LASTEST NEWS

04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนหนองไผ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคอมพิวเตอร์ เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลสกลนคร รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคณิตศาสตร์ เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 8 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567สพม.ชลบุรี ระยอง ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

ทุกข์ของการเรียนผ่านออนไลน์!/ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

  • 24 ก.พ. 2564 เวลา 20:20 น.
  • 1,669
ทุกข์ของการเรียนผ่านออนไลน์!/ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ทุกข์ของการเรียนผ่านออนไลน์!/ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

บทสนทนาช่วงนี้เวลาเจอเพื่อนฝูงส่วนใหญ่จะเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเรียนออนไลน์ในช่วงวิกฤติโควิด-19

เพื่อนที่เป็นพ่อแม่ก็จะบ่นมากหน่อย มีลูกหลากหลายวัย ปัญหาก็จะแตกต่างกันไปในรายละเอียด ถ้าลูกเล็กก็จะบ่นมากเป็นพิเศษ เพราะแทบจะต้องอยู่กับลูกที่บ้านและเรียนไปพร้อมกับลูก ถ้าพ่อแม่ทำงานด้วยก็จะมีรายละเอียดของปัญหามากขึ้นไปอีก ส่วนพ่อแม่ที่มีลูกโตก็มีปัญหาไม่น้อยเหมือนกัน ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องงานเยอะ การบ้านเยอะ ทำเท่าไหร่ก็ไม่หมด ในขณะที่เด็กระดับมหาวิทยาลัยก็จะออกแนวอยากกลับไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเสียที

ส่วนเพื่อนที่เป็นครูบาอาจารย์ ในทุกระดับ ครูระดับเด็กเล็ก เด็กโต เด็กมหาวิทยาลัย ต่างก็มีปัญหาที่แตกต่างกันไป แต่สิ่งหนึ่งที่พูดตรงกันก็คือ การสอนออนไลน์ทำให้แบกภาระหนักขึ้น ต้องเตรียมตัว และหาวิธีการต่าง ๆ รวมถึงเทคนิคการสอนต่าง ๆ เพื่อจูงใจให้เด็กเรียนด้วย แล้วไหนจะต้องคิดถึงวิธีการประเมินผลอีกต่างหาก สรุปก็คืออยากกลับไปสอนในสถาบันการศึกษามากกว่าสอนทางออนไลน์ ทั้งยังมีคุณครูจำนวนมากและโรงเรียนหลายแห่งไม่ได้มีความพร้อมด้านอุปกรณ์หรือทักษะทางดิจิทัล ครูหลายคนใช้โปรแกรมเช่น Google Classroom, Zoom หรือ Teams ไม่คล่อง ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้

และเมื่อได้พูดคุยด้วยกับเด็กหลากหลายวัย ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าอยากกลับไปเรียนที่โรงเรียน ไม่อยากเรียนผ่านออนไลน์ด้วยสารพัดเหตุผล เช่น เรียนยากขึ้น เรียนไม่รู้เรื่อง งานเยอะ เรียนได้แย่ลง อยากเจอเพื่อน อยากทำกิจกรรม ฯลฯ

สรุปก็คือ ไม่ว่าจะมีโอกาสได้พูดคุยกับใคร ทุกคนล้วนแล้วไม่อยากอยู่ในสภาพต้องเรียนออนไลน์

แม้แต่ลูกชายสองคนของตัวเองก็หงุดหงิดอยู่ไม่น้อยในการเรียนออนไลน์ที่เขาบอกว่าประสิทธิภาพในการเรียนลดลงอย่างมาก!

ไม่ใช่เฉพาะบ้านเราเท่านั้น

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนเรื่องผลกระทบของการเรียนออนไลน์ ในผู้ปกครองชาวอเมริกัน 405 คน ที่มีลูกอย่างน้อย 1 คนอายุต่ำกว่า 12 ปี และครึ่งหนึ่งของผู้ปกครองมีลูกอายุระหว่าง 2-5 ปี พบว่า 40 % ของผู้ปกครองรู้สึกเครียดจากการที่ลูกต้องเรียนออนไลน์ โดย 25 % ให้ข้อมูลว่า บ้านมีอุปกรณ์หรือสภาพไม่พร้อมต่อการเรียนออนไลน์

ในขณะที่ผลสำรวจของ Washington Post จากผู้ปกครองที่มีลูกต้องเรียนออนไลน์ 60 คน พบว่าลูกตัวเองเครียดขึ้น ก้าวร้าวขึ้น เบื่ออาหาร บ่นปวดหลัง มีปัญหาเจ็บตาหรือตาอ่อนล้า

ส่วนงานวิจัยในประเทศจีน สำรวจนักเรียนในมณฑลหูเป่ยที่อยู่ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์ตั้งแต่ต้นปี 2563 โดยเก็บข้อมูลนักเรียนเกรด 2 ถึง 6 จำนวน 2,330 คน ระหว่าง 28 ก.พ.-5 มี.ค. 2563 พบว่ามีนักเรียนมากถึง 40% ที่เผชิญความเครียดและวิตกกังวล

สอดคล้องกับบ้านเราที่ล่าสุดมีนักเรียนและนักศึกษาจำนวนมากเครียดจากการเรียนออนไลน์ เพราะไม่สามารถปรับตัวได้ ทำให้เกิดความทุกข์ และมีบางคนที่สุดท้ายก็นำไปสู่โศกนาฏกรรม

ช่วงของสถานการณ์วิกฤติ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดการปรับตัวเป็นวิถีชีวิตแบบใหม่ (New Normal) โดยเฉพาะสถาบันทางการศึกษาที่ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนแบบปกติได้ จึงจำเป็นต้องใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เพื่อให้การเรียนรู้ต่อเนื่อง

การเรียนการสอนแบบออนไลน์มีองค์ประกอบ ได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน เนื้อหา สื่อการเรียนการสอน แหล่งเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนการสอน ระบบการติดต่อสื่อสาร ระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ การวัดและการประเมินผล

และเมื่อการเรียนออนไลน์มีบทสรุปเหมือนกับการเรียนปกติ ก็คือ ตัดสินกันที่การวัดและประเมินผลแบบเดิม ซึ่งกลายเป็นเรื่องหนักหน่วงของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเด็ก มีเด็กจำนวนมากที่ไม่ใช่ทุกข์ใจแค่การเรียนออนไลน์ การทำงานที่มากขึ้น แต่การสอบกลายเป็นเรื่องหนักสุด

สืบเนื่องจากผลพวงเรื่องประสิทธิภาพในการเรียนออนไลน์ที่เด็กส่วนใหญ่อยากเรียนที่สถาบันการศึกษามากกว่า เด็กจำนวนมากถอดใจยอมถอยจากระบบ ออกจากโรงเรียนกลางคัน ในขณะที่ระดับมหาวิทยาลัยก็ดรอปไว้ก่อน

บางคนทุกข์มาก เพราะต้องสอบแบบไม่เข้าใจ ถึงกับสอบตก และนำไปสู่ภาวะความเครียดและวิตกกังวลตามมาอีกมากมาย

จึงอยากจะย้ำกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการวัดและประเมินผลว่า เนื้อหาการเรียนรู้ในสถานการณ์โควิด-19 ควรจะมีการปรับให้ยืดหยุ่นและเหมาะสมกับสถานการณ์ ซึ่งหมายรวมถึงวิธีการประเมินการเรียนการสอนด้วย เพราะเมื่อสถานการณ์วิกฤติ การเรียนรู้เปลี่ยนไป ควรต้องมีความยืดหยุ่นมากขึ้น การประเมินก็ต้องเปลี่ยนด้วย

การให้เกรดแบบเดิม ๆ และการประเมินผลจากการสอบแบบเดิม ยังจำเป็นแค่ไหนในสถานการณ์เช่นนี้ ?

จะดีกว่าไหมถ้าการศึกษาแบบวิถีใหม่นี้ การประเมินจะถูกเปลี่ยนจาก “การประเมินผลการเรียนจากการสอบ” ไปเป็น “การประเมินผลจากการเรียนรู้” ทำให้การประเมินผลในวิถีการศึกษาใหม่เน้นที่การทำความเข้าใจ ไม่ใช่การตัดสินด้วยการสอบอย่างเดียว!

New Normal ของการประเมินผลควรเป็นการให้น้ำหนักที่ต้องคำนึงถึงภาพรวมด้วยว่าสถานการณ์ของโควิด-19 ที่ทำให้นักเรียนไม่ได้ไปโรงเรียน ครูจัดการเรียนการสอนเหมือนเดิมไม่ได้ การเรียนแบบออนไลน์ก็ไม่สามารถทำได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

ฉะนั้น เราควรจะต้องมีวิธีคิดในการออกแบบโดยให้น้ำหนักกับสิ่งที่สำคัญต่อการเรียนรู้ของนักเรียน มากกว่าต้องเรียนรู้ตามหลักสูตรเดิม หรือเงื่อนไขที่ถูกกำหนดเพื่อตอบสนองนโยบาย หรือแนวคิดที่ไม่สอดคล้องกับการเรียนรู้ของนักเรียน

การปรับน้ำหนักในการประเมินผลควรให้น้ำหนักกับการปฏิสัมพันธ์ที่มีคุณภาพระหว่างการเรียนรู้ของครูและนักเรียน รวมถึงให้น้ำหนักกับการเรียนรู้ที่เกิดจากความเข้าใจและเชื่อมโยงกับความสนใจของนักเรียนเป็นรายบุคคล มากกว่าการเรียนรู้ที่อิงตามมาตรฐานแบบเดียวกันทั้งประเทศ ระดับนโยบายต้องให้ความสำคัญกับระดับพื้นที่ ระดับโรงเรียน ให้แต่ละพื้นที่มีวิธีประเมินผลเบื้องต้นของตัวเอง

ในต่างประเทศบางแห่งมีการสลับจัดการเรียนการสอนโดยยังให้โรงเรียนเปิดทำการได้ และให้สอนในสนามหญ้าหรือสถานที่เปิดโล่งของโรงเรียน เพื่อยังสามารถรักษา Social Distancing และลดความเสี่ยงติดเชื้อ ขณะเดียวกันเด็กยังสลับไปโรงเรียนได้

ตอนนี้สิ่งที่ห่วงเด็ก ไม่ควรเป็นเพียงเรื่องเนื้อหาการเรียนรู้ที่กลัวว่าเด็กจะเรียนไม่ทัน หรือมองเป้าหมายเพียงเดินตามหลักสูตรให้ทันเท่านั้น

แต่สิ่งที่ควรคำนึง คือคุณภาพชีวิตของเด็กนักเรียนที่ต้องตกอยู่ในสถานการณ์วิกฤติ ที่ลำพังก็ได้รับผลกระทบในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว แถมครอบครัวก็ได้รับผลกระทบอีกไม่มากก็น้อย แล้วใยเรายังจะส่งต่อความเครียดให้เด็กเพิ่มขึ้นอีกเล่า ?

เมื่อสถานการณ์ไม่ปกติ ก็ควรใช้วิธีคิดและวิธีการที่ยืดหยุ่น อย่าเล็งผลเลิศทางวิชาการ แต่เปลี่ยนมาให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิกฤตการณ์

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ เผยแพร่: 24 ก.พ. 2564 09:15   ปรับปรุง: 24 ก.พ. 2564 เวลา 09:15 น.
  • 24 ก.พ. 2564 เวลา 20:20 น.
  • 1,669

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^