LASTEST NEWS

18 พ.ค. 2567‘สิริพงศ์’ แจงชัดประกาศยกเว้น/ผ่อนผันแต่งเครื่องแบบนักเรียน เพื่อลดความเดือดร้อนผู้ปกครอง ไม่ได้สั่งยกเลิกชุดนักเรียน 18 พ.ค. 2567สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครพนักงานราชการ 12 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ “ครู-นร.” เฮ! สพฐ.กำชับทุกโรงเรียน “ลดการบ้าน” 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ สพฐ.กำชับโรงเรียน “ลดการบ้าน-ลดประเมิน” สร้างความสุขนักเรียน-ครู 17 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด !! รมว.ศธ. แจ้งหัวหน้าส่วนราชการ ผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียน 16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน” 16 พ.ค. 2567“สิริพงศ์” แจงวิชาลูกเสือมีความทันสมัย แต่ขาดการสร้างความรับรู้

8 เหตุผลที่ต้องชะลอสอบครูผู้ช่วย สพฐ. (จบ)

  • 07 พ.ค. 2559 เวลา 08:32 น.
  • 35,698
8 เหตุผลที่ต้องชะลอสอบครูผู้ช่วย สพฐ. (จบ)

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

8 เหตุผลที่ต้องชะลอสอบครูผู้ช่วย สพฐ. (จบ)

ความจากตอนที่แล้ว ผมรีวิวให้เห็นข้อกฎหมายสองกลุ่มหลัก ได้แก่ ว 14 ซึ่งเป็นกติกาของการสอบแข่งขันครูผู้ช่วย สพฐ. กับอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นบทบาทที่ต้องทำตามกติกา คือ กศจ. ศธจ.ที่เกิดขึ้นจากคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่10-11/2559 มาทำหน้าที่แทน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในบางเรื่อง กฎหมายสองกลุ่มเกี่ยวพันโดยตรงกับการสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วยในครั้งนี้

หากกติกาเดิมคนเดิมเป็นผู้ปฏิบัติ คงไม่ติดขัดอะไร หากติดขัดก็เล็กน้อยสามารถแก้ปัญหาได้ทันที เพราะเคยทำมา จะสังเกตเห็นว่าหลังๆ มาดำเนินการด้วยความเรียบร้อยดี ข่าวก็ไม่มี ประเด็นก็ไม่เกิด แต่บัดนี้เมื่อคนทำเปลี่ยนไปจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม กติกายังเหมือนเดิม ข้อความในกติกายังเหมือนเดิม ยังไม่มีแนวทางปฏิบัติ จึงอาจนำไปสู่ความสับสน ไม่แน่ใจ ตีความอย่างหลายหลาย คนละทิศคนละทาง อาจจะนำไปสู่ความไม่เรียบร้อยได้

นี่เองอาจเป็นที่มาของ สพฐ. ท่านสั่งให้ชะลอการสอบฯในครั้งนี้ โดยที่ยังไม่กำหนดวันเวลาที่แน่นอนว่าจะกำหนดอีกเมื่อใด เร็วหรือนานแค่ไหน เรามาดูเหตุผลที่ต้องชะลอสอบครูผู้ช่วย สพฐ. ออกไปว่าทำไม ? เป็นเพราะอะไร ? กัน

1. เพราะเป็นหน้าที่ สพฐ. ; อันนี้ ตรง ๆ เลย อาจจะกำปั้นทุบดิน แต่ก็เป็นเหตุผลหลัก จะเป็นซุปเปอร์เหตุผลก็ได้ เพราะในหลักเกณฑ์ ฯ ตาม ว 14 ข้อแรกเลย ที่บอกว่า ให้ สพฐ. เป็นผู้กำหนด วัน เวลาในการสอบฯ รวมทั้ง กำกับ ติดตาม ให้การสอบฯ เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม ถูกต้องตามกติกา
จะเห็นได้ว่า ครั้งแรก สพฐ. ออกหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว5881 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2558 แจ้งกำหนดการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี พ.ศ. 2559 โดยประกาศรับสมัครช่วงปลายเดือนมีนาคม สอบต้นเดือน พฤษภาคม และประกาศผลกลางเดือน พฤษภาคม 2559

สั่งเลื่อนครั้งที่ 1 ตามหนังสือ สพฐ. ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว1270 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2559 แจ้งเลื่อนการสอบสอบแข่งขันฯ ออกไป ด้วยเหตุผล เนื่องจากผลของคำสั่ง หน.คสช.ฉบับที่ 10-11/2559 ทำให้ยุบเลิก อ.ก.ค.ศ.และโอนอำนาจไปเป็นของ กศจ. และอาจปรับเปลี่ยนกระบวนการสอบต้องรอความชัดเจนระดับนโยบาย นั่นท่านทำหน้าที่ เห็นว่าการสอบช่วงนี้น่าไม่เรียบร้อย จึงให้เลื่อนออกไป

ต่อมา สพฐ. ออกหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว1652 ลงวันที่ 26 เมษายน 2559 กำหนดการสอบแข่งขันฯครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี พ.ศ. 2559 โดยให้ประกาศรับสมัครช่วงกลางเดือนพฤษภาคม สอบปลายเดือน มิถุนายน และประกาศผลต้นเดือน กรกฎาคม 2559 โดยให้ประกาศรับสมัครภายในวันที่ 16 พฤษภาคม 2559 เมื่อมองว่าน่าจะเรียบร้อย นี่เป็นการทำหน้าที่ สพฐ.

สั่งเลื่อนครั้งที่ 2 ตามหนังสือ สพฐ.ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว1845 ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2559 แจ้งชะลอการสอบแข่งขันฯ โดยครั้งนี้ใช้คำว่า ชะลอ ให้เหตุผลว่าอยู่ระหว่างการหารือเกี่ยวกับแนวปฏิบัติเพื่อให้การสอบเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ เป็นไปในทางเดียวกัน นี่เป็นการทำหน้าที่ เพราะท่านมองว่า หากเดินหน้าต่อไปอาจจะเกิดความไม่เรียบร้อย ไม่บริสุทธิ์ ไม่ยุติธรรม ไม่ถูกต้องตามกติกา หากเกิดปัญหา สพฐ. ก็ต้องร่วมรับผิดชอบ จึงเป็นที่มาก็การเลื่อนถึงสองครั้ง...เหตุผล เพราะหน้าที่ สพฐ.

2. เพราะ กศจ. ยังต้องแต่งตัว ; อันนี้ ก็จัดว่าเป็นเหตุผลหลัก เป็นเหตุผลที่สนับสนุน เหตุผล ข้อ 1 ก็ต้องให้ความเป็นธรรม กับ สพฐ. ที่สั่งเลื่อนการสอบฯ ในครั้งแรกออกไป หากย้อนไปดูกำหนดการ จะเห็นว่าให้ประกาศรับสมัครช่วงปลายเดือนมีนาคม สอบต้นเดือนพฤษภาคม และประกาศผลกลางเดือนพฤษภาคม 2559 ข้อเท็จจริง พบว่า ปลายเดือนมีนาคม มีคำสั่ง หน.คสช.ฉบับที่ 10-11/2559 ทำให้ยุบเลิก อ.ก.ค.ศ.และโอนอำนาจไปเป็นของ กศจ. นั้นหมายความว่า อำนาจในการดำเนินการสอบแข่งขันเป็นอำนาจของ กศจ. แต่ในห้วงสั้น ๆ เพียงหนึ่งหรือสองสัปดาห์ กศจ.ซึ่งมาจากสัดส่วนที่หลากหลาย มีขั้นตอนการได้มา การประชุมพิจารณานั้นกรรมการต้องครบองค์ประกอบ จึงเกิดไม่ทันแน่.....เหตุผล กศจ.ต้องแต่งตัวให้เรียบร้อยก่อน
เหตุผล ข้อ 1 และ ข้อ 2 เป็นเหตุผลพื้นฐาน เป็นเหตุผลด้านโครงสร้าง บทบาทหน้าที่ ก็ต้องว่าตามนั้น เรา ท่าน หากมองกลางๆ ก็ย่อมเข้าใจ ก็ย่อมให้ความเป็นธรรม เมื่อมันมีเหตุมันก็เกิดผลตามมา ทุกฝ่ายหวังดี คงไม่มีใครต้องการให้สะดุด แต่เมื่อสะดุดก็แสดงว่าทางมันขรุขระ หลุม บ่อ ผู้มีบทบาทหน้าที่ก็ต้องเข้ามาเคลีย ดูแล ทำทางเดินให้เรียบร้อย และคิดว่าตรงนี้ ผู้เกี่ยวข้องกำลังทำกัน เรา ท่าน ก็หวังว่าจะเรียบร้อยโดยเร็ว

3. เพราะแตกต่าง ใครเป็นผู้จัดสอบ ;อันนี้ ในหลักเกณฑ์ ว 14 กำหนดให้ อ.ก.ค.ศ. เป็นผู้ดำเนินการสอบ เมื่อมีคำสั่ง หน.คสช.ฉบับที่ 10-11/2559 อำนาจหน้าที่ตรงนี้ จึงเป็น กศจ. ที่ต้องดำเนินการ แต่ที่เคยปฏิบัติ พบว่า บาง อ.ก.ค.ศ. มอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ อาจเป็นเฉพาะบางขั้นตอน หรือทุกขั้นตอน เมื่อเป็นหน้าที่ กศจ. อาจจะยึดรูปแบบการทำงานแบบเดิม และอาจเป็นไปได้ที่ พบว่า บาง กศจ.มอบให้เขตพื้นที่ดำเนินการ บาง กศจ.ให้ ศธจ.เป็นผู้ดำเนินการ ทั้งมอบบางขั้นตอนหรือหมดทุกขั้นตอน เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีความแตกต่างในวิธีปฏิบัติ ถึงแม้เข้าใจตรงกันว่า การจัดสอบเป็นอำนาจของ กศจ. แต่จะมอบให้ใครเป็นผู้ปฏิบัติ ระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่ หรือสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด...เหตุผลความแตกต่างผู้ปฏิบัติฯ

4. เพราะแตกต่าง ใครลงนามในประกาศสอบฯ ; อันนี้ เชื่อว่าทุกแห่งไม่สับสน การออกประกาศสอบแข่งขันเป็น ประกาศคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) แน่ แต่การลงนามอาจแตกต่างกันสืบเนื่องจากเหตุผล ข้อ 3 เพราะหากมอบให้เขตพื้นที่ทำประกาศฯ ผู้ลงนามย่อมเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา...ผู้ได้รับมอบหมายจากประธานคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด หากให้ศึกษาธิการจังหวัดทำประกาศฯ ผู้ลงนามย่อมเป็นศึกษาธิการจังหวัด กรรมการและเลขานุการ...ผู้ได้รับมอบหมายจากประธานคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด หรือ บาง กศจ. ประธานคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดเป็นผู้ลงนามเอง เอาเป็นสมมุติว่าจังหวัดนั้น กศจ.มอบหมายให้เขตพื้นที่เป็นผู้ปฏิบัติ จังหวัดนั้นสอบสามเขตฯ ประกาศ กศจ. น่าจะเห็นออกมาสามฉบับ แต่กรณีที่บางจังหวัดให้ ศธจ.เป็นผู้ปฏิบัติ ถึงแม้จะสอบสามเขตฯ แต่ออกประกาศเพียงฉบับเดียวเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีความแตกต่างในวิธีปฏิบัติ....แตกต่างผู้ทำประกาศ
 

5. เพราะแตกต่าง เนื้อในประกาศสอบฯ ; อันนี้ เป็นการประกาศรายละเอียดของตำแหน่งว่างที่จะใช้สอบและบรรจุแต่งตั้งฯ หากมี กรณี กศจ. มอบให้เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการก็คงไม่สับสน แต่กรณีที่ ศธจ. เป็นผู้ปฏิบัติเป็นผู้ปฏิบัติให้กับทุกเขตฯ จะกำหนดรูปแบบการประกาศอย่างไร เรียงที่ละเขตฯ หรือ รวมทุกเขตฯ นั้นหมายถึง ตำแหน่งบรรจุแต่งตั้งจะรวมทุกเขตหรือเรียงเป็นเขตฯ ด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีความแตกต่างในวิธีปฏิบัติ

6. เพราะแตกต่าง ในรายละเอียดยุบ ๆ ยิบๆ ; อันนี้ คำว่า ยุบ ๆ ยิบ ๆ หมายถึง เรื่องย่อย ๆ ของการดำเนินงาน เช่น สถานที่รับสมัคร รูปแบบใบสมัคร สิทธิ์ของการสมัคร (ผมจะสมัครสองตำแหน่งได้ไหมครับ เขตมัธยมสมัครฟิสิกส์ เขตประถมสมัครวิทย์ทั่วไป ...ทำไมจะไม่ได้ ผมมาสมัคร กศจ.นี้ที่เดียวไม่ได้ไปสมัครจังหวัดอื่นนี่) การรับค่าสมัคร การบริหารการเงิน ฯลฯ....อันนี้ผู้สอบน่าจะสงสัย สับสน มากกว่าผู้ปฏิบัติ เกิดนานาคำถาม จังหวัดนั้นทำไมสอบที่เดียว จังหวัดนี้ทำไมกระจายไปทุกเขต (เขาหมายถึงปริมาณคู่แข่งย่อมแตกต่าง) จังหวัดนี้ ฟอร์มใบสมัครกรอกอย่างนี้ จังหวัดนั้นทำไมไม่ขอหลักฐานนี้ จังหวัดนั้นทำไมสมัครได้หลายตำแหน่ง จังหวัดนี้ทำไมกีดกันให้สมัครได้ตำแหน่งเดียว...ปรา..ปรา...ปรา... ปรากฎการณ์นี้จะเกิดน้อย หากมีการเตรียมการ ภายใต้กติกาแนวทางที่ชัดเจน....เพราะความแตกต่างในรายละเอียด

เหตุผล ข้อ 3 ถึง ข้อ 6 อยู่ในกลุ่มเดียวกัน แต่แยกให้เห็นประเด็นที่ชัดขึ้น ถ้าหากมีแนวทาง กติกาที่ชัดเจน หรือมีผู้ชี้ทางสร้างความมั่นใจในการดำเนินการ จะไม่เกิดความแตกต่าง หรือเกิดคำถามว่า อันไหนใช่ ไม่ใช่ อันไหนถูก ไม่ถูก....มันต้องอย่างใดอย่างหนึ่งว่าไหม เพราะการสอบบรรจุฯ เรื่องนี้ใหญ่มาก...

ตรงนี้หากย้อนคำสั่ง หัวหน้า คสช. ตามที่อ้างในข้อเขียนฉบับแรก กำหนดให้มีสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อทำหน้าที่งานธุรการและปฏิบัติงานราชการในหน้าที่ของ กศจ. และตามที่ กศจ.มอบหมาย ให้ศึกษาธิการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่แทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเฉพาะงานเกี่ยวกับ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา นั้นก็แสดงว่า ผู้ที่จะเป็นผู้ปฏิบัติในการสอบครั้งนี้คือ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด โดยมีศึกษาธิการจังหวัดเป็นหัวเรือใหญ่ ย่อมไม่ใช่ให้เขตพื้นที่ต่างๆ แยกไปทำ ดังนั้นในเรื่องการจัดทำประกาศ คำสั่ง การประสานดำเนินการ การทำงานธุรการ การรับและบริหารจัดการการเงินค่าสมัคร การจัดเตรียมโน้น นี่ นั้น จิปาถะ จึงเป็นหน้าที่ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด...แต่ต้องมีผู้ชี้ทางเพื่อให้ กศจ.สั่งหรือมอบอย่างมั่นใจ

7. เพราะแตกต่าง เขตมัธยมฯ ; อันนี้ กรณีที่เขตมัธยมดูแลรับผิดชอบเดียว ไม่น่าจะเป็นประเด็น แต่กรณีที่เขตพื้นที่มัธยมแห่งนั้นรับผิดชอบสองถึงสามจังหวัดจะทำอย่างไร กศจ.ไหนจะเป็นผู้ดำเนินการ หรือแยกดำเนินการ หากแยกดำเนินการ ดำแน่งว่างโรงเรียนนี้ของหวัดนี้ให้ กศจ.นี้ประกาศ ตำแหน่งว่างโรงเรียนนั้นให้ กศจ.จังหวัดนั้นประกาศ เป็นอันว่าตำแหน่งของเขตมัธยมนี้ อยู่ในสามประกาศ สาม กศจ. ยังไม่อยากคิดตอนเรียกบรรจุครั้งต่อไปว่าตำแหน่งว่างจะเรียกจากบัญชีใด อย่าเพิ่งคิดนะ ผอ.เขตมัธยมฯ เกรงจะปวดหัวก่อน .....นี้คือ ความต่างระหว่างมัธยมรับผิดชอบจังหวัดเดียวกับรับผิดชอบหมายจังหวัด

8. เพราะแตกต่าง การขึ้นบัญชี ; อันนี้ ประเด็นจะเกิดบางที่บางกรณีที่ กศจ.รับผิดชอบหลายเขตทั้งประถมและมัธยม สมมุติว่า เขตประถมได้สอบขึ้นบัญชีไว้ยังไม่หมดอายุวิชาเอกภาษาอังกฤษ ต่อมา กศจ.ประกาศรวมประกาศเดียว มีตำแหน่งที่เขตพื้นที่มัธยมขอสอบวิชาเอกภาษาอังกฤษ ผลปรากฏมีผู้สอบได้ขึ้นบัญชี ผลของการขึ้นบัญชีจะไปยกเลิกบัญชีเดิมไหม เพราะ อ.ก.ค.ศ.ตอนนั้น ย่อมหมายถึง กศจ.ตอนนี้ อันนี้เป็นการขึ้นบัญชีครั้งใหม่ในวิชาเอกเดิมไหม สุ่มเสียงต่อการถูกตีความ เป็นช่องโหว นำไปสู่การร้องทุกข์ ร้องเรียน หรือฟ้องร้องต่อศาลในอนาคตได้ นี่ยังไม่รวมถึง การปฏิบัติเกี่ยวกับการขอใช้บัญชี....นี้ก็เป็นความแตกต่างหากมีกรณี กศจ. มีบัญชีเดิมซึ่งประกาศตำแหน่งสาขาเอกที่เคยขึ้นไว้ กับ กศจ.ที่ไม่มีบัญชี ...

เหตุผลข้อ 3 ถึง ข้อ 8 เป็นเหตุผลในทางปฏิบัติ ที่ยังไม่ค่อยเคลีย ทำให้เกิดการตีความหลากหลาย นำไปสู่การปฏิบัติที่แตกต่างกัน
นั่นคือความไม่เรียบร้อย สัญญาณที่ไม่ค่อยดี เพราะในการดำเนินงานด้านการบริหารงานบุคคลของหน่วยงานทางการศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานทางการปกครอง พึงดำเนินการให้ถูกต้องและเป็นไปตามขั้นตอน วิธีการของหลักเกณฑ์ นั้น ๆ และตามหลักวิธีปฏิบัติทางการปกครอง อันเป็นกฎหมายกลางที่หน่วยงานต้องยึดถือปฏิบัติ ซึ่งแน่นอนว่าผลของการสอบแข่งขันฯครูผู้ช่วยในครั้งนี้ ย่อมนำไปสู่การมีคำสั่งทางการปกครอง มีผู้ได้ขึ้นบัญชี มีผู้สอบตก ซึ่งเป็นการกระทบสิทธิ์ของคนบางกลุ่ม หรือ บางคน หากหน่วยงานทางการปกครองไม่ดำเนินตามขั้นตอน กระบวนการที่ถูกต้อง ตาม 1,2,หรือ 3 แล้ว ย่อมเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทบสิทธิ์นำไปสู่การฟ้องร้องต่อศาลฯได้ ถึงวันนั้นการแก้ปัญหาอาจจะใช้เวลา สอง สามถึง สี่ปี หรือมากกว่านั้น จะยิ่งนานกว่าการชะลอการสอบครั้งนี้แน่ คิดว่าไม่มีใครต้องการให้เกิดเหตุการณ์นี้

ดังนั้น เมื่อแนวปฏิบัติอันเป็นกติกายังไม่ชัดเจน การดำเนินการต่อไปอาจสุ่มเสียงต่อความไม่เรียบร้อย สพฐ. รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรรีบเร่งแก้ปัญหา และเราก็เชื่อว่าขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือเกี่ยวกับแนวปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างขะมักเขมัน เพื่อให้การสอบเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ เป็นไปในทางเดียวกัน และสามารถประกาศกำหนดการสอบแข่งขันฯ ครั้งใหม่ได้

ทั้งหมดนี้ น่าจะเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งในหลาย ๆ ส่วน ที่ สพฐ. ให้ชะลอการสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย ในครั้งนี้ และหวังว่า จะ ไม่มีการเลื่อนรอบที่สาม....ใช่ไหมครับ

อดใจรออีกนิด.....ดีกว่าลุ้นคำสั่งศาลฯ ที่ น้าน นาน...นะครับ

สอบได้ไม่ง้อติว ; dr.borworn

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: เฟซบุ๊กแฟนเพจ สอบได้ ไม่ง้อติว 
 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
8 เหตุผลที่ต้องชะลอสอบครูผู้ช่วย สพฐ. ออกไป (1)
  • 07 พ.ค. 2559 เวลา 08:32 น.
  • 35,698

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^