แผนการศึกษาแห่งชาติซึ่งจะใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนการศึกษาในภาพรวมของประเทศในอีก 15 ข้างหน้า ครอบคลุมการศึกษาทุกระดับ มีเป้าหมายและทิศทางที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ตลอดจนเป็นแผนยุทธศาสตร์ที่มีความใกล้เคียงแผนปฏิบัติมากที่สุด จำเป็นต้องปรับปรุงแผนให้มีเป้าหมาย แนวทางที่ระบุผลลัพธ์อย่างชัดเจน และมีเนื้อหาครอบคลุมทุกประเด็นอีกครั้ง

ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้ตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุด เพื่อทำงานร่วมกับ สกศ. ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากทุกองค์กรหลัก ครอบคลุมการจัดการศึกษาทุกระดับทั้งรัฐและเอกชน ที่จะช่วยรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ พร้อมกำหนดทิศทางการทำงาน เป้าหมาย และแนวทางที่มองเห็นภาพความสำเร็จในอนาคตได้อย่างชัดเจน เช่น การส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนให้ไปในทิศทางใด สัดส่วนของโรงเรียนเอกชนต่อโรงเรียนรัฐ การตั้งเป้าอันดับด้านการศึกษาในระดับนานาชาติที่สูงขึ้น เป็นต้น โดยขอให้พิจารณาดำเนินการภายในกรอบเวลาที่วางไว้คือภายในเดือนกรกฎาคมนี้


รมว.ศึกษาธิการ กล่าวเพิ่มเติมถึงการกระจายอำนาจ โดยย้ำให้ยึดหลักของความพร้อมของพื้นที่ ไม่ใช้เงื่อนไขของเวลามากำหนด ซึ่งในส่วนนี้ได้มอบคณะทำงานกำหนดคุณลักษณะและปัจจัยในการพิจารณาความพร้อมในด้านต่างๆ เช่น ขนาดของเศรษฐกิจของจังหวัด บริบทของท้องถิ่น-ชุมชน สภาพแวดล้อมของประชาชน

ทั้งนี้ ยืนยันว่ากระทรวงศึกษาธิการจัดทำแผนบนพื้นฐานความเข้าใจในทุกมิติ โดยเฉพาะด้านสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมเดิมของคนไทยและครู จะไม่ทำในสิ่งที่คนไม่ยอมรับอย่างแน่นอน รวมทั้งระบบการวัดและประเมินผลเช่นกัน ที่พยายามจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงระบบให้ดีขึ้นต่อไป 

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: เว็บไซต์ กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 8 มิถุนายน 2559
  • 09 มิ.ย. 2559 เวลา 09:34 น.
  • 8,133

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^