LASTEST NEWS

09 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 08 พ.ค. 2567สพป.นครนายก ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ตาก เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 206 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 46 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ตราด ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 45 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ตรัง เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 35 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ตรัง เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 6 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 23 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 23 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 3 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

คู่มือศึกษานิเทศก์เพื่อพัฒนาการสอนของครูด้วยบอร์ดเกมและ PLC

usericon

การพัฒนาคู่มือสำหรับศึกษานิเทศก์เพื่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูผู้สอน โดยใช้นวัตกรรมบอร์ดเกม (Board game) และกิจกรรมชุมชน แห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีจุดมุ่งหมายของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูผู้สอน 2) เพื่อการพัฒนาคู่มือสำหรับศึกษานิเทศก์เพื่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูผู้สอน 3) เพื่อทดลองใช้คู่มือสำหรับศึกษานิเทศก์เพื่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูผู้สอน และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้คู่มือสำหรับศึกษานิเทศก์เพื่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูผู้สอน โดยใช้นวัตกรรมบอร์ดเกม (Board game) และกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ดำเนินงานวิจัยโดยใช้กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน ปีการศึกษา 2565 ที่สมัครเข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการพัฒนานวัตกรรมบอร์ดเกม (Board game) เพื่อการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับครูในศตวรรษที่ 21 จำนวน 38 คน ซึ่งเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งสิ้น จำนวน 7 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณ โดยใช้ค่าความถี่ (f) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X-bar) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบที (T-Test dependent ) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์เนื้อหา การวิจัยปรากฏผล ดังนี้
1. การศึกษาสภาพและปัญหาการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูผู้สอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 พบว่า สภาพการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูผู้สอน มีค่าเฉลี่ยสภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย และปัญหาการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูผู้สอน มีค่าเฉลี่ยปัญหาการปฏิบัติในระดับมากที่สุด
2. การพัฒนาคู่มือสำหรับศึกษานิเทศก์เพื่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูผู้สอน โดยใช้นวัตกรรมบอร์ดเกม (Board game) และกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 พบว่า คู่มือมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหน้า ได้แก่ ปก คำนำ สารบัญตาราง/ภาพ คำแนะนำในการใช้คู่มือ ส่วนกลาง ได้แก่ บทที่ 1 บทนำ บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและส่วนหลัง ได้แก่ บรรณานุกรม ภาคผนวก ในภาพรวมมีคุณภาพในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า ด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด
3. การทดลองใช้คู่มือสำหรับศึกษานิเทศก์เพื่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูผู้สอน โดยใช้นวัตกรรมบอร์ดเกม (Board game)และกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 พบว่า ครูผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) บอร์ดเกม สำหรับครูในศตวรรษที่ 21 หลังการอบรมเชิงปฏิบัติการสูงกว่าก่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 พัฒนานวัตกรรมบอร์ดเกม และนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ตามเวลาที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 91.89 - 100 วิทยากรและครูผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำบอร์ดเกมในเนื้อหาสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มากที่สุดนวัตกรรมบอร์ดเกมมีจุดเด่น จุดที่ต้องพัฒนาที่มีการให้ข้อเสนอแนะในวง PLC กลุ่มย่อย ครูผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการนำเสนอผลการพัฒนานวัตกรรมบอร์ดเกม และการจัดการเรียนรู้ คิดเป็น 97.30 นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยนวัตกรรมบอร์ดเกม (Board game) จากครูผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยมีคะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และมีค่าของขนาดอิทธิพล อยู่ระหว่าง 1.06 – 4.89 และในภาพรวมของผลการทดสอบหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้ ด้วยนวัตกรรมบอร์ดเกม (Board game) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4. การประเมินผลการใช้คู่มือสำหรับศึกษานิเทศก์เพื่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูผู้สอน โดยใช้นวัตกรรมบอร์ดเกม (Board game) และกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 พบว่า ครูผู้สอนซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 100 มีการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติที่ดีของครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) แนวทางปฏิบัติที่ดี ในการพัฒนาและใช้นวัตกรรมบอร์ดเกม (Board game) และแนวทางปฏิบัติที่ดีในกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และครูผู้อบรมเชิงปฏิบัติการจัดส่งบทความการจัดการเรียนรู้บอร์ดเกม จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 89.19 ซึ่งบรรลุเป้าหมาย
keerada69 26 เม.ย. 2567 เวลา 07:47 น. 0 67
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^