LASTEST NEWS

13 ธ.ค. 2567วิทยาลัยการอาชีพพนัสนิคม รับสมัครพนักงานราชการครู 1 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 17 ธันวาคม 2567 13 ธ.ค. 2567วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยนาท รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 16 ธันวาคม 2567 13 ธ.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคเขาวง รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 18,000.- บาท ตั้งแต่ 28 กุมภาพันธ์ - 5 มีนาคม 2568 12 ธ.ค. 2567โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา ประกาศหยุดปีใหม่ 9 วันเต็ม ให้นักเรียนกลับไปเติมพลังใจ ใช้เวลาอันมีค่ากับครอบครัว #ปีใหม่นี้ที่บ้าน #สุขสันต์วันหยุด 11 ธ.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลสว่างวีระวงศ์ รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5พันบาท ตั้งแต่ 9-15 ธันวาคม 2567 11 ธ.ค. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 19-25 ธันวาคม 2567 11 ธ.ค. 2567กาญจนาภิเษกวิทยาลัยช่างทองหลวง รับสมัครพนักงานราชการครู 3 อัตรา ตั้งแต่ 19-27 ธันวาคม 2567 11 ธ.ค. 2567ประกาศแล้ว!!! ผลสอบ ครูผู้ช่วย กทม. ภาค ก และ ภาค ข. ครั้งที่ 1/2567 11 ธ.ค. 2567ไฟล์เอกสารหลักฐานที่คุณครูต้องเตรียมสำหรับการยื่นคำร้องขอย้ายผ่านระบบ TRS 11 ธ.ค. 2567สพฐ. ประชุมจัดทำแนวทางบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ระยะ 3 ปี 

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์และการเรี

usericon

ชื่อวิจัย    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์และการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา
เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ผู้วิจัย     นางวรัญญา แดนกาไสย ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านกระเบา
ปีที่วิจัย     2564-2565

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์และการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์และการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์และการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์และการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยโดยแบ่งระยะการดำเนินการเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานโดยการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบ ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบ โดยการยกร่างองค์ประกอบของรูปแบบ และตรวจสอบคุณภาพรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบ โดยการนำรูปแบบที่ผ่านการหาคุณภาพ และปรับปรุงแล้ว ไปใช้จริงกับกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนบ้านกระเบา อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 จำนวน 8 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และระยะที่ 4 การประเมินรูปแบบ แบ่งเป็น 1) การประเมินมาตรฐาน ของรูปแบบในประเด็นความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและความถูกต้อง 2) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบ และ 3) ผลที่เกิดต่อครูผู้สอนและนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม 3) แผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นตามรูปแบบ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบประเมินทักษะการเขียน 6) แบบประเมินมาตรฐานของรูปแบบ ด้านความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและความถูกต้อง และ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล ทำการวิเคราะห์เนื้อหาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Content Analysis) หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t - test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนรายวิชาภาษาไทย พบว่า สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการเขียน อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านหลักการและวิธีดำเนินการเรียนรู้ มีปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด โดยนำเสนอแผนภูมิที่น่าสนใจมาให้นักเรียนฝึกฝนอย่างหลากหลาย และบูรณาการกิจกรรมเชื่อมโยงเรื่องราวและแนวคิดของสิ่งที่เรียนรู้ในห้องเรียนกับความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน รองลงมาคือ ด้านเทคนิคการจัดการเรียนรู้ และด้านการประเมินผลการเรียนรู้ ตามลำดับ และจากการสอบถามความต้องการ พบว่า ครูผู้สอนมีความต้องการให้มีการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน ในระดับมากที่สุด
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์และการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีองค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง และ 6) การประเมินผล ผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบประเด็นสรุปได้ ดังนี้
3.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์และการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา มีคะแนนผลการประเมินทักษะการเขียนอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 81.25
3.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์และการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบประเด็นสรุปได้ ดังนี้
4.1 ผลการประเมินมาตรฐานของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์และการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและความถูกต้อง อยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์และการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า
มีความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.53, S.D.= 0.53)
        4.3 ผลที่เกิดต่อครูผู้สอนและนักเรียน เกี่ยวกับรางวัล/เกียรติบัตรที่ได้รับระดับเครือข่ายทางการศึกษาขึ้นไป ได้รับรางวัล จำนวน 10 รายการ เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ จำนวนรางวัลที่ได้รับตั้งแต่ระดับเครือข่ายทางการศึกษาขึ้นไป มีไม่น้อยกว่า 5 รายการ ผ่านเกณฑ์ตามที่สถานศึกษากำหนด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^