LASTEST NEWS

09 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 08 พ.ค. 2567สพป.นครนายก ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ตาก เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 206 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 46 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ตราด ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 45 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ตรัง เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 35 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ตรัง เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 6 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 23 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 23 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 3 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

การวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย

usericon

ชื่องานวิจัย     การวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย    กชกร ยอดยิ่ง
สถานศึกษา    โรงเรียนพระตำหนักมหาราช
ปีการศึกษา 2566

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการสอนวรรณคดีไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) สร้างรูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) ประเมินผลรูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนพระตำหนักมหาราช ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ 6 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อรูปแบบฯ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแบบของลิเคอร์ท ซึ่งประกอบด้วยคำถามที่มีลักษณะการตอบแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยมีดังนี้
    1. การวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการสอนวรรณคดีไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ครูผู้สอนเน้นการสอนเนื้อหาและคำศัพท์มากกว่าการพัฒนาการคิดวิเคราะห์
    2. การสร้างรูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีชื่อว่า SP2SP Model ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นจุดประกาย (Sparkling: S) 2) ขั้นสหายคู่คิด (Pairing: P) 3) ขั้นสะกิดค้นคว้า (Searching: S) 4) ขั้นนำพาแบ่งปัน (Sharing: S) 5) ขั้นสร้างสรรค์นำเสนอ (Presenting: S)
    3. การทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่าก่อนการทดลองมีคะแนนความสามารถการคิดวิเคราะห์เฉลี่ยเท่ากับ 18.50 คิดเป็นร้อยละ 61.67 หลังการทดลองมีคะแนนความสามารถการคิดวิเคราะห์เฉลี่ยเท่ากับ 24.44 คิดเป็นร้อยละ 81.46
    4. การประเมินรูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า
        4.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ มีคะแนนความสามารถการคิดวิเคราะห์หลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
        4.2 ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก อันดับแรก รูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ทำให้นักเรียนพิจารณา แยกแยะเรื่องราว/สถานการณ์ต่าง ๆ ของวรรณคดีได้ชัดเจน และมีเหตุผลเพิ่มขึ้น รูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ นักเรียนสามารถฝึกทักษะการปฏิบัติ การแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ และกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดช่วยให้ผู้เรียนใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว คล่องแคล่ว ตามลำดับ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^