LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7 25 เม.ย. 2567สพป.นนทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นนทบุรี เขต 1

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสต

usericon

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสต
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ เวลาเรียน 18 ชั่วโมง
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง อัตราส่วน เวลาเรียน 2 ชั่วโมง


1. สาระสำคัญ
    อัตราส่วน คือ ความสัมพันธ์ที่แสดงการเปรียบเทียบจำนวนสิ่งของหรือปริมาณสิ่งของตั้งแต่ 2 ปริมาณขึ้นไป ซึ่งอาจมีหน่วยเดียวกันหรือต่างกัน
    
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
หลังจากจัดกิจกรรมการเรียนรู้แล้วนักเรียนสามารถ
        1) ให้ความหมายของอัตราส่วนได้ (K)
     2) เขียนอัตราส่วนได้ (P)
        3) เปรียบเทียบอัตราส่วนได้ (P)
    4) นักเรียนมีทักษะในการปฏิบัติกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ (P)
    5) ทำแบบทดสอบย่อยได้ถูกต้อง ร้อยละ 80 ขึ้นไป(P)
    6) ให้ความร่วมมือในกิจกรรมกลุ่มในระดับพอใช้ขึ้นไป(A)

3. สาระการเรียนรู้
อัตราส่วน การเปรียบเทียบจำนวนสิ่งของหรือปริมาณสิ่งของ ตั้งแต่ 2 ปริมาณขึ้นไป ซึ่งอาจมีหน่วยเดียวกันหรือต่างกันก็ได้ ซึ่งอาจจะเป็นการเปรียบเทียบจำนวนสิ่งของ ความยาว ความสูง หรือปริมาณอื่น ๆ ที่ต้องการ นำมาเปรียบเทียบกัน
อัตราส่วนเปรียบเทียบของ ปริมาณ a ต่อ ปริมาณ b ซึ่งสามารถเขียนแทนด้วย a : b หรือ อ่านว่า a ต่อ b จะเรียก a ว่า จำนวนแรกหรือจำนวนที่หนึ่งของอัตราส่วน และเรียก b จำนวนหลัง หรือจำนวนที่สองของอัตราส่วน อัตราส่วนของ a ต่อ b เป็นจำนวนบวกเท่านั้น
    ตำแหน่งของจำนวนในแต่ละอัตราส่วน มีความสำคัญ กล่าวคือ เมื่อ a b อัตราส่วน a : b
ไม่ใช่อัตราส่วนเดียวกันกับอัตราส่วน b : a เช่น อัตราส่วนของปริมาณผลไม้หน่วยเป็นกิโลกรัมต่อราคา
หน่วยเป็นบาท เป็น 3 : 70 ซึ่งจะไม่ใช่อัตราส่วนเดียวกันกับ 70 : 3 เนื่องจากอัตราส่วน 3 : 70 หมายถึง ผลไม้ 3 กิโลกรัม ราคา 70 บาท แต่ในขณะที่อัตราส่วน 70 : 3 หมายถึง ผลไม้ 70 กิโลกรัม ราคา 3 บาท

ในการเขียนอัตราส่วนมี 2 ลักษณะ คือ
1) เมื่ออัตราส่วนทั้งสองอัตราส่วนมีหน่วยเหมือนกันอาจจะเขียนหรือไม่ต้องเขียนหน่วยกำกับ
ไว้ก็ได้ แต่ส่วนมากไม่นิยมเขียนหน่วยกำกับ เช่น จำนวนนักเรียนชาย 24 คน ต่อ จำนวนนักเรียนหญิง
18 คน ดังนั้นการเปรียบเทียบจำนวนนักเรียนชายและนักเรียนหญิงในรูปอัตราส่วนจะได้ว่า อัตราส่วน
นักเรียนชาย ต่อ นักเรียนหญิง เท่ากับ 24 ต่อ 18 หรือ 24 :18 หรือ 18 : 24
2) เมื่ออัตราส่วนทั้งสองอัตราส่วนมีหน่วยต่างกันต้องเขียนหน่วยกำกับไว้เสมอ เช่น ปากกา 2
ด้าม ราคา 16 บาท เขียนในรูปของอัตราส่วนดังนี้ อัตราส่วนของปากกาเป็นด้ามต่อราคาเป็นบาท คือ
2 : 16 หรือ อัตราส่วนของจำนวนปากกา ต่อ ราคา คือ 2 ด้าม : 16 บาท

4. กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
    4.1 ขั้นเตรียม
        1) ครูแนะนำทักษะในการเรียนรู้ร่วมกัน และจัดเป็นกลุ่มย่อย ๆ ประมาณ 3-5 คน มีทั้งความสามารถสูง ปานกลาง และต่ำ เพื่อทำกิจกรรมและเรียนรู้ร่วมกัน โดยแนะนำเกี่ยวกับระเบียบของ
กลุ่ม บทบาทและหน้าที่ของสมาชิกกลุ่ม
    2) ครูแจ้งวัตถุประสงค์ของบทเรียน การทำกิจกรรมร่วมกัน และการฝึกฝนทักษะพื้นฐาน
จำเป็นสำหรับการทำกิจกรรมกลุ่ม
     4.2 ขั้นสอน
        3) ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยใช้ภาพประกอบยกตัวอย่างอัตราส่วนต่าง ๆ และให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับอัตราส่วนว่าเป็นความสัมพันธ์ที่แสดงการเปรียบเทียบจำนวนสิ่งของหรือปริมาณสิ่งของตั้งแต่ 2 ปริมาณ ขึ้นไป ซึ่งอาจมีหน่วยเดียวกันหรือต่างกัน

        4) ให้นักเรียนนั่งตามกลุ่มที่จัดไว้แล้ว โดยแต่ละกลุ่มจะมีเด็กเก่ง 1 คน ปานกลาง 2 คน
อ่อน 2 คน
     5) ครูแจกใบความรู้ เรื่อง อัตราส่วน ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษา โดยครูจะคอยเดินไป
รอบ ๆ ห้อง เมื่อนักเรียนมีปัญหาจะได้ซักถามได้
        6) ครูแจกแบบฝึกทักษะ เรื่อง อัตราส่วน แล้วให้กลุ่มร่วมกันศึกษาแล้วทำแบบฝึกทักษะ โดยทุกคนในกลุ่มจะต้องช่วยกันเรียนรู้และทำแบบฝึกทักษะร่วมกัน คนเก่งในกลุ่มที่เข้าใจต้องอธิบาย
ให้เพื่อนในกลุ่มที่ไม่เข้าใจฟัง
        7) สมาชิกในแต่ละกลุ่มตรวจคำตอบที่ได้จากใบเฉลยแบบฝึกทักษะ แล้วรวมคะแนนที่ได้
     8) นักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงวิธีการเขียน และเปรียบเทียบอัตราส่วน
    ขั้นทำกิจกรรมกลุ่ม
     9) ผู้เรียนเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มย่อย โดยที่แต่ละคนมีบทบาทและหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
เป็นกลุ่ม โดยสมาชิกในกลุ่มร่วมกันรับผิดชอบต่อผลงานของกลุ่ม ในขั้นนี้ครูใช้เทคนิค STAD ในการทำกิจกรรม เพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการเรียน
10) แต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาทบทวนเนื้อหา เรื่อง อัตราส่วน ที่ครูเสนอแนะเพิ่มเติม
            11) ครูให้นักเรียนฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ โดยใช้ยุทธวิธีการฝึกทักษะ
การคิดคำนวณ และแก้โจทย์ปัญหาจากใบความรู้
    12) ครูแจกแบบฝึกทักษะให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวางแผนคิดคำนวณ และวิเคราะห์
แก้โจทย์ปัญหา ตามตัวอย่างใบความรู้ และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของครู
    13) ผู้เรียนทุกคนในกลุ่มทำแบบทดสอบย่อย (Quiz) เพื่อวัดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระ
เรื่อง อัตราส่วน
4.3     ขั้นตรวจสอบผลงาน และทดสอบ
    14) ครูตรวจสอบว่าผู้เรียนได้ปฏิบัติหน้าที่ครบถ้วนแล้วหรือยัง ผลการปฏิบัติเป็นอย่างไร
โดยการตรวจสอบผลงานกลุ่มและรายบุคคล หากไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดต้องซ่อมเสริมส่วนที่ยังขาดตก
บกพร่อง แล้วจึงทดสอบความรู้อีกครั้งหนึ่ง
    15) ตรวจคำตอบของผู้เรียน นำคะแนนของสมาชิกทุกคนในกลุ่มมารวมกันเป็นคะแนนกลุ่ม
    16) เมื่อทำแบบฝึกทักษะ เรื่อง อัตราส่วน เสร็จ ครูให้แต่ละกลุ่มแลกแบบฝึกทักษะเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง โดยครูเฉลยและอธิบายวิธีทำให้นักเรียนดูบนกระดาน
17) ครูตรวจคำตอบแบบฝึกทักษะ เรื่อง อัตราส่วน ของนักเรียน นำคะแนนของสมาชิกทุกคน
ในกลุ่ม มารวมเป็นคะแนนกลุ่ม
4.4     ขั้นสรุปบทเรียน และประเมินผลการทำงานกลุ่ม
18) ครูและผู้เรียนช่วยกันสรุปบทเรียน เรื่อง อัตราส่วน ถ้ามีสิ่งที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจครู
ควรอธิบายเพิ่มเติม นักเรียนสรุปแนวคิดที่ได้จากการเรียนในใบความรู้ และแบบฝึกทักษะร่วมกัน
     19) ครูให้คำแนะนำเพิ่มเติม พร้อมประเมินผลการทำงานกลุ่ม และผู้เรียนช่วยกันประเมินผล
การทำงานกลุ่ม และพิจารณาว่าอะไรคือ จุดเด่นของงาน และอะไรคือสิ่งที่ควรปรับปรุง
         20) นักเรียนนำแบบฝึกทักษะ เรื่อง อัตราส่วน ที่ร่วมกันทำส่งครู รวมคะแนนทุกกลุ่ม
แล้วเปรียบเทียบคะแนนของแต่ละกลุ่มเรียงลำดับคะแนนมากน้อย ครูให้ข้อเสนอแนะติชมข้อดี ข้อเสีย
ที่ควรจดจำ และแก้ไข
        21) กลุ่มที่ได้คะแนนรวมสูงสุด (ในกรณีที่แต่ละกลุ่มมีจำนวนสมาชิกไม่เท่ากันให้ใช้คะแนนเฉลี่ยแทนคะแนนรวม) จะได้รับคำชมเชย โดยอาจติดประกาศไว้ที่บอร์ด หรือป้ายนิเทศ
ของห้องเรียน

5. สื่อ/ แหล่งการเรียนรู้
    5.1 ชุดฝึกทักษะ เรื่อง อัตราส่วน
    5.2 ใบความรู้ เรื่อง อัตราส่วน
    5.3 แบบฝึกทักษะ เรื่อง อัตราส่วน
    5.4 เฉลยแบบฝึกทักษะ เรื่อง อัตราส่วน

6. การวัดและประเมินผล
    6.1 วิธีการวัด
        6.1.1 ตรวจแบบฝึกทักษะ
        6.1.2 ประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
        6.1.3 ทดสอบความรู้
    6.2 เครื่องมือวัดผล
        6.2.1 แบบฝึกทักษะ
        6.2.2 แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
     6.2.3 แบบทดสอบย่อย
    6.3 เกณฑ์การประเมินผล
     6.3.1 ทำแบบฝึกทักษะ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป
        6.3.2 พฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ได้ระดับพอใช้ขึ้นไป
     6.3.3 ทำแบบทดสอบย่อย ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป













7. กิจกรรมเสนอแนะ
    -

8. ความคิดเห็น / ข้อเสนอแนะของผู้บริหาร
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

ลงชื่อ
                                          (………………………………..)
ผู้อำนวยการโรงเรียน………………..

9. บันทึกผลหลังสอน
9.1 ผลการเรียนรู้
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

9.2. ปัญหา / อุปสรรค
        -
    9.3 ข้อเสนอแนะ / แนวทางการแก้ไข
            -
                                         ลงชื่อ......................................ผู้สอน
                                             (..........................................)
    ตำแหน่ง ครูชำนาญการ





authain 11 ม.ค. 2557 เวลา 12:33 น. 0 1,075
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^