LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

บทคัดย่อ รายงานผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโร

usericon

บทคัดย่อ รายงานผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโร
ชื่อเรื่อง รายงานผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านบ่อแก้ว อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร ปีการศึกษา 2555
ผู้รายงาน     ไชยรัตน์ เนื้อไม้
โรงเรียน    โรงเรียนบ้านบ่อแก้ว
ปีการศึกษา     2555

บทคัดย่อ

จากรายงานผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านบ่อแก้ว ตำบลพานทอง อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านบ่อแก้ว 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของ โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านบ่อแก้ว 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านบ่อแก้ว 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของ การดำเนินงานตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านบ่อแก้ว 5) เพื่อประเมินด้านผลกระทบของการดำเนินงานตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านบ่อแก้ว
ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ครูผู้สอน จำนวน 13 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 12 คน นักเรียน ชั้นประถมศึกษาที่ 4-6 จำนวน 117 คน ผู้ปกครองนักเรียน 117 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 261 คนของโรงเรียนบ้านบ่อแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ปีการศึกษา 2555 โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม จำนวน 7 ฉบับ เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท (Likert’s Rating Scale) ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามก่อนดำเนินงานตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านบ่อแก้ว สอบถามด้านบริบทและด้านปัจจัยนำเข้า ฉบับที่ 2, 3 และ 4 เป็นแบบสอบถามประเมินผลระหว่างดำเนินงานตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านบ่อแก้ว สอบถามด้านกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ ฉบับที่ 5, 6 และ 7 เป็นแบบสอบถามประเมินผลหลังดำเนินงานตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านบ่อแก้ว สอบถามด้านผลผลิต และด้านผลกระทบ

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )

ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านบ่อแก้ว ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทุกด้านผ่านเกณฑ์ประเมิน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเรียงลำดับจากมาก ไปหาน้อย คือ ด้านผลผลิตเป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ด้านกระบวนการ ด้านปัจจัยนำเข้า ซึ่งเท่ากับด้านผลกระทบและด้าน ตามลำดับ และเมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละด้าน ปรากฏผลดังนี้
1.1 ด้านบริบทต่อการดำเนินงานตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านบ่อแก้ว ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษา ที่พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทุกด้านผ่านเกณฑ์การประเมิน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านความต้องการความจำเป็นของโครงการ เป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ด้านความเป็นไปได้ของโครงการ และ ด้านความสอดคล้องของวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ ตามลำดับ
1.2 ด้านปัจจัยนำเข้าต่อการดำเนินงานตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านบ่อแก้ว ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษา พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทุกด้านผ่านเกณฑ์การประเมิน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านปัจจัยนำเข้าเกี่ยวกับบุคลากร เป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ด้านปัจจัยนำเข้าเกี่ยวกับเวลาดำเนินงานตามโครงการ ด้านปัจจัยนำเข้าเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ ด้านปัจจัยนำเข้าเกี่ยวกับงบประมาณ และด้านปัจจัยนำเข้าเกี่ยวกับอาคารสถานที่ ตามลำดับ
1.3 ด้านกระบวนการดำเนินงานตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านบ่อแก้ว ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทุกด้านผ่านเกณฑ์การประเมิน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านกระบวนการเกี่ยวกับการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ซึ่งเท่ากับด้านกระบวนการเกี่ยวกับการส่งต่อเป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ด้านกระบวนการเกี่ยวกับการป้องกันช่วยเหลือและแก้ไข ซึ่งเท่ากับด้านกระบวนการเกี่ยวกับการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินเมินผล ด้านกระบวนการเกี่ยวกับการคัดกรอง ด้านกระบวนการเกี่ยวกับการวางแผนดำเนินงานตามโครงการ และด้านกระบวนการเกี่ยวกับการส่งเสริมนักเรียน ตามลำดับ
1.4 ด้านผลผลิตของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านบ่อแก้ว ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทุกด้านผ่านเกณฑ์การประเมิน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล เป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ด้านการส่งเสริมนักเรียน ด้านการส่งต่อนักเรียน ด้านการป้องกันช่วยเหลือและแก้ไข ซึ่งเท่ากับด้านผลผลิตเกี่ยวกับ การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ ด้านการคัดกรองนักเรียน ตามลำดับ
1.5 ด้านผลกระทบของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านบ่อแก้ว ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อทุกข้อผ่านเกณฑ์ประเมิน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดอยู่ใน 3 อันดับแรก เรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรมากขึ้น เป็นอันดับแรก รองลงมา คือ นักเรียนมีความรู้พื้นฐาน และมีความพร้อมในการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น และนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่มีปัญหาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้นตามลำดับ
    2. ผลการวิเคราะห์ด้านปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของผู้บริหาร ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านบ่อแก้ว พบว่า
2.1 ปัญหา อุปสรรคที่เกิดกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านบ่อแก้ว ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหาร ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน เรียงลำดับค่าความถี่จากมากไปหาน้อย 3 อันดับ คือ ผู้ปกครองนักเรียน ส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงดูบุตรหลาน ไม่มีเวลาดูแล อบรมบุตรหลาน ทำให้นักเรียนมีปัญหาหลายด้าน เช่น ด้านการเรียน ด้านการติดเกม ด้านพฤติกรรมก้าวร้าว ด้านยาเสพติด คิดเป็นร้อยละ 4.60 เป็นอันดับแรก รองลงมาคือ โรงเรียนขาดการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ครู ผู้ปกครอง และชุมชนทราบ คิดเป็นร้อยละ 3.83 และพ่อแม่ของนักเรียนแยกทางกัน หรือหย่าร้างกัน ทิ้งบุตรหลานให้ปู่ย่า ตายาย เลี้ยงดู ทำให้นักเรียนขาดความอบอุ่นจากพ่อแม่ ส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ไม่ตั้งใจเรียน คิดเป็นร้อยละ 3.45 ตามลำดับ
2.2 แนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน เรียงลำดับค่าความถี่จากมากไปหาน้อย 3 อันดับ คือ โรงเรียนควรจัดสรรงบประมาณสนับสนุนค่าพาหนะให้ครูประจำชั้นในการไปเยี่ยมบ้านนักเรียน คิดเป็นร้อยละ 3.83 เป็นอันดับแรก รองลงมา คือ โรงเรียนควรให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ปกครองในเรื่องการเลี้ยงดูเอาใจใส่บุตรหลาน และมีส่วนร่วมในการดูแล อบรมนักเรียนระหว่างอยู่ที่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 3.45 และโรงเรียนควรจัดอบรม ประชุม สัมมนาให้ความรู้แก่ครู ในเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและจัดหาคู่มือและเอกสารให้ครูได้นำไปปฏิบัติให้ถูกต้อง คิดเป็นร้อยละ 2.68 ตามลำดับ
2.3 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามความคิดเห็นของ ผู้บริหาร ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน เรียงลำดับค่าความถี่จากมากไปหาน้อย 3 อันดับ คือ โรงเรียนควรจัดทำคู่มือ เอกสาร ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เพียงพอสำหรับครูที่ปรึกษา นักเรียน และผู้ปกครอง คิดเป็นร้อยละ 1.92 เป็นอันดับแรก รองลงมา คือ โรงเรียนควรจัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้รับทราบ คิดเป็นร้อยละ 1.53 และโรงเรียนควรมีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ระหว่างการดำเนินงานทุกกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและ รายงานผล คิดเป็นร้อยละ 1.15 ตามลำดับ
chaiyarat 19 ม.ค. 2557 เวลา 20:16 น. 0 1,656
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^