LASTEST NEWS

05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนหนองไผ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคอมพิวเตอร์ เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลสกลนคร รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคณิตศาสตร์ เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 8 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

PISA ที่ผ่านมาบอกอะไรให้เราทราบบ้าง

  • 25 ธ.ค. 2559 เวลา 09:18 น.
  • 7,086
PISA ที่ผ่านมาบอกอะไรให้เราทราบบ้าง

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

PISA ที่ผ่านมาบอกอะไรให้เราทราบบ้าง

โฟกัสประเด็นจาก PISA “PISA ที่ผ่านมาบอกอะไรให้เราทราบบ้าง” 

นางพรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) แจ้งว่า สสวท. ได้จัดทำเอกสาร “Focus ประเด็นจาก PISA” ซึ่งจะเผยแพร่เป็นประจำทุกเดือน เพื่อให้ข้อมูลประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการประเมินผลของ PISA ขณะนี้ เอกสารฉบับที่ 12 ประจำเดือนธันวาคม 2559 เรื่อง “PISA ที่ผ่านมาบอกอะไรให้เราทราบบ้าง” ได้เผยแพร่แล้วที่เว็บไซต์ http://pisathailand.ipst.ac.th/pisa/focus 

ข้อมูลดังกล่าวบอกให้ทราบว่า สถานการณ์ที่เป็นอยู่ของการศึกษาของประเทศไทยนั้น มีบางส่วนที่ถือได้ว่าประสบความสำเร็จ นั่นคือ ระบบโรงเรียนในกรุงเทพฯ เมื่อดูผลการประเมินของนักเรียนในเขตกรุงเทพฯ จะพบว่าการกระจายของคะแนน PISA เกือบจะไม่มีความแตกต่างจากนักเรียนในสหรัฐอเมริกา แต่นั่นไม่ใช่นักเรียนจากทั่วประเทศ เพราะนักเรียนที่อื่น ๆ นอกกรุงเทพฯ นั้น ยังมีผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่ามาก เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าการศึกษาของระบบโรงเรียนในเขตกรุงเทพฯ เป็นตัวแบบ (Model) ที่ถือได้ว่าประสบความสำเร็จ แต่การจัดตัวแบบเช่นนั้นไม่กระจายไปทั่วประเทศแต่กลับกระจุกตัวอยู่ในเขตกรุงเทพฯ เท่านั้น ถ้าระบบโรงเรียนไทยสามารถกระจายตัวแบบการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพทั่วถึงทั้งประเทศ คุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนก็จะสามารถยกระดับสูงขึ้นได้ และรายงานในหลายแหล่งหลายวาระที่ผ่านมาก็ได้ชี้บอกตัวแปรที่ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบไว้แล้ว 

โรงเรียนที่มีนักเรียนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมเสียเปรียบกว่า ส่วนมากมีทรัพยากรการเรียนคุณภาพต่ำกว่าโรงเรียนที่มีนักเรียนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูงกว่า และที่สำคัญยิ่งกว่า คือไม่มีครูคุณภาพสูงสำหรับโรงเรียนที่ด้อยกว่า การสนับสนุนทรัพยากรอย่างเป็นธรรมไม่เพียงแต่สำคัญในด้านความเสมอภาคทางการศึกษาเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวโยงไปถึงผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโดยรวมทั้งระบบ ตัวอย่างจากระบบที่ประสบความสำเร็จ ในประเทศเหล่านั้นครูใหญ่ในโรงเรียนที่ด้อยเปรียบทางเศรษฐกิจและสังคมต่างรายงานว่า โรงเรียนมีทรัพยากรการศึกษาที่พอเพียงไม่แตกต่างจากโรงเรียนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมที่ได้เปรียบกว่าหรือในบางประเทศกลับมีมากกว่า เช่น ฟินแลนด์ 

ในการสร้างกำลังพลที่มีประสิทธิภาพสำหรับการสอนต้องเปรียบเทียบดูจากการประเมินว่าที่อื่นเขาทำกันอย่างไร และเปรียบเทียบตัวเองว่าเหมือนหรือแตกต่างกับที่เขาประสบความสำเร็จอย่างไร การศึกษาไม่ได้มีเพียงนักเรียน ครู และหลักสูตรเท่านั้น แต่สิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม มีผลกระทบสูงพอสมควร คำตอบของคำถามต่อไปนี้ จะเป็นคำตอบว่าวัฒนธรรมได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างไร ประเทศอื่นจ่ายค่าจ้างครูอย่างไรเมื่อเทียบกับอาชีพอื่น ๆ ที่มีการศึกษาในระดับเดียวกัน ? ใบปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางการศึกษาของแต่ละคนถูกเปรียบเทียบอย่างไรในการจ้างงาน ? พ่อแม่ต้องการให้ลูกเข้าสู่อาชีพครูหรือไม่ ? สื่อมวลชน และสาธารณชนให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องของการศึกษามากน้อยเพียงใด ? ชุมชน สังคมให้ความสำคัญกับเรื่องอะไรมากกว่ากัน ระหว่างชัยชนะของการแข่งกีฬา กับชัยชนะจากการแข่งขันทางวิชาการของนักเรียนหรือโรงเรียน ? พ่อแม่ส่งเสริมให้ลูกหลานเรียนหนังสืออย่างหนักมากหรือไม่ ? 

ถ้าสามารถตอบคำถามเหล่านี้ในเชิงบวก การยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบน่าจะอยู่ไม่ไกลเกินไป แต่ถ้ายังไม่มีคำตอบให้คำถามเหล่านี้ ความเป็นเลิศน่าจะยังต้องรออีกนาน 

การศึกษาวิจัยของ OECD ร่วมกับ Pearson’s Education ซึ่งได้ศึกษาปัจจัยที่ทำให้ระบบโรงเรียนประสบความเป็นเลิศ และได้สรุปบทเรียนบรรทัดสุดท้าย (The bottom line findings) ได้ดังนี้ 
1. ไม่มีกระสุนวิเศษ (There are no magic bullets) ไม่มีการศึกษาที่สรุปได้ชัดเจนว่าตัวแปรตัวหนึ่งตัวใดคือตัวที่ทำให้ประสบความสำเร็จ การทุ่มเงินและงบประมาณลงในการศึกษาไม่สามารถสร้างผลผลิตที่ต้องการได้ การศึกษา ต้องการระยะเวลาปรับตัวที่ยาวนาน และต้องใส่ใจทั้งระบบ การปรับปรุงจึงจะเกิด 
2. ยกย่องครู (Respect Teachers) ครูดี คือ หัวใจของการศึกษาคุณภาพสูง การจะหาครูดี หรือจะปรับครูให้เป็นครูคุณภาพสูงไม่ใช่เรื่องเดียวกับการจ่ายค่าตอบแทนสูงเสมอไป แต่ครูดีต้องการเพียงการยกย่องในวิชาชีพของตน และได้รับการเชิดชูเกียรติในสังคม ไม่ใช่ปฏิบัติเยี่ยงพนักงานเทคนิค หรือเครื่องจักรอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ต้องคอยตรวจสอบ 
3. วัฒนธรรมสามารถเปลี่ยนแปลงได้ (Culture can be changed) วัฒนธรรมที่ล้อมรอบระบบการศึกษาสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้มากกว่าตัวของระบบเอง เช่น วัฒนธรรมการเคารพครู ความขยันทำงานหนักของเกาหลี และเวียดนาม การศึกษาจะก้าวไกลได้ด้วยการเก็บรักษาวัฒนธรรมที่เป็นเชิงบวก และพยายามหาทางเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมที่ส่งผลลบต่อการศึกษา 
4. พ่อแม่ไม่ใช่อุปสรรคหรือตัวช่วย (Parents are neither impediments to nor saviours of education) ความต้องการของพ่อแม่เพียงให้ลูกได้รับการศึกษาที่ดีที่สุด ดังนั้น ระบบโรงเรียนจึงไม่ต้องนำความต้องการของพ่อแม่มากดดันการทำงาน อีกทั้งไม่ควรนับว่าการสนับสนุนจากพ่อแม่เป็นสิ่งจำเป็น โรงเรียนควรทำเพียงการให้พ่อแม่ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารของโรงเรียนและทำงานร่วมกับพ่อแม่บ้างเป็นบางโอกาส 
5. การศึกษาเพื่ออนาคต ไม่ใช่ปัจจุบัน (Educate for the future, not just the present) ขอเพียงระลึกรู้ว่าทักษะการทำงานในอนาคตจะไม่เหมือนทักษะในวันนี้ ระบบการศึกษาต้องรู้ล่วงหน้าว่าจะเตรียมคนอย่างไร 

ข้อเขียนชิ้นนี้ได้สรุปตอนท้ายว่า การศึกษาของไทยถือว่ามีคุณภาพระดับเทียบเคียงนานาชาติได้ระดับหนึ่ง แต่การศึกษาที่มีคุณภาพนั้นอยู่เพียงในกรุงเทพฯ เท่านั้น หากสามารถขยายตัวแบบการศึกษาในกรุงเทพฯออกไปใช้ทั่วประเทศอาจทำให้ผลการประเมินสูงขึ้นได้ อนึ่ง PISA ได้ชี้ถึงจุดอ่อนที่ระบบฯ สามารถนำมาพิจารณาเพื่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา ทั้งในด้านครู ทรัพยากรการศึกษา ความเท่าเทียมหรือความเป็นธรรมทางการศึกษา พร้อมทั้งข้อเตือนใจว่ามีหลายประเด็นที่ต้องพิจารณา เพราะในการศึกษาไม่มีกระสุนเดียวที่ยิงแล้วจอด การเปลี่ยนหลักสูตรอย่างเดียวจึงไม่ใช่คำตอบ แต่การศึกษาต้องปรับทุกประเด็นแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมที่เห็นคุณค่าอย่างสูงของการศึกษา การเคารพครู ความขยันและการทำงานหนักก็เป็นองค์ประกอบของการยกระดับคุณภาพการศึกษา 

ผู้สนใจสามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ดังกล่าว

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: Eeureka Bangkokbiznews 634601 วันที่ 25 ธันวาคม 2559
  • 25 ธ.ค. 2559 เวลา 09:18 น.
  • 7,086

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^